วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

5 force model เพลงลูกทุ่ง

หากจะมองภาพรวมของธุรกิจค่ายเพลงลูกทุ่ง เราอาจจะพิจารณาถึงปัจจัย 5
ประการเพื่อวัดความน่าดึงดูดใจในการทำกำไรที่แท้จริงในระยะยาว ดังนี้
1.คู่แข่งในอุตสาหกรรมนั้น ๆ( Threat of intense segment rivalry)
สำหรับคู่แข่งในตลาดเพลงลูกทุ่งนั้นในปัจจุบันมีเป็นจำนวนมากทำให้มีคู่แข่งที่ทำธุรกิจประเภทเดียวกันนี้สูงมาก แต่คู่แข่งไม่ใช่ปัจจัยสำคัญของธุรกิจเพลงลูกทุ่งมากนัก เพราะการแข่งขันของตลาดนี้ขึ้นอยู่กับความพอใจ,รสนิยมของผู้บริโภค มากกว่า ถึงแม้จะเป็นค่ายเล็กๆแต่หากเป็นที่ชื่นชอบก็สามารถแข่งขันได้ เช่นน้องมายย์ เป็นต้น
2.คู่แข่งรายใหม่(Threat of intense segment rivalry)
ตลาดเพลงลูกทุ่งน่าดึงดูดใจในแง่ของบริษัทที่เข้ามาง่าย และออกง่าย ทำให้มีคู่แข่งรายใหม่เยอะ และจะผลิตเพลงลูกทุ่งออกมามากมาย นักร้อง ศิลปินในค่ายจะเยอะ ต่างกับสมัยก่อน นอกจากนั้นนักร้องเพลงสตริงหันมาสนใจร้องเพลงลูกทุ่งมากขึ้นเช่น จอย ศิริลักษณ์ ผ่องโชค , พาเมล่า บาวเดน ฯลฯ
3.ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทน (Threat of new entrants)
ตลาดเพลงลูกทุ่งเป็นความชอบส่วนตัว ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของผู้บริโภคแต่ละคน ทำให้สินค้าทดแทนไม่มีอิทธิพลต่อองค์กร เนื่องจากคนฟังเพลงลูกทุ่งก็ไม่นิยมฟังแนวเพลงอื่น ในขณะที่คนที่ชอบฟังเพลงสากลก็ไม่เลือกซื้อ เลือกฟังเพลงลูกทุ่งเช่นกัน
4.ภัยคุกคามจากการเพิ่มอำนาจต่อรองของผู้ซื้อ(Threat of buyers’ growing bargaining power)
ผู้ซื้ออมีอิทธิพลในตลาดส่วนนี้พอสมควรเนื่องจากผู้ซื้อสามารถเลือกซื้อแผ่นเพลง หรือเทปเพลงของแท้จากบริษัทผู้ผลิต หรืออาจซื้อแผ่นอัดจากแหล่งผิดกฎหมายได้ เพราะนอกจากได้ราคาถูกแล้ว ยังได้เลือกเพลงจากหลายค่ายหรือหลากหลายศิลปินที่ถูกใจตนได้ตรงตามความต้องการมากกว่า
5.Supplier ( Threat of suppliers ‘ growing bargaining power)
Supplier ของเพลงลูกทุ่งคือผู้ผลิตเทป ซีดี โรงพิมพ์ที่พิมพ์ปกเทป มีอิทธิพลต่อค่ายเพลงน้อย เนื่องจากมีSupplier หลายแห่ง และยิ่งค่ายเพลงไหนที่ออกเทปเดือนละหลาย ๆ ชุด Supplier ก็ต้องการที่จะติดต่อให้ส่งสินค้ามาก ทำให้มีแนวโน้มในการต่อรองต่ำ

ไม่มีความคิดเห็น: