วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

หากคิดจะทำร้านคาราโอเกะจะเลือกซื้อเครื่องคาราโอเกะอย่างไร

สำหรับเถ้าแก่หรือผู้ที่อยากเป็นเถ้าแก่ร้านคาราโอเกะในอนาคตนั้น ก่อนที่จะเริ่มลงทุนซื้ออุปกรณ์กันยกใหญ่ลองมาพิจารณาถึงปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้เราเลือกซื้อของได้คุ้มค่าเงินกัน

1. กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย : คนที่คาดว่าจะเข้ามาใช้บริการในร้านของเราคือคนกลุ่มไหน อาจจะพิจารณาง่ายเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆก่อนคือ 1. ลูกค้าผู้ใหญ่และครอบครัว 2. ลูกค้าวัยรุ่น หากลูกค้าของคุณเป็นกลุ่มผู้ใหญ่เครื่องเล่นคาราโอเกะที่คุณจะเลือกใช้ควรจะเป็นแบบ 2 ระบบคือมีทั้ง VCD และ MIDI file เพราะว่าเพลงที่กลุ่มลูกค้าผู้ใหญ่ชื่นชอบในบางครั้งไม่มี VCD จำหน่าย แต่ในระบบ MIDI file จะมีเพลงเก่าเพลงหายากในท้องตลาดแบบครบถ้วน เราเลยควรจะมีระบบทั้ง 2 แบบเพื่อให้กลุ่มลูกค้าใช้บริการได้ตรงความต้องการ และสำหรับคุณหากต้องการให้ลูกค้าวัยรุ่นนั้นคุณสามารถใช้เครื่องเล่นคาราโอเกะได้หลากหลายเพราะเครื่องเล่นส่วนใหญ่สามารถอ่านแผ่น VCD ได้แล้วและวัยรุ่นส่วนใหญ่ชอบร้องเพลงตามกระแสนิยมความจุของเครื่องไม่จำเป็นต้องมากนักเน้นเรื่องการปรับเพิ่มเพลงใหม่เข้าไปตลอดเวลามากกว่าซึ่งในระบบคาราโอเกะสำหรับวัยรุ่น สามารถเลือกซื้อได้ตั้งแต่ระบบ VCD 100 แผ่น , 200 แผ่น /ระบบHarddisk และเครื่องเล่นเฉพาะผู้ผลิตหลายราย

2. งบประมาณ : ในการซื้อเครื่องคาราโอเกะนั้นหลักใหญ่เราควรจะตั้งงบประมาณของเราขึ้นมาไว้ก่อนจะดีกว่าที่ได้เลือกดูสินค้าก่อนแล้วมาตัดสินใจที่หลักเพราะจริงๆเครื่องเล่นคาราโอเกะในท้องตลาดมีราคาที่แตกต่างกันมากมาย หากต้องการสินค้าราคาถูกเราสามารถเลือกซื้อสินค้าจากจีนหรือสินค้าที่ผลิตเองในเมืองไทยซึ่งราคาค่อนข้างถูกและคุณภาพก็สามารถใช้งานได้ดี แต่หากมีงบประมาณและต้องการพิจารณาถึงแบรนด์อาจจะเลือกซื้อสินค้าของเกาหลีหรือญี่ปุ่นที่มีคุณภาพดีแต่ราคาก็ค่อนข้างสูงตามคุณภาพด้วย

3. การบริการหลังการขาย : ธุรกิจคาราโอเกะเป็นธุรกิจบันเทิงที่มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลาตามกระแสของเพลงที่ออกมาทุกวันเพราะฉะนั้นเพลงของร้านเราก็ต้องมีการเพิ่มเติมทุกวันตามเพลง หากบริษัทที่เราซื้อเครื่องคาราโอเกะมีบริการด้านการเพิ่มเพลงดูแลลูกค้า รวมถึงกรณีที่เครื่องขัดข้องสามารถมาให้บริการได้ทันทีนั้นจะเป็นสิ่งที่ดีมาก เพราะปกติร้านคาราโอเกะจะเป็นธุรกิจกลางคืนซึ่งหาก ณ เวลาเปิดร้านแล้วเครื่องไม่สามารถทำงานได้จะทำให้เสียโอกาสในการขาย เพราะฉะนั้นหากบริษัทสามารถให้บริการแก้ไขเครื่องในเวลากลางคืนได้จะทำให้ร้านสามารถให้บริการลูกค้าได้ตลอดเวลาไม่เสียโอกาสในการขายอีกด้วย

3 ปัจจัยด้านต้นเป็นข้อควรพิจารณาในการเลือกซื้อคาราโอเกะก่อนเปิดร้าน หากเราสามารถเลือกเครื่องได้เหมาะสมกับร้านของเราจะทำให้ลูกค้าติดใจและชื่นชอบในการให้บริการ

เครื่องเล่นคาราโอเกะ

หากจะแบ่งประเภทเครื่องเล่นคาราโอเกะออกใหญ่ๆคงแบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ

1. เครื่องเล่นคาราโอเกะที่ต้องใส่แผ่นค้างไว้ เช่นเครื่องเล่น VCD , DVD แบ่งใส่แผ่นหรือเครื่องเล่น VCD 100 แผ่น , 300แผ่นเป็นต้น เครื่องเล่นประเภทนี้มีข้อเสียตรงที่ต้องใส่แผ่นค้างไว้ตลอดเวลา , ใช้เวลาโหลดเพลงค่อนข้างนาน และ เครื่องร้อนง่าย แต่ข้อดีของเครื่องเล่นประเภทนี้คือมีราคาถูก และหากใช้ในสถานประกอบการไม่ต้องชำระค่าทำซ้ำแค่ต้องใช้แผ่นถูกลิขสิทธิ์เท่านั้น

2. เครื่องเล่นคาราโอเกะประเภทฮาร์ตดิสก์ เครื่องเล่นประเภทนี้คล้ายคอมพิวเตอร์คือมีการบรรจุเพลงเข้าไปในเครื่องซึ่งสามารถเล่นได้ระบบของ VCD และ ระบบ MIDI file ข้อดีของเครื่องเล่นประเภทนี้คือสะดวกในการใช้ง่าย , โหลดเพลงได้เร็ว , สามารถจุเพลงได้มาก และมีระบบฟังก์ชั่นสำหรับคาราโอเกะต่างๆ เช่น โปรแกรมเพลงล่วงหน้า , ระบบจองห้อง , ระบบสั่งอาหาร , ระบบคะแนน และอื่นๆอีกมากมาย แต่ข้อเสียสำหรับใช้ในสถานประกอบการคือต้องชำระลิขสิทธิ์ทำซ้ำให้กับเจ้าของลิขสิทธิ์ที่คุณใช้


3. เครื่องเล่นคาราโอเกะเฉพาะยี่ห้อผู้ผลิต คือเครื่องเล่นที่จะอ่านระบบคาราโอเกะได้เฉพาะแผ่นที่ผู้ผลิตยี่ห้อนั้น ผลิตออกมาเท่านั้น เช่นเครื่องเล่น LG , Soken , Munia เป็นต้น เครื่องเล่นประเภทนี้มักจะมีความทนทานสูง คุณภาพดีมีการรับประกัน ,รูปทรงสวยงาม ,ระบบคาราโอเกะครบวงจร แต่มักจะติดปัญหาเรื่องการเพิ่มเพลงใหม่ และสำหรับสถานประกอบการต้องชำระค่าลิขสิทธิ์ทำซ้ำให้เจ้าของลิขสิทธิ์ด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

RS 2008

เป้าหมายปี 2551 : 3,100 ล้านบาท
แบ่งธุรกิจคอนเทนต์ เป็น 4 กลุ่มย่อย ซึ่งต้องการรายได้ 2,300 ล้านบาท
1. ธุรกิจเพลง 870 ล้านบาท ซึ่งจะวางอัลบั้มราว 200 อัลบั้มต่อปี โดยมีการขยายเซกเมนต์ของผู้ฟังออกไปให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม นอกเหนือจากศิลปินวัยรุ่นแล้วจะมีกลุ่มลูกทุ่งอย่าง บิว กัลยาณี บ่าววี โปงลางสะออน หรือศิลปินคุณภาพอย่าง พัชริดา เจนิเฟอร์ คิ้ม ซิลลี่ฟูล ฯลฯ
2. ธุรกิจโชว์บิซ ตั้งเป้ารายได้ 600 ล้านบาท ประกอบด้วยคอนเสิร์ตใหญ่จากอาร์เอส 3-4 รายการ อีเวนต์ของอาร์เอสเฟรชแอร์ 6-7 รายการ และโชว์ใหญ่จากต่างประเทศ 1-2 รายการภายใต้การดูแลของอาร์เอสไอดรีม ด้านธุรกิจภาพยนตร์ ตั้งเป้าไว้ราว 300 ล้านบาท
3. ธุรกิจกีฬา ซึ่งปีนี้มีไฮไลท์อยู่ที่การแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป หรือ ยูโร 2008 รวมถึงการเปิดบริการสนามฟุตบอลในร่ม เอสวัน ซึ่งจะสร้างรายได้ให้มากกว่า 500 ล้านบาท4. ธุรกิจการบริหารสื่อ ที่ประกอบด้วย 4 สื่อหลัก จะสามารถสร้างรายได้ 700 ล้านบาท ประกอบด้วย
4.1 สื่อรายการโทรทัศน์ 200 ล้านบาท มีรายการโทรทัศน์อยู่ในการดูแล 11 รายการ
4.2 สื่อรายการวิทยุ 300 ล้านบาท จากการบริหาร 2 สถานีหลัก Max 94.5 Digital Radio และ Cool 93 Fahrenheit
4.3 สื่อสิ่งพิมพ์ ราว 70-80 ล้านบาท
4.4 สื่อภายในโมเดิร์นเทรด ซึ่งถือเป็นธุรกิจใหม่ของอาร์เอส คาดว่าจะมีรายได้ราว 125-130 ล้านบาทในปีนี้


Digital Music
lอาร์เอส ดิจิตอล (RS Digital) ซึ่งนอกจากมีการดาวน์โหลดเพลงแล้ว ยังมีคอนเทนต์ต่างๆ ในมือถือ mobiclub.net และมีกลยุทธ์ปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการ RTD (Ready To Download)
lอาร์เอสมีแผนที่จะรุกตลาดดิจิตอลคอนเทนต์ด้วยเปิดตัวบริการความบันเทิงรูปแบบใหม่ๆ อาทิ บริการ SMS TONE, การขายคอนเทนต์เป็นแพคให้พาร์ทเนอร์ไปทำการตลาดเอง, การบัดเดิ้ลคอนเทนต์ลงในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และเครื่องเล่น MP3
lด้านธุรกิจบันเทิงสาขาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจเพลง, ธุรกิจสื่อโทรทัศน์, ธุรกิจสื่อวิทยุ, ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์, ธุรกิจผลิตภาพยนตร์และรับจ้างผลิตออกสู่ตลาด รวมถึงธุรกิจดิจิตอลคอนเทนต์ โดยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับคอนเทนต์ต่างๆที่ทางบริษัทมีอยู่ให้ออกมาในรูปแบบของบริการเสริมบนมือถือ ได้แก่ ริงโทน, คัลเลอร์วอลเปเปอร์, จาวาเกมส์, จาวาคาราโอเกะ ฯลฯ ผ่านทาง www.mobiclub.net ล่าสุด ทางบริษัทยังทำการเปิดตัวธุรกิจใหม่ซึ่งเป็นระบบการทำ Payment ครบวงจรของตัวเอง ภายใต้ชื่อ RTD (Ready To Download) นับเป็นการเปิดช่องทางจำหน่ายคอนเทนต์ผ่านตัวแทนจำหน่ายและร้านค้าปลีก-ส่ง พร้อมการนำคอนเซ็ปต์การทำตลาดแบบ พาร์ตเนอร์รีเลชั่นเมเนจเมนต์ (Partner Relation Management) หรือ PRM มาใช้เป็นหัวใจสำคัญในการผลักดันธุรกิจดิจิตอลคอนเทนต์ให้ประสบความสำเร็จ ประกอบกับทางบริษัทฯมีนโยบายที่จะเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายเพลงบนเว็บไซต์ที่เป็นพันธมิตรให้เป็นหน้าร้านออนไลน์ที่มีการซื้อขายเพลงได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยอาร์.เอส.ฯ ได้ร่วมกับ บริษัท บัณฑิต เซ็นเตอร์ จำกัด จำหน่ายเพลงออนไลน์ของศิลปินต่างๆ ผ่านทางเว็บไซต์ชั้นนำชื่อดังกระปุกดอทคอม )Kapook.com) เป็นรายแรก เนื่องจากมีอัตราการเข้าใช้บริการกว่า 80 ล้านคน/เดือน

GMM 2008


เป้าหมายปี 2551 : 8,000 ล้านบาท
lGMM แบ่งโครงสร้างธุรกิจออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือกลุ่มเพลง ในการดูแลของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และกลุ่มสื่อ ในนาม จีเอ็มเอ็ม มีเดีย ทั้ง 2 ส่วนจะร่วมกันสร้างรายได้ 8,000 ล้านบาทให้กับองค์กร ในสัดส่วน 56% ต่อ 44%
lโมเดลธุรกิจใหม่ Total Music Business ซึ่งประกอบด้วย Singing, Listening & Watching Business, Segment Market และ Subsidize Marketing
2.1 Listening Business หมายถึงการสร้างรายได้จากการที่เพลงถูกนำไปเปิดตามสถานที่ต่าง ๆ ทั้งสถานีวิทยุ ร้านอาหาร โรงพยาบาล สายการบิน และการนำเพลงไปใช้ในรูปแบบมิวสิกมาร์เก็ตติ้ง เช่น การบันเดิลลงโทรศัพท์มือถือ ไอพอต หรือขายตรงบนอินเทอร์เน็ต
2.2 Watching Business เป็นการสร้างรายได้จากโชว์บิซ ที่สามารถสร้างรายได้ต่อยอดไปในอีกหลายช่องทาง ทั้งการจำหน่ายบัตร วีซีดี ดีวีดี อินเทอร์เน็ต เคเบิลทีวี
2.3 Singing Business เป็นการสร้างรายได้จากคาราโอเกะ
2.4 Segment Marketing มีการปรับกลุ่มเพลงจากเดิมเป็นกลุ่มสตริง และลูกทุ่ง เปลี่ยนเป็น 6 กลุ่มหลักที่สามารถตอบโจทย์พฤติกรรมการบริโภคที่เป็นไปตามรสนิยมการฟังเพลง ประกอบด้วย Teen Idol, Pop Idol, Rock, Vintages, Niche Market และ Country
โมเดล Total Music Business เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปี 2549 เคยเป็นสัดส่วนรายได้ 40% ของธุรกิจเพลง ที่ยังเป็นรองรายได้จาก Physical ถึงราว 20% แต่วันนี้ Total Music Business กลับสามารถสร้างรายได้ครึ่งหนึ่งให้กับธุรกิจเพลง 4,000 ล้านบาทของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่


Digital Music
แกรมมี่ให้ภาพเทรนด์ของดิจิทัล มิวสิกไทยว่านับจากปี 51 นี้จะโตขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการจัดเก็บรายได้จากสินค้าและบริการที่ถูกหมายหมายมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยรายได้มาจาก 2 กลุ่มหลักคือ โมบายซึ่งจะยังคงมีส่วนแบ่งประมาณ 90% และที่เหลือเป็นอินเทอร์เน็ต
โดยคาดการณ์ว่ามือถือจะเพิ่มขึ้น 15% หรือ 40 กว่าล้านเลขหมายจาก35ล้านในปี 49 ส่วนของอินเทอร์เน็ตคาดการณ์ว่าจะมียอด ผู้ใช้ประมาณ10 ล้านคน โตกว่าปี 49 ประมาณ 10%เทรนด์ดังกล่าวนี้สอดคล้องกับเทรนด์ของเอเชีย โดยแกรมมี่มีนโยบาย
lด้านโมบาย โอกาสทางการตลาดแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่คือ 1.กลุ่มที่ใช้บริการของ GMMD สม่ำเสมออยู่แล้วซึ่งมีอยู่ประมาณ 5 ล้านเลขหมาย จากจำนวนผู้สามารถใช้บริการเสริมได้ 12 ล้านเลขหมายของเครื่อง 40 ล้านเลขหมาย กลุ่มนี้สามารถกระตุ้นให้ใช้เพิ่มขึ้นได้ 2.กลุ่มที่ยังไม่เคยใช้บริการของ GMMD อีก 7 ล้านเลขหมาย ต้องสร้างการทดลองใช้ และ 3.กลุ่มในอนาคตซึ่งจะโตขึ้นเรื่อยๆ คือผู้ใช้โทรศัพท์ที่จะอัพเกรดเครื่องมาใช้บริการเสริมได้หรืออีกมากกว่า 23 ล้านเลขหมาย
lด้านอินเทอร์เน็ต ทั้งราคาคอมพิวเตอร์และชั่วโมงอินเทอร์เน็ตที่ถูกลง และการที่คนรุ่นใหม่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นมากขึ้น จะช่วยกระตุ้นให้ตลาดดิจิทัล มิวสิกเติบโตขึ้น นอกจากนั้นยังพบว่าคนไทยนิยมเว็บบันเทิงมากที่สุด ปัจจุบันก็มีส่วนแบ่งในตลาดดิจิทัล มิวสิกสูงที่สุดด้วย กลยุทธ์ในส่วนของอินเทอร์เน็ตมีทั้งการทำการตลาดกับเจ้าตลาดด้าน PC เช่น HP ทำการ Bundle โปรแกรม IKEY เวอร์ชันที่สามารถดาวน์โหลดและร้องคาราโอเกะให้บริการ Singing Online เป็นรายแรก ซึ่ง ใช้ง่ายและสะดวก และมีการสร้างพันธมิตรเช่น ท็อปไฟว์เว็บบันเทิงได้แก่ sanook.com, pantip.com, kapook.com, thai2hand.com, dek-d.com จะเพิ่มเติมอีกในอนาคต เพิ่มช่องทางการขายคอนเทนต์ โดยการทำตลาดร่วมกัน ทั้งโปรโมรชั่นพิเศษ หรือนำคอนเทนต์ของแกรมมี่ไปดิสเพลย์อยู่ในเว็บต่างๆ เหล่านี้ เป็นเสมือนการวาง Outlet ในที่ซึ่ง Traffic ดี แล้วจัดแบ่งรายได้ร่วมกัน
lDevice หรือเครื่องมือ ได้แก่ HP, Nokia, Motorola, Samsung, Samart I-Mobile, iPod ซึ่งล้วนมียอดจำหน่ายสูงและลูกค้ามักหมุนเวียนเข้าช็อปหรือศูนย์เป็นประจำเพื่อติดตามสินค้าใหม่ๆ หรืออุปกรณ์เสริม GMMD จะนำคอนเทนต์ไป Bundling เข้ากับกลุ่มนี้เพื่อขยายช่องทางการขาย 4.กลุ่มApplication หรือ Platform คือเจ้าของเทคโนโลยีหรือเจ้าของตัวแทนแพลตฟอร์มตัวแทนหลักในประเทศไทย ได้แก่บริษัทเตียวฮง ไพศาล, TRUE เพื่อสร้างบริการใหม่ๆ ดังเช่น Karaoke Online และ Music Game ซึ่งใกล้จะเปิดตัวในเร็ววันนี้
lDistributor คือ Samart I-Mobile Shop ของกลุ่มสามารถ ซึ่งเป็นเครือข่ายจำหน่ายอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ จะให้บริการดาวน์โหลดเพลงลงบนอุปกรณ์ต่างๆ

คุณเองก็เขียนเพลงได้


เลือก Theme (หัวข้อ)ของเพลง
จุดมุ่งหมายสูงสุดของนักแต่งเพลงคือการแต่งเพลงไห้โดนใจผู้ฟัง ถ้าจะถามว่าแล้วเนื้อหาแบบไหนที่จะโดนใจผู้ฟัง คำตอบง่ายๆก็คือเรื่องราวที่สำคัญๆในชีวิตของเราๆนั้นเอง
ซึ่งบทเพลงที่จะโดนใจผู้ฟังนั้นต้องมีทำนองเพลง,ชื่อเพลง รวมถึงการเรียบเรียงไปในทิศทางเดียวกันถ้าผสมผสานทุกอย่างได้ลงตัวเพลงของคุณก็จะครองใจผู้ฟังได้อย่างแน่นอน
เคล็ดลับในการเขียนเพลงก็คือการพัฒนาความคิดให้ใหม่และทันต่อเหตุการณ์อยู่เสมอ และขึ้นอยู่กับกลุ่มผู้ฟังของคุณ เช่น ถ้าคุณต้องเขียนเพลงให้โรงเรียน,โบสถ์ หรือคอนเสริต์ต่างๆคุณก็ต้องเลือกเรื่องราวให้เหมาะกับกลุ่มผู้ฟังของคุณ ซึ่งแต่ละกลุ่มก็มีเรื่องราวที่แตกต่างกันไปเช่นเดียวกันถ้าคุณต้องการแต่งเพลง pop/rock คุณก็ต้องทำความเข้าใจกับกลุ่มผู้ฟังของคุณเสียก่อน
ถึงแม้ว่าในบทเพลงนั้นเรามักให้ความสำคัญกับเนื้อหาหลักของมันแต่ถ้าคุณ
ให้ความสำคัญกับเนื้อหารองในเนื้อเพลงด้วยจะช่วยเสริมให้เนื้อหาหลักของคุณแข็งแรงขึ้น
และเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น เนื้อหาที่นำมาแต่งเพลงสามารถแบ่งได้หลายอย่าง เช่น รอคอยความรัก,หลงรัก,ขอความรัก,ฉลองในความรัก,อกหัก,เล่าเรื่องส่วนตัว,สถานที่และวัตถุ,
เทศกาล,มิตรภาพ,ครอบครัว,ชีวิต,เต้นรำ,ดนตรี,บทกลอน,งาน,เงิน ฯลฯ

ชื่อเพลงฮิต (The hit tittle )
มีนักแต่งเพลงบางคนเริ่มแต่งเพลงจากชื่อเพลงเพียงเท่านั้นแต่นักแต่งส่วนใหญ่มักแต่งชื่อเพลงหลังจากที่แต่งเพลงนั้นเสร็จแล้ว
ชื่อเพลงจะสื่อถึงเนื้อหาของบทเพลงทั้งหมดของคุณและช่วยให้ผู้ฟังรับรู้ถึงอารมณ์และเนื้อหาของเพลง เช่น เพลง I wanna dance with somebody หรือ เพลง Saving all my love for you ซึ่งผู้ฟังสามารถเดาเนื้อหาได้ทันทีที่เห็นชื่อเพลง แต่บทเพลงบางเพลงก็ตั้งชื่อโดยใช้สัญลักษณ์แทน เช่น Ebony and Ivory ซึ่งแปลว่าคีย์เปียโนสีขาวและสีดำที่ต้องทำงานร่วมกันในการสร้างทำนองเพลง แต่ความหมายที่แท้จริงของเพลงนี้ คือ รณรงค์ไม่ให้มีการเหยียดสีผิว แต่ก็ไม่ได้ใช้คำตรงๆเหมือน Hey,Black and White People should Cooperate
จำไว้ว่าชื่อเพลงคือสิ่งแรกที่ผู้ฟังจะรู้จักเพลงของคุณเพราะฉะนั้นคุณควรให้ความสำคัญกับชื่อเพลงของคุณ



วิธีการตั้งชื่อเพลง
ชื่อเพลงในโลกนี้มีมากมายหลากหลายประเภทแต่เราสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆคือ
1.คำ(Label ) : มีชื่อเพลงมากมายที่ใช้คำตรงตัวในการแต่งเพลงซึ่งเหมาะกับเพลงที่เกี่ยวกับ คน,สถานที่,สิ่งของที่มีความหมายชัดเจน เช่น Dreams,Magic
2.ประโยคบอกเล่า (Statement ) : โดยใช้ประโยคที่สามารถสรุปเนื้อหาทั้งหมดของบทเพลง อาจเป็นประโยคที่อยู๋ในบทเพลง เช่น You give Love a Bad Name
ข้อสำคัญที่สุดในการใช้ประโยคบอกเล่า คือ คุณควรใช้ประโยคที่สั้นที่สุดที่สามารถอธิบาย
บทเพลงของคุณได้
3.ประโยคคำถาม (Question) : การตั้งชื่อเพลงโดยประโยคคำถามเป็นวิธีดึงดูดผู้ฟังอีกรูปแบบหนึ่ง โดยตั้งชื่อเพลงเป็นคำถามและให้ตัวเนื้อเพลงเป็นคำตอบเฉลย หรือ ตั้งชื่อเพลงด้วยคำถามที่ทุกๆคนตอบได้ เช่น How will I know หรืออาจใช้วิธีตั้งชื่อเพลงด้วย
ประโยคคำถามที่มีคำตอบเฉลยในตัว เช่น Who do you think u’re Foolin’ [not me] ก็เป็นวิธีดึงดูดผู้ฟังอีกวิธีหนึ่ง

วิธีการใช้คำ ( Figures of Speech )
เมื่อคุณร็ถึงวิธีการใช้คำจะช่วยให้คุณสามารถตั้งชื่อเพลง หรือเขียนเนื้อเพลงได้โดนใจผู้ฟังและมีความหมายลึกซึ้งอีกด้วย วิธีการใช้คำมีหลายวิธีดังนี้
1.สัญลักษณ์ : ชื่อเพลงหลายเพลงนำสัญลักษณ์ต่างๆมาใช้ในการตั้งชื่อ เช่น
Broken wings , Red red wine ซึ่งทุกคนจะเข้าดีอยู่แล้วว่า “ ปีก “ มีความหมายถึง อิสรภาพ และ “ ไวน์แดง “ คือยาพิษ
2.คำเปรียบเทียบ : บางกรณีการใช้สัญลักษณ์อาจไม่สื่อความหมายเท่าที่ควร คุณอาจใช้การเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นก็ได้ เช่น We are the world
3.คำเหมือน : ใช้การเปรียบเทียบกับสิ่งต่างๆเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น มักใช้คำว่าเหมือนกับ(like) ในประโยคด้วย เช่น Like a Virgin , Fly like an Engle
4.เปรียบเทียบสิ่งไม่มีชีวิตกับการกระทำของคน : นำสิ่งที่ไม่มีชีวิตมาใส่กริยาของคนเข้าไป หรือ เปรียบเทียบคนให้กลายเป็นวัตถุ เช่น Bridge over Trobled water ,
I am a Rock
5.ขยายรูปประโยค : เป็นการใส่ความรู้สึกเข้าไปในประโยคด้วย เช่น I only have eyes for you , Everybody wants to rule the world.
6.จากเนื้อหา : เป็นการตั้งชื่อจากเนื้อหาของบทเพลงเช่น Give Peace a chance
7.ใช้วลีหรือคำ2คำมาเชื่อมกัน : เป็นวิธีการตั้งชื่อที่น่าสนใจละผู้ฟังต้องติดตาม เช่น Head to Toe , 9to5 , White Rabbit
8.การเล่นคำ : วิธีนี้ต้องคำนึงถึงเนื้อหาของบทเพลงและการเรียงคำให้ไพเราะ เช่น I’ll Tennessee you in my dreams.
9.การเล่นตัวอักษร : เป็นการใช้คำที่มีตัวอักษรตัวเดียวกันมาใช้ เช่น Father Figure , Man in the Mirror.
10.การเล่นสระ : เป็นการใช้สระซ้ำๆ เช่น Ruby Tuesday
11.การซ้ำคำ : เป็นการใช้คำซ้ำๆเพื่อให้ติดหูผู้ฟัง เช่น Say say say say you say me.
12.ภาษาสแลง : เป็นการใช้คำที่กำลังนิยมอยู่ในขณะนั้นๆ เช่น Crazy for you

ท่อนฮุค (The Hook )
ชื่อเพลงของบทเพลงส่วนใหญ่มักจะเอามาจากประโยคเด็ดในท่อนฮุคซึ่งเป็นท่อนที่เล่นซ้ำบ่อยที่สุดในเพลงและเป็นท่อนที่พีค(peak)ที่สุดของเพลง มีนักแต่งเพลงหลายคนเริ่มแต่งเพลงจากท่อนฮุคก่อน และประโยคแรกที่ขึ้นฮุคหรือประโยคจบของท่อนฮุคต้องเป็นประโยคที่เด็ดที่สุดเพื่อให้โดนใจผู้ฟัง แต่ก็อยากลืมเรื่องราวก่อนหน้าที่จะโยงมาหาฮุคต้องเข้ากันด้วย
คำร้องในท่อนฮุคของคุณที่จะโดนใจผู้ฟังนั้นต้องลงตัวกับทำนองเพลง,จังหวะของเพลงอย่างสมบูรณ์ด้วย คุณอาจใช้วิธีคิดเนื้อร้องท่อนฮุคของคุณขึ้นมาก่อนแล้วจึงค่อยๆใส่ตัวโน๊ตและจังหวะเข้าไปทีหลังให้เข้ากับเนื้อร้องของคุณ ซึ่งคุณควรจะเข้าใจถึงธรรมชาติของการเน้นจังหวะของทำนองและน้ำหนักของคำที่คุณใช้ด้วย โดยปกติพยางค์ที่หนักนั้นจะอยู่ในจังหวะตกของห้อง


จะเห็นว่าจากตัวอย่างพยางค์ที่หนักมักอยู่ในจังหวะตกของห้องเพลง แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือเมื่อเวลาคุณลองร้องต้องฟังเป็นธรรมชาติที่สุดเหมือนเวลาที่คุณ
บางครั้งความหมายของคำหรือประโยตก็สามารถช่วยคุณในการเลือกเสียงใส่ในคำของคุณ เช่นถ้าความหมายของประโยคของคุณเป็นประโยคคำถามตัวโน๊ตก็ควรจะไล่เสียงค่อยๆสูงขึ้น แต่ถ้าเป็นประโยคคำสั่งหรือประโยคบอกเล่าโน้ตที่คุณใส่ก็จะอยู่ในโทนเสียงต่ำหรือไล่ลงมาหาเสียงต่ำเหมือนธรรมชาติของการพูด แต่ฮุคบางฮุคอาจใช้การซ้ำโน้ตตัวเดิมเพื่อเป็นการสร้างอารมณ์พาไปสู่จุดที่เขาต้องการก็ได้ และถ้าเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความหวังอาจจะใช้การไล่จากโน้ตเสียงต่ำไปหาโน้ตเสียงสูงก็ได้ ในขณะที่บทเพลงที่มีความหมายจริงจังมักจะใช้ทำนองเพลงในช่วงตัวโน๊ตต่ำๆ
คุณต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ธรรมชาติของคำ,จังหวะและเสียง คุณอาจจะลองใช้หลายๆทำนองใส่ลงไปในฮุคของคุณและคุณจะเข้าใจถึงความแตกต่างของมัน แต่อย่าลืมว่าฮุคเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในเพลงของคุณและเป็นจุดที่จะทำให้ผู้ฟังติดใจในเพลงของคุณ

รูปแบบของทำนอง (Melody Form )
ถึงแม้จะมีบทเพลงบางเพลงที่แต่งจากเนื้อร้องก่อนแต่บทเพลงส่วนใหญ่ในปัจจุบันนิยมที่จะแต่งจากทำนองก่อนแล้วจึงใส่เนื้อร้องที่หลัง ซึ่งวิธีนี้สะดวกสำหรับนักแต่งเนื้อร้องด้วยเช่นเดียวกัน
ทำนองเพลงนั้นสร้างมาจากหลายๆประโยตเพลงมารวมกัน ซึ่งในแต่ละประโยคเพลงนั้นมีทำนองที่แตกต่างกันออกไป มีบทเพลงหลายเพลงที่นิยมแต่งทำนองเพลงในรูปแบบ
“ คำถามคำตอบ “ นักแต่งเพลงต้องคิดโครงสร้างของทำนองแต่ละท่อนก่อนที่จะเริ่มลงมือเขียน เพื่อช่วยให้สะดวกในการทำงานและได้บทเพลงที่ไพเราะ
จากตัวอย่างเพลงที่ให้จะเห็นว่าเป็นการแต่งแบบคำถามคำตอบ โดยมีประโยคเพลงทั้งหมด 4 ประโยค โดย2บรรทัดบนเป็นประโยคคำถาม และ 2บรรทัดล่างเป็นประโยคคำตอบ ซึ่งดูได้จาก2บรรทัดบนนั้นใช้ตัวโน๊ตแบบค่อยๆไล่เสียงขึ้นสูงเหมือนเวลาที่เราพูดประโยคคำถาม และ2บรรทัดล่างเป็นการใช้ตัวโน๊ตค่อยๆไล่ลงเสียงต่ำเหมือนเวลาเราพูดประโยคบอกเล่า บทเพลงนี้มีองค์ประกอบที่ลงตัวโดยให้โน้ตตัวที่สูงที่สุดอยู่ที่โน้ตตัวแรกของประโยคคำตอบซึ่งก็เป็นจุดพีคของเพลงนั้นเอง

เนื้อเพลง ( Lyric )
จุดมุ่งหมายสำคัญของการเขียนเนื้อเพลงก็คือการสามารถบรรยายเรื่องราวหรือสัญลักษณ์ต่างๆออกมาได้อย่างที่ใจต้องการและมีเนื้อหาเพลงที่ดี ซึ่งเนื้อหาเพลงที่ดีนั้นก็คือเนื้อที่สามารถสื่อความหมายจากทำนองและดนตรีของเพลงนั้นออกมาได้มากที่สุด
เนื้อเพลงนั้นแตกต่างจากบทกลอนเช่นเดียวกันกับนักร้องที่แต่ต่างจากนักพูด เนื้อหาต่อไปนี้คุณจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับจังหวะของเนื้อเพลงที่เหมาะกับจังหวะและโครงสร้างของเพลง

(น้ำหนัก) Stress
โดยธรรมชาติของบทเพลงจังหวะหนักจะอยู่ที่จังหวะแรกของห้องเพลงซึ่งก็จะทำให้ธรรมชาติของนักร้องมักจะเน้นที่จังหวะแรกของห้องเพลงด้วยเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นในการแต่งเนื้อร้องเราต้องคำนึงถึงธรรมชาติข้อนี้ด้วย
เพลง Scarborough Fair นี้เป็นตัวอย่างที่ดีเกี่ยวกับเรื่องน้ำหนักให้คุณลองร้องเพลงนี้ตามโน้ตที่เห็น คุณจะเข้าใจเกี่ยวกับการใช้คำให้เหมาะกับจังหวะของตัวโน๊ต



คำสัมผัส (Rhyme Scheme )

การเล่นคำสัมผัสนิยมใช้ในเพลง pop/rock ช่วยให้เพลงมีความไพเราะมากขึ้น ดูคำสัมผัสที่ A กับ A และ B กับ B

คำสัมผัสโดยการซ้ำคำ ( Same-Word Rhymes and Repetition )

การใช้คำซ้ำในประโยคที่1และ3ก็ให้ความรู้สึกเหมือนมีสัมผัสได้เช่นเดียวกัน

สัมผัสใน (Internal Rhyme )

บางครั้งเราใช้การสัมผัสในประโยคด้วยเช่นเดียวกัน

สัมผัสหลายที่ ( Multiple Rhyme )


รูปแบบของเพลง ( Song Forms )
ในบทเพลงนั้นจะประกอบด้วยท่อนเพลงหลายๆท่อนเพลงมารวมกัน ซึ่งในแต่ละท่อนเพลงก็มีรูปแบบและโครงสร้างแตกต่างกันออกไป การวางท่อนเพลงที่ดีก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้เพลงของคุณเป็นที่นิยมได้ เนื้อหาต่อไปจะเป็นพื้อฐานให้คุณเข้าใจถึงลักษณะของ
ท่อนเพลงต่างๆ ซึ่งคุณอาจนำไปใช้กับบทเพลงของคุณได้
1.ท่อนVerse : เป็นท่อนพื้นฐานของเพลง เป็นส่วนที่แสดงอารมณ์โดยรวมทั้งหมดของเพลงซึ่งสามารถบอกทิศทางทั้งหมดของเพลงให้ผู้ฟังรู้ได้ สามารถอยู่ได้ในหลายๆตำแหน่งของบทเพลง อาจอยู๋ในท่อนแรกของบทเพลงซึ่งก็จะทำหน้าที่บอกเรื่องราวเริ่มต้นของบทเพลง
บอกอารมณ์ของเพลง และเป็นท่อนที่เกลาเข้าสู่ท่อนต่อไป ในเพลง pop ส่วนใหญ่ ท่อนVerse มักจะมีทำนองเพลงที่เหมือนกันแต่เปลี่ยนเนื้อร้อง
2.ท่อนChorus : เป็นท่อนประสานซึ่งจะมีเนื้อหานและแนวทำนองเหมือนกับท่อน Verse แต่มีระดับเสียงที่ต่างออกไป ท่อน Chorus นี้อาจมาในช่วงก่อนฮุคเพื่อเกลาเข้าหาฮุค หรือใช้จบเพลงก็ได้
3.ท่อน Bridge : ท่อนเพลงนี้เป็นท่อนเพลงสั้นมักใช้เชื่อมระหว่างท่อนเพลงอื่นๆ อาจใช้เพื่อการเปลี่ยนอารมณ์ของเพลงหรือการเปลี่ยนคีย์ของเพลงก็ได้
4.ท่อนRefrian(ลูกคู่) : เป็นเหมือนการล้อประโยคเพลง มักจะเป็นการซ้ำประโยคสุดท้ายของประโยคเพลง
5.ท่อนInstrumental Break : เป็นท่อนที่มีแต่เครื่องดนตรีบรรเลงอย่างเดียว มักอยู่ช่วงกลางของเพลง หรืออาจใช้ในการเริ่มต้นหรือจบเพลงก็ได้
6.ท่อนIntroduction : หรือเรียกว่าท่อน Intro เป็นท่อนขึ้นเพลงอาจจะใช้การบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีสั้นๆ หรือ การพูดก็ได้
7.ท่อนTag : ท่อนจบเพลง ( Coda ) ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นท่อนหลังจากประโยคสุดท้ายของฮุค หรือ ท่อนสุดท้ายของฮุคที่ใช้ในการจบบทเพลง

รูปแบบของบทเพลง
1.The Ballad [AAA] : เป็นรูปแบบเพลงที่ซ้ำท่อน Verse ไปมาทั้งเพลง มักใช้ในเพลงที่มีจังหวะช้าๆ
2.The Verse Chorus Song [ABAB] : นิยมใช้ในเพลง pop/rock โดยใช้ท่อน Verse และท่อน Chorus โดยใช้รูปแบบ ABAB หรือ ABABAB
3.The Verse-Bridge Song [AABA] : นิยมใช้กับดนตรีประเภทแจ๊ส มักเรียงท่อนเพลงโดยใช้ Verse-verse-bridge-verse ปัจจุบันนิยมใช้แพร่หลาย
4.Chord Chart : เป็นเพลงที่มีแต่คอร์ดให้อย่างเดียวซึ่งตัวทำนองนักดนตรีจะเป็นผู้คิดเอง อาจมีทำนองหลักให้ไว้นิดหน่อย ใช้กับดนตรีแจ๊สส่วนมาก

จังหวะ ( The beat )
ในการแต่งเพลง pop/rock จังหวะมีความสำคัญมาก เพราะเป็นตัวสื่อารมณ์ของบทเพลงได้ชัดเจน เช่น ถ้าคุณเล่นเพลง Blue แต่คุณไปใช้จังหวะของ rock ก็จะไม่ได้ความรู้สึกของเพลง blue เลย
เพลง pop มักใช้จังหวะ 2 รูปแบบ คือ Straight-eight และ Shuffle
ในจังหวะ4/4 Straight-eight มักจะเน้นที่จังหวะ 2 และ 4 หรือที่รู้จักกันดีว่า Backbeat และถ้าเป็นจังหวะ2/4 ก็จะเน้นที่จังหวะที่ 2 ของห้อง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับรูปแบบของบทเพลง
ส่วนเพลงจังหวะกลางๆประเภท rock , R&B และ Dance นั้นจะเน้นที่จังหวะยกและตกสลับกันดังรูป
จังหวะแบบนี้จะให้ความรู้สึกเหลื่อมๆกว่าปกติ เพราะมีการเล่นในจังหวะยกของเพลง หรือที่เราเรียกว่า Syncopation
จากภาพด้านบนเป็นจังหวะอีกประเภทหนึ่งซึ่งเรียกว่า half-time feel เพราะจะเน้นจังหวะที่3ของห้องเพลง

คอร์ด ( Chord )
นักแต่งเพลงจำเป็นต้องเข้าใจถึงเรื่อง Harmony และ Chord Pattern ในเรื่องต่อไปจะให้คุณทราบถึงพื้นฐานของคอร์ดต่างๆและหน้าที่ของมัน

คอร์ด I และ V
คอร์ดที่ 1 มักเป็นคอร์ดที่ใช้ขึ้นต้นและจบเพลง ส่วนคอร์ด 5 นั้นใช้เกลาเข้าสู่คอร์ด1
บางครั้งเราอาจใช้คอร์ด V7 แทน V ได้

คุณลองเล่นคอร์ดที่ให้และฟังเสียง จะทำให้คุณเข้าใจถึงการเกลาจากคอร์ด 5ไป1ได้ดี
เลือกจังหวะ : จังหวะที่แตกต่างกันก็มีส่วนช่วยให้ความรู้สึกของเพลงแตกต่างกัน นั้นเป็นหน้าที่ของคุณที่หาจังหวะให้เหมาะกับเพลงของคุณ
Rock :เพลง rock ส่วนใหญ่ใช้จังหวะ 4/4 และลงจังหวะหนักที่จังหวะที่3 ให้คุณศึกษาเพลง rock จากเพลงตัวอย่างที่ให้


Style : Show4/4 rock : based on “ Mockingbird”
Key : C Major
Chord : I and V7
C and G7

ตอนนี้ถึงเวลาที่คุณจะต้องลองลงมือแต่งเพลงแล้ว ให้คุณลองแต่งเพลงโดยใส่ตัวโน๊ตและเนื้อร้องลงไปจากจังหวะและคอร์ดที่ให้ และแต่งเนื้อเพลงโดยใช้รูปแบบ ABAB หรือ AABB


ตัวอย่างด้านบนเป็นการใช้คอร์ด V และ I ในท่อนเพลง อีกหน้าที่หนึ่งที่เรานิยมใช้คือใช้ในการจบเพลง เพราะ เป็นคอร์ดที่ให้ความรู้สึกจบอย่างสมบูรณ์
ตัวอย่างต่อไปเป็นตัวอย่างการใช้ คอร์ด V กับ I ในคีย์ G Major



การแต่งเพลง pop ง่ายๆ : ในปัจจุบันเพลง pop แบ่งออกได้เป็น 2แบบ คือ easy pop และ pop/rock
Easy pop หรืออาจเรียกว่า middle-the-read หรือ Adult-oriented rock เพลงประเภทนี้มักมีเนื้อหาเกี่ยวกับความรัก,การเฉลิมฉลอง และความโดดเดี่ยว ซึ่งมักใช้จังหวะ4/4โดยใช้จังหวะช้าๆถึงกลางๆ และเน้นที่เนื้อเพลง,การใช้คำ ,การเล่นสัมผัส และ Hook ที่โดดเด่น จังหวะของเพลง pop มักเน้นที่จังหวะที่ 1และ 3 ของเพลง ตัวอย่างเพลงต่อไปจะเป็นตัวอย่างเพลง easy pop

Style : Easy pop based on “Melody of love”
Key : C Major
Chord : I and V7
C and G7
ในเพลงนี้ให้คุณลองใส่ทำนองและเนื้อร้องเข้าไปจากรูปแบบที่วางไว้ โดยคำนึงถึงความรู้สึกของ pop

Pop/rock : ในปัจจุบันเพลง pop หลายเพลงนิยมใช้จังหวะ rock ผสมผสานลงไป เพราะได้รับความนิยมจากกลุ่มวัยรุ่นมากกว่า แต่ก็ยังคงใช้จังหวะ4/4เหมือนเดิม
จากตัวอย่างให้คุณลองเขียนทำนองและเนื้อร้อง
ต่อไปให้คุณลองวางจังหวะ,ทำนองและเนื้อร้องโดยคำนึงถึงความเป็น pop


คอร์ด IV
หน้าที่ของคอร์ด IV คือใช้อยู่ในบทเพลง และเกลาเข้าสู่คอร์ดหนึ่งมักใช้ในท่อนจบของเพลง เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่มักใช้ในท่อนจบเราเรียกว่า Plagal Cadence ลองดูตัวอย่างวิธีการใช้คอร์ด4จากบทเพลงต่อไปนี้

Medium pop/rock
Style : Medium pop/rock ballad
Key : G Major
Chord : I , I7 , IV and V7
G , G7 , C and D7


ลองเขียนเพลงจากรูปแบบที่ให้ โดยให้ 4 บรรทัดแรกเป็นท่อนVerse และ 4 บรรทัดล่างเป็นท่อน Chorus และใส่เนื้อเพลงให้เข้ากับทำนองเพลง

คอร์ด ไมเนอร์ ( Minor Chord )
ตำแหน่งของคอร์ดบางคอร์ดใน Major Scale นั้นจะเป็นคอร์ดไมเนอร์ซึ่งมีดังนี้
vim Chord คอร์ที่6


คอร์ดที่ 6 จะมีตัวโน๊ตซ้ำกับคอร์ดที่ 1 สองตัว จึงมีหน้าที่เกลาจากคอร์ด1เพื่อเชื่อมไปยังคอร์ดต่างๆ


ต่อไปลองมาดูวิธีการใช้คอร์ด6ในเพลง pop/rock
ให้คุณลองใส่โน้ตและเนื้อเพลงจากสิ่งที่กำหนดให้

iim Chord คอร์ดที่2
คอร์ดที่2มักทำหน้าที่เกลาเข้าหาคอร์ดที่5 เช่น ii-V-I นิยมใช้ในเพลง pop/rock
ลองแต่งเพลงจากรูปแบบที่กำหนดให้

iiim chord คอร์ดที่3
คอร์ดที่3จะมีตัวโน๊ตซ้ำกับคอร์ดที่1อยู่สองตัว



ลองเขียนเพลงจากรูปแบบที่ให้ต่อไปนี้โดยอาจให้2ห้องแรกมีแต่เครื่องดนตรีเล่นเพียงอย่างเดียว และแต่งเนื้อเพลงโดยใช้รูปแบบ AABB หรือ ABAB อาจจะใช้การสัมผัสคำด้วย


คอร์ดนอกคีย์
คือคอร์ดที่อยู่นอกเหนือจากในสเกล เช่น คอร์ด II7 , III7, VI7
และ bVII ซึ่งเราสามารถเอามาใช้ในงานเพลงของเราได้

คอร์ด II7
จากรูปภาพจะเป็นว่าคอร์ด Dนั้นมีตัว F# ซึ่งปกติแล้วใน C Major Scale ไม่มีตัว F# ถ้าจะพูดในหลักทางดนตรีแล้วคอร์ด D จะถือว่าเป็นคอร์ด V/V
นิยมใช้เกลาเข้าหาคอร์ด5 เช่นเดียวกับ iim-V7-I แต่เป็น
II7 –V7-I ซึ่งนิยมใช้ในเพลง pop/rock
ต่อไปเป็นตัวอย่างการใช้คอร์ดสองเมเจอร์เซเว่นท์ในเพลงคีย์F
III7, VI7 Chord

จะใช้มากในงานเพลงประเภท Jazz

bVII Chord



คอร์ด bVII มีโน๊ต2ตัวที่เหมือนกับคอร์ด V7 อาจใช้เกลาเข้าหาคอร์ด V หรือใช้แทนคอร์ด V ก็ได้


คีย์ไมเนอร์ Minor Key
เป็นคีย์ที่ให้ความรู้สึกเศร้า,หดหู่,หม่นหมอง
Minor key จะใช้ Key Signature เดียวกับMajor Keys ดังนี้



ถ้าเป็นคีย์ที่มีตัวโน๊ตตัวแรกเหมือนกันเราเรียกว่า “ Paralled Keys “ เช่น
C Major & C minor

5 force model เพลงลูกทุ่ง

หากจะมองภาพรวมของธุรกิจค่ายเพลงลูกทุ่ง เราอาจจะพิจารณาถึงปัจจัย 5
ประการเพื่อวัดความน่าดึงดูดใจในการทำกำไรที่แท้จริงในระยะยาว ดังนี้
1.คู่แข่งในอุตสาหกรรมนั้น ๆ( Threat of intense segment rivalry)
สำหรับคู่แข่งในตลาดเพลงลูกทุ่งนั้นในปัจจุบันมีเป็นจำนวนมากทำให้มีคู่แข่งที่ทำธุรกิจประเภทเดียวกันนี้สูงมาก แต่คู่แข่งไม่ใช่ปัจจัยสำคัญของธุรกิจเพลงลูกทุ่งมากนัก เพราะการแข่งขันของตลาดนี้ขึ้นอยู่กับความพอใจ,รสนิยมของผู้บริโภค มากกว่า ถึงแม้จะเป็นค่ายเล็กๆแต่หากเป็นที่ชื่นชอบก็สามารถแข่งขันได้ เช่นน้องมายย์ เป็นต้น
2.คู่แข่งรายใหม่(Threat of intense segment rivalry)
ตลาดเพลงลูกทุ่งน่าดึงดูดใจในแง่ของบริษัทที่เข้ามาง่าย และออกง่าย ทำให้มีคู่แข่งรายใหม่เยอะ และจะผลิตเพลงลูกทุ่งออกมามากมาย นักร้อง ศิลปินในค่ายจะเยอะ ต่างกับสมัยก่อน นอกจากนั้นนักร้องเพลงสตริงหันมาสนใจร้องเพลงลูกทุ่งมากขึ้นเช่น จอย ศิริลักษณ์ ผ่องโชค , พาเมล่า บาวเดน ฯลฯ
3.ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทน (Threat of new entrants)
ตลาดเพลงลูกทุ่งเป็นความชอบส่วนตัว ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของผู้บริโภคแต่ละคน ทำให้สินค้าทดแทนไม่มีอิทธิพลต่อองค์กร เนื่องจากคนฟังเพลงลูกทุ่งก็ไม่นิยมฟังแนวเพลงอื่น ในขณะที่คนที่ชอบฟังเพลงสากลก็ไม่เลือกซื้อ เลือกฟังเพลงลูกทุ่งเช่นกัน
4.ภัยคุกคามจากการเพิ่มอำนาจต่อรองของผู้ซื้อ(Threat of buyers’ growing bargaining power)
ผู้ซื้ออมีอิทธิพลในตลาดส่วนนี้พอสมควรเนื่องจากผู้ซื้อสามารถเลือกซื้อแผ่นเพลง หรือเทปเพลงของแท้จากบริษัทผู้ผลิต หรืออาจซื้อแผ่นอัดจากแหล่งผิดกฎหมายได้ เพราะนอกจากได้ราคาถูกแล้ว ยังได้เลือกเพลงจากหลายค่ายหรือหลากหลายศิลปินที่ถูกใจตนได้ตรงตามความต้องการมากกว่า
5.Supplier ( Threat of suppliers ‘ growing bargaining power)
Supplier ของเพลงลูกทุ่งคือผู้ผลิตเทป ซีดี โรงพิมพ์ที่พิมพ์ปกเทป มีอิทธิพลต่อค่ายเพลงน้อย เนื่องจากมีSupplier หลายแห่ง และยิ่งค่ายเพลงไหนที่ออกเทปเดือนละหลาย ๆ ชุด Supplier ก็ต้องการที่จะติดต่อให้ส่งสินค้ามาก ทำให้มีแนวโน้มในการต่อรองต่ำ

ลักษณะตลาดของธุรกิจลูกทุ่ง

ลักษณะของ ตลาดธุรกิจเพลงลูกทุ่งนั้นจะแบ่งช่วงเป็นช่วง High season และ Low season โดย High season จะเริ่มตั้งแต่หลังออกพรรษาคือเดือนพฤศจิกายนช่วงเข้าหน้าหนาวเนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะภาคอีสานจะทำการเกี่ยวข้าวเสร็จเรียบร้อยแล้วทำให้มีกำลังซื้อและเวลาว่างในการหาความบันเทิงพักผ่อน และเป็นช่วงเทศกาลทั้งวันขึ้นปีใหม่ , วันสงกรานต์ เป็นต้น จนกระทั่งถึงเดือนพฤษภาคมก่อนเปิดเทอม และหลังจากช่วงเปิดเทอมจะเป็นช่วง Low season
ซึ่งเป็นลักษณะที่แตกต่างจากตลาดของเพลงสตริงที่สามารถขายได้ตลอดทั้งปี แต่ทั้งนี้ถึงแม้ในช่วง Low season ทางค่ายลูกทุ่งส่วนใหญ่ก็จะออกอัลบั้มเพลงโปรโมทออกมาเพื่อจะให้ไปดังช่วง High season เพราะเพลงลูกทุ่งต้องใช้ช่วงเวลาในการโปรโมทโดยเฉลี่ยประมาณ 6 เดือนถึงจะติดหูคนฟัง




Product Life Cycle ของธุรกิจเพลงลูกทุ่ง
ลักษณะวงจรชีวิตความโด่งดังของนักร้องลูกทุ่ง
ลักษณะวงจรชีวิตของนักร้องลูกทุ่งมีความน่าสนใจอย่างยิ่ง หากพิจารณาจากกราฟข้างต้น จะเห็นว่าแบ่งออกเป็น 3 ช่วงคือ
1.ช่วงก่อนโด่งดัง(Introduction) : จะเห็นว่ากราฟช่วงนี้จะยาวมากกว่าช่วงอื่น เนื่องมาจากก่อนที่นักร้องหนึ่งคนจะสามารถออกอัลบั้มสักหนึ่งอัลบั้มนั้นต้องผ่านขบวนการต่างๆมากมายอาทิเช่นการคัดเลือกซึ่งทางบริษัทค่ายเทปจะทำการตรวจสอบทุกขั้นตอนตั้งแต่เสียงร้อง , บุคลิกภาพ รวมถึงนิสัยใจคอว่าหากโด่งดังแล้วจะเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ซึ่งในขั้นตอนนี้เกือบทุกบริษัทจะใช้เวลามากกว่า 3 ปีขึ้นไป และหลังจากที่ออกอัลบั้มแล้วนักร้องลูกทุ่งอาจจะไม่ได้โด่งดังตั้งแต่ชุดแรกแต่สำหรับนักร้องลูกทุ่งแล้วถือว่าเป็นเรื่องปกติ ในธุรกิจลูกทุ่งถือว่านักร้องลูกทุ่งนั้นมีโอกาสอยู่เสมอเพียงแค่ต้องจับทางให้ถูกเท่านั้นโดยทางบริษัทเพลงต้นสังกัดจะทำการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์วิธีการต่างๆเพื่อให้นักร้องคนนั้นโด่งดังซึ่งในบางครั้งกว่าที่นักร้องคนนั้นจะเป็นที่รู้จักอาจจะใช้เวลาถึงสิบๆปี เช่น อาภาพร นครสวรรค์ ที่มาโด่งดังจากอัลบั้มชุดที่ 9 ของเธอจากเพลงเลิกแล้วค่ะ
2.ช่วงโด่งดัง (Growth) : เมื่อนักร้องเริ่มเป็นที่รู้จักและโด่งดัง หากดูจากกราฟจะเห็นว่ากราฟขึ้นสูงอย่างรวดเร็วโดยนักร้องจะเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางทั่วประเทศไทยได้ทันที ซึ่งปัจจัยที่ทำให้โด่งดังอาจมาจากเพลงที่โดนใจผู้ฟังเพลง , บุคลิกภาพของนักร้อง หรือ นิสัยใจคอของนักร้อง เป็นต้น
3.ช่วงติดลมบน(Maturity) : สำหรับนักร้องลูกทุ่งนั้นเมื่อเป็นโด่งดังเป็นที่ชื่นชอบแล้วจะสามารถขายได้ตลอดไป เช่น พรศักดิ์ ส่องแสง ที่เคยโด่งดังมากในอดีตและร้างลาวงการเพลงไปเกือน 10 ปีแต่เมื่อกลับมาทำอัลบั้มใหม่อีกครั้งก็ยังได้รับการตอบรับที่ดีจากแฟนเพลงเหมือนเดิม สาเหตุสำคัญที่นักร้องลูกทุ่งที่ติดลมบนแล้วสามารถขายได้เสมอนั้นมาจากพฤติกรรมผู้บริโภค(Customer Nature) ของผู้ฟังเพลงลูกทุ่ง โดยลักษณะพฤติกรรมของผู้ฟัง บริโภคกลุ่มนี้คือ
1.Customer Loyalty ความจงรักภักดีต่อตัวสินค้า : โดยหากผู้ฟังกลุ่มนี้ชื่นชอบนักร้องลูกทุ่ง ไม่ได้หมายความเพียงแต่เป็นการชื่นชอบชื่นชมเพียงอย่างเดียว ยังมีความหมายถึงความรักใคร่ชอบพอเสมือนหนึ่งเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน มีความเอ็นดูความผูกพันใส่ลงไปอีกด้วย จึงทำให้การบริโภคไม่ใช่แค่เพียงความชอบในเพลงอัลบั้มนั้นๆหรือหน้าตาของนักร้องเพียงชั่วครั้งชั่วคราวแต่ยังหมายความรวมไปถึงความต้องการให้การสนับสนุน ,ความผูกพัน ฯลฯ อีกด้วย ทำให้นักร้องลูกทุ่งที่เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภคนั้นสามารถขายผลงานของตนเองได้เรื่อย ๆ ซึ่งเมื่อพฤติกรรมของผู้บริโภคเป็นเช่นนี้แล้ว หากนักร้องคนใดสามารถที่สามารถจับกลุ่มลูกค้ากลุ่มนี้ได้ก็สามารถขายผลงานเพลงของตนเองได้ตลอดไป ไม่เพียงแต่นักร้องลูกทุ่งเท่านั้นยังรวมถึงนักร้องสตริงที่หันมาร้องลูกทุ่งด้วยเช่นเดียวกัน
2.ลักษณะนิสัยเฉพาะของคนไทย (โดยเฉพาะคนไทยในต่างจังหวัด) : คนไทยในต่างจังหวัดมีอุปนิสัยที่ชื่นชมคนมีความกตัญญูกตเวที , ซื่อสัตย์ , อ่อนน้อมถ่อมตน และ ใฝ่หาความรู้ เป็นต้น หากนักร้องลูกทุ่งมีอุปนิสัยตรงกับความชื่นชอบของพวกเขาก็เสมือนเป็นพรรคพวกเดียวกัน ก็จะได้รับการตอบรับสนับสนุนอย่างดีจากกลุ่มผู้ฟังกลุ่มนี้ ซึ่งเมื่อทราบถึงลักษณะนิสัยเฉพาะตรงนี้แล้ว ทำให้นักร้องลูกทุ่งต้องรักษาภาพลักษณ์ไว้ให้ดีที่สุด
หากมีข่าวที่ไม่ดี หรือมีพฤติกรรมที่ไม่ดีออกมาเช่น ไม่เลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ , ขโมยของ , ย้ายค่ายโดยไม่มีสาเหตุที่ดี ฯลฯ ก็จะหมดความนิยมทันที
3.Attitude ปัจจุบันทัศนคติของคนฟังเพลง ยอมรับในเพลงลูกทุ่งมากขึ้น ไม่มองเป็นเรื่องที่เชยอีก
ต่อไป แต่ก่อนนั้นคนต่างจังหวัดที่เข้ามาทำงานในกรุงเทพจะไม่กล้าที่จะฟังเพลงลูกทุ่งต่อสาธารณชนเพราะเห็นว่าเป็นเรื่องน่าอาย แต่ปัจจุบันเพลงลูกทุ่งได้รับการยอมรับในกลุ่มคนฟังกรุงเทพมากขึ้น โดยมองว่าเพลงลูกทุ่งมีความเป็นเพลงสนุกสนาน ทำให้คนต่างจังหวัดหรือคนกรุงเทพเองหันมาฟังเพลงลูกทุ่งกันอย่างเปิดเผย ตรงจุดนี้หากผู้ผลิตสามารถจับทิศทางของพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปได้ โดยเปลี่ยนเนื้อหาสาระให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้น เช่น ปัจจุบันมีเพลงที่เกี่ยวกับมือถือ หรือเทคโนโลยีอื่นๆมากขึ้น ก็จะสามารถครองใจตลาดกลุ่มนี้ได้กว้างขึ้นและยาวนาน

หากเปรียบเทียบกับนักร้องเพลงสตริง ลักษณะของ Product Life cycle จะมีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก
ลักษณะวงจรชีวิตความโด่งดังของนักร้องสตริง
วงจรชีวิตของนักร้องสตริงนั้นหากพิจารณาเป็นช่วงจะแตกต่างจากนักร้องลูกทุ่งดังนี้
1.ช่วงก่อนโด่งดัง(Introduction) : สำหรับนักร้องสตริงช่วงการทำเพลงหรือโด่งดังจะสั้นมาก โดยส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน ซึ่งหากโด่งดังจะเข้าสู่ช่วง growth ทันทีแต่หากไม่โด่งดังก็จะหมดโอกาสต่อไปทันที โดยส่วนใหญ่ทางค่ายจะไม่สนับสนุนต่อซึ่งอาจหมายถึงต้องจบชีวิตการเป็นนักร้องไปเลย
2.ช่วงโด่งดัง (Growth) : หากนักร้องสตริงเข้าสู่ช่วงโด่งดังจะได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วจากแรงโปรโมททางสื่อซึ่งโดยส่วนใหญ่จะมีระยะเวลาประมาณ 6 - 12 เดือนหรือตามระยะที่เทปวางแผงขาย
3.ช่วงติดลมบน(Maturity) : นักร้องสตริงโดยส่วนใหญ่จะมีช่วงติดลมบนน้อยมากอาจเพียงแค่ระยะเวลาที่อัลบั้มชุดนั้นเป็นที่นิยม เพราะบางครั้งเมื่ออัลบั้มชุดที่สองออกมาอาจจะไม่ได้รับความนิยมเหมือนชุดแรก หรือแค่ 2-3 อัลบั้มแล้วหายไป
4.ช่วงหมดความนิยม (Aging) : เมื่อหมดช่วงวางแผงอัลบั้มความนิยมของนักร้องสตริงจะลดน้อยลง โดยจะมีนักร้องสตริงคนอื่นขึ้นมาได้รับความนิยมแทนเพราะการแข่งขันในตลาดสูง

ประวัติเพลงลูกทุ่ง

ถ้าหากกล่าวถึงคำว่า “เพลงลูกทุ่ง” นั้นคงไม่มีใครที่ไม่เคยได้ยินคำๆนี้ สังคมไทยมีความผูกพันกับเพลง ลูกทุ่งมาช้านานแล้วเพราะเป็นเพลงที่มีลักษณะสัมพันธ์กับท้องถิ่นอย่างชัดเจนโดยมีการแทรกความเป็นท้องถิ่นด้านคำร้องทั้งภาษาถิ่น , สาระของบทเพลงที่บอกเล่าเรื่องราวชีวิตและสังคมที่เกี่ยวข้องกับคนชนบทในแง่มุมต่างๆ ซึ่งในอดีตเราจะเรียกบทเพลงประเภทนี้ว่าเพลงตลาดหรือเพลงชีวิต แต่เริ่มมีการใช้เรียกว่า “เพลงลูกทุ่ง” ในราว พ.ศ. 2500 และเริ่มเรียกแพร่หลายในปีพ.ศ. 2507 จากรายการโทรทัศน์ของช่อง4 ซึ่งตั้งชื่อรายการว่า “เพลงลูกทุ่ง”
ตลาดเพลงลูกทุ่งในยุคแรกนั้นจะมีการเผยแพร่ผลงานตามงานคอนเสริต์ต่างๆ , สถานีวิทยุ , สถานีโทรทัศน์ และแผ่นครั่ง โดยทางศิลปินหรือวงดนตรีจะเป็นผู้ดำเนินงานเองทั้งหมด แต่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระบบนายทุนในราว พ.ศ. 2516 โดยเริ่มจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1(พ.ศ. 2504-2509) และฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2510-2514) มีเนื้อหาสาระเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศอยู่ที่การทดแทนการนำเข้าและเข้าสู่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2515-2519) รัฐบาลได้ออกพ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุนพ.ศ. 2520 ที่ให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ลงทุนทำให้ฐานะเศรษฐกิจและรายได้ประชาชาติได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 18 เท่าตัว
นอกจากภาวะเศรษฐกิจดังกล่าวแล้วปัจจัยที่ดึงดูดให้เข้ามาลงทุนในธุรกิจนี้อีกก็คือกฎหมายคุ้มครองการผลิตและการสร้างสรรค์ผลงานเพลงของผู้ผลิตและผู้แต่งเพลง และประกอบกับในช่วงนั้นมีการผลิตเครื่องเล่นเทปและวิทยุขนาดเล็กที่ผู้ฟังสามารถพกติดตัวฟังได้ตลอดเวลาที่เรียกว่า Sound About หรือ Walkman เครื่องเสียงชนิดนี้ได้รับความนิยมแพร่หลายและราคาถูกลง จึงทำให้นักฟังเพลงตื่นตัวในการฟังเพลงมากขึ้น รวมถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้นทั้งระบบการบันทึกเสียงและเทปคาสเซท จากปัจจัยเหล่านี้ส่งผลต่อวงการเพลงลูกทุ่งอย่างมากมายทำให้เกิดธุรกิจค่ายเพลงเพิ่มมากขึ้นและต่างต้องแข่งขันกันอยู่ตลอดเวลา หากดูจากรายงานการสรุปเรื่องธุรกิจเทปคาสเซทของฝ่ายวิชาการ ธนาคารกสิกรไทย(2529) พบว่าในแต่ละเดือนมีเทปคาสเซทออกมาใหม่ไม่ต่ำกว่า 15-20ชุด
สำหรับวงการเพลงลูกทุ่งมีค่ายเทปที่ดำเนินการผลิตผลงานเพลงออกสู่สาธารณชนหลายค่ายด้วยกัน อาทิเช่น
พ.ศ. 2519 ห้างหุ้นส่วนนางฟ้า โปรโมชั่น
พ.ศ. 2521 ห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงงานอุตสาหกรรมเลปไล้
พ.ศ. 2524 ชัวร์ออดิโอ จำกัด , เมโทรแผ่นเสียง-เทป(1981 )จำกัด
พ.ศ. 2530 เอส.ทีจำกัด
พ.ศ. 2531 โปรมีเดียมาร์ทนิธิทัศน์โปรโมชั่น
พ.ศ. 2532 ท็อปไลน์มิวสิค
พ.ศ. 2534 สมาร์ทบอมป์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ , เอส.เอ็น.อาร์ต.โปรโมชั่น,

บ๊อกซิ่งซาวด์ จำกัด
พ.ศ.2535 ซีวี.มิวสิค
พ.ศ.2536 เจ.เค.ซี จำกัด, ทองทอง 99 จำกัด
พ.ศ.2537 แปซิฟิก เรคคอร์ด จำกัด, โอโอพี โปรโมชั่น
พ.ศ.2538 ซี.เอ.สตูดิโอ จำกัด, มาสเตอร์เทป, ไร้ทมิวสิก จำกัด, มีเดีย มิวสิ

กกรุ๊ป (เอ็มเอ็มจี), สินชัย โปรโมชั่น, เอ็มดี มีเดีย จำกัด
พ.ศ.2539 ซี.ที.อาร์ โปรโมชั่น, บุษปะเกศ สตูดิโอ จำกัด, รถไฟดนตรี

(1995) จำกัด, เอส เอส มิวสิค เอนเตอร์เทนเมนต์ จำกัด,
จาตุรงค์ สตูดิโอ, เอส เอส มิวสิค เอนเตอร์เทนเมนท์, วีณา เมโลดี้
จำกัด
พ.ศ.2540 ไอ อี เอส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด, บอลลูน จำกัด, เซาท์โฟร์แทค,

ลูกทุ่งนีโอ (เครือบริษัทนิโอ มิวสิค เน็ตเวิร์ค), กริซ เอนเตอร์เท
นเมนต์, เอ็มจีเอ เรคคอร์คส จำกัด, ลีลา เรคคอร์ด, พานมณีโปรโม
ชั่น
พ.ศ.2541 กันตนา มิวสิค จำกัด, เอ.ซี เรคคอร์ส, ดอกบัวคู่โปรโมชั่น

จำกัดเป็นต้น


วันอาทิตย์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

อัตราการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ของ 17 บริษัทจัดเก็บฯ ( update 30 พฤษภาคม 2551)


1. กิจการร่วมค้า เอ็มซีที-โฟโนไรทส์

งานที่จัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เผยแพร่ฯ - งานดนตรีกรรมและงานสิ่งบันทึกเสียง จำนวน 8 แสนเพลง
- งานดนตรีกรรมของนักแต่งเพลงที่เป็นสมาชิกของบริษัท ลิขสิทธิ์
ดนตรี จำกัด 157 ชื่อ จำนวน 6,270 เพลง

* อัตราการจัดเก็บค่าเผยแพร่งานลิขสิทธิ์เพลง
(อัตราการจัดเก็บใหม่ในหน้า 3-5 เริ่มดำเนินการจัดเก็บวันที่ 12 เมษายน 2551)

ประเภทธุรกิจ
อัตราการจัดเก็บ
คาราโอเกะ
5,000 บาท/จอภาพ/ปี
ดิสโก้เธค
240 บาท/ที่นั่ง/ปี
บาร์/ผับ/เลาจน์
200 บาท/ที่นั่ง/ปี
การแสดงสด/คอนเสิร์ต
- เก็บค่าเข้าชม

- ไม่เก็บค่าเข้าชม
5% ของรายได้จำหน่ายบัตรเข้าชม

20 บาท/ผู้เข้าชม 1 ท่าน/วัน
ร้านอาหาร /Chain Restaurant
100 บาท/ที่นั่ง/ปี
โรงแรม
- ค่าห้อง 3,000 บาทขึ้นไป
- ค่าห้อง 2,000 - 2,999 บาท
- ค่าห้องน้อยกว่า 2,000 บาท

140 บาท/ห้อง/ปี
110 บาท/ห้อง/ปี
90 บาท/ห้อง/ปี
ร้านค้า/ห้างสรรพสินค้า/ศูนย์การค้า/ซุปเปอร์มาเก็ต
20 บาท/ตารางเมตร/ปี
โบว์ลิ่ง
740 บาท/ช่องโยน/ปี
ลานเสก็ต
6,800 บาท/แห่ง/ปี
เพลงประกอบภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์
200 บาท/ที่นั่ง/ปี (หรือ 1% ของรายได้จำหน่ายบัตรเข้าชม)
โรงภาพยนตร์ (ไม่รวมเพลงประกอบภาพยนตร์)
20 บาท/ที่นั่ง/ปี
สถานฝึกสอน/ฝึกซ้อมเต้นรำ
12,000 บาท/แห่ง/ปี
งานแสดงสินค้า
2 บาท/ตารางเมตร/วัน
ศูนย์สุขภาพ/Fitness Center/Spa
40 บาท/ตารางเมตร/ปี
สำนักงาน/พื้นที่ต้อนรับ
20 บาท/ตารางเมตร/ปี
โทรศัพท์ (Music on hold)
- 1 ถึง 20 สาย
- 21 ถึง 60 สาย
- 60 สายขึ้นไป

10,000 บาท/ตู้สาขา/ปี
20,000 บาท/ตู้สาขา/ปี
40,000 บาท/ตู้สาขา/ปี


ประเภทธุรกิจ
อัตราการจัดเก็บ

งานแสดงแฟชั่น/โปรโมทบริษัท,สินค้า/เลี้ยงสังสรรค์
- ผู้ชมไม่เกิน 100 คน
- ผู้ชม 100- 500 คน
- ผู้ชม 500 คนขึ้นไป


2,000 บาท/วัน
4,000 บาท/วัน
10,000 บาท/วัน
ตู้เพลง
5,000 บาท/ตู้/ปี
ประกวดร้องเพลง
2,000บาท/เพลง/วัน
ละครเวที
20 บาท/ผู้เข้าชม 1 ท่าน/วัน

อัตราค่าลิขสิทธิ์ธุรกิจขนส่ง
- สายการบิน


1 บาท/ผู้โดยสาร 1 ท่าน/ปี

อัตราค่าลิขสิทธิ์การแพร่เสียงแพร่ภาพ
สถานีวิทยุ
- ใช้งานเพลง 51-100% ของช่วงเวลา
ออกอากาศ

- ใช้งานเพลง 1-50% ของช่วงเวลา
ออกอากาศ



- 7.50% ของรายได้ทั้งหมดก่อนหักค่าใช้จ่าย
ขั้นต่ำ 50,000 บาท/เดือน

- 3.75% ของรายได้ทั้งหมดก่อนหักค่าใช้จ่าย
ขั้นต่ำ 25,000 บาท/เดือน
สถานีโทรทัศน์ทั่วไป
0.4% ของรายได้ทั้งหมดก่อนหักค่าใช้จ่าย
สถานีโทรทัศน์บอกรับสมาชิก
5 บาท/สมาชิก/เดือน

อัตราค่าลิขสิทธิ์ Internet
- Simulcasting


- Webcasting-Audio

- Webcasting-ondemand/interactive
(เฉพาะสิทธิงานดนตรีกรรม)


- 0.5% ของรายได้โฆษณาวิทยุ หรือ 21.25%
ของรายได้ทั้งหมดของ website ขั้นต่ำ 200,000 บาท/Website
- 27.00% ของรายได้ทั้งหมดของ Website
ขั้นต่ำ 200,000 บาท/Website
- 6.25% ของรายได้ทั้งหมดของ Website
ขั้นต่ำ 200,000 บาท/Website
อัตราค่าลิขสิทธิ์ Mobile Business
(เฉพาะสิทธิงานดนตรีกรรม)
- Rintone, Ring Backtone
Mono/Polyphonic/True-tone


- 6.25% ของรายได้ดาวน์โหลดเพลง
ขั้นต่ำ 200,000 บาท





อัตราการจัดเก็บใหม่จะเริ่มดำเนินการจัดเก็บวันที่ 12 เมษายน 2551


ประเภทธุรกิจ
อัตราการจัดเก็บ
คาราโอเกะ
5,000 บาท/จอภาพ/ปี
ดิสโก้เธค
240 บาท/ที่นั่ง/ปี
บาร์/ผับ/เลาจน์
200 บาท/ที่นั่ง/ปี
ร้านอาหาร /Chain Restaurant
100 บาท/ที่นั่ง/ปี
โรงแรม/โรงพยาบาล
Ø ค่าห้อง น้อยกว่า 2,000 บาท
100 บาท/ห้อง/ปี
Ø ค่าห้อง 2,000 - 2,999 บาท
150 บาท/ห้อง/ปี
Ø ค่าห้อง 3,000 - 3,999 บาท
200 บาท/ห้อง/ปี
Ø ค่าห้อง 4,000 - 4,999 บาท
250 บาท/ห้อง/ปี
Ø ค่าห้อง 5,000 - 5,999 บาท
350 บาท/ห้อง/ปี
Ø ค่าห้อง 6,000 - 6,999 บาท
450 บาท/ห้อง/ปี
Ø ค่าห้อง 7,000 บาทขึ้นไป
550 บาท/ห้อง/ปี
ร้านค้า/ห้างสรรพสินค้า/ศูนย์การค้า/ซุปเปอร์มาเก็ต
20 บาท/ตารางเมตร/ปี
โบว์ลิ่ง
800 บาท/ช่องโยน/ปี
ลานสเก็ต/ลานสเก็ตน้ำแข็ง/สนามแข่งรถ
10,000 บาท/แห่ง/ปี
เพลงประกอบภาพยนตร์
200 บาท/ที่นั่ง/ปี (หรือ 1% ของรายได้จำหน่ายบัตรเข้าชม)
โรงภาพยนตร์ (ไม่รวมเพลงประกอบภาพยนตร์)
20 บาท/ที่นั่ง/ปี
สถานฝึกสอน/ซ้อมดนตรี ร้องเพลง และเต้นรำ
12,000 บาท/แห่ง/ปี
ศูนย์สุขภาพ/Fitness Center/Spa
40 บาท/ตารางเมตร/ปี
สำนักงาน/พื้นที่ต้อนรับ/สระว่ายน้ำ/ร้านเสริมสวย-ร้านทำผม
20 บาท/ตารางเมตร/ปี
โทรศัพท์ (Music on hold)
- 1 ถึง 20 สาย
- 21 ถึง 60 สาย
- 60 สายขึ้นไป

10,000 บาท/ตู้สาขา/ปี
20,000 บาท/ตู้สาขา/ปี
40,000 บาท/ตู้สาขา/ปี





ประเภทธุรกิจ
อัตราการจัดเก็บ
งานแสดงแฟชั่น/โปรโมทบริษัท,สินค้า/งานเลี้ยงสังสรรค์
- ผู้ชมไม่เกิน 100 คน
- ผู้ชม 100 – 500 คน
- ผู้ชม 501 – 1,000 คน
- ผู้ชม1,001 – 3,000 คน
- ผู้ชม 3,001 – 10,000 คน
- ผู้ชม 10,001 – 50,000 คน
- ผู้ชม 50,000 คนขึ้นไป

2,000 บาท/วัน
5,000 บาท/วัน
15,000 บาท/วัน
40,000 บาท/วัน
90,000 บาท/วัน
180,000 บาท/วัน
370,000 บาท/วัน
ตู้เพลง/ตู้เกมส์
5,000 บาท/ตู้/ปี
ประกวดร้องเพลง
2,000บาท/เพลง/วัน
ละครเวที/ละครเพลง
20 บาท/ผู้เข้าชม 1 ท่าน/รอบ
สื่อมอนิเตอร์
5,000 บาท/จอภาพ/ปี
สนามไดฟ์กอล์ฟ/ร้านสนุกเกอร์,ร้านพูล
5,000 บาท/แห่ง/ปี
การแสดงสด/คอนเสิร์ต
- เก็บค่าเข้าชม

- ไม่เก็บค่าเข้าชม

5% ของรายได้จำหน่ายบัตรเข้าชม

20 บาท/ผู้เข้าชม 1 ท่าน/วัน

อัตราค่าลิขสิทธิ์ธุรกิจขนส่ง
- สายการบิน


1 บาท/ผู้โดยสาร 1 ท่าน/ปี

อัตราค่าลิขสิทธิ์การแพร่เสียงแพร่ภาพ
สถานีวิทยุ
- ใช้งานเพลง 51-100% ของช่วงเวลาออกอากาศ




- ใช้งานเพลง 1 - 50% ของช่วงเวลาออกอากาศ




- 7.50% ของรายได้ทั้งหมดก่อนหักค่าใช้จ่ายขั้นต่ำ 50,000 บาท/เดือน)

- 3.75% ของรายได้ทั้งหมดก่อนหักค่าใช้จ่ายขั้นต่ำ 25,000 บาท/เดือน
สถานีโทรทัศน์ภาคปกติ (ฟรีทีวี)
1. ช่องรายการทั่วไป



2. ช่องมิวสิควีดีโอ
ใช้งานเพลง 51 – 100%
ใช้งานเพลง 1 – 50%

0.4% ของรายได้ทั้งหมดก่อนหักค่าใช้จ่าย หรือ 10 ล้านบาท/ช่อง/ปี (โดยต้องชำระในอัตราที่มากกว่า)

3,000 บาท/เพลง/ครั้ง หรือ
20 ล้านบาท/ช่อง/ปี
10 ล้านบาท/ช่อง/ปี





ประเภทธุรกิจ
อัตราการจัดเก็บ
สถานีโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิก (เคเบิ้ลทีวี)


หรือ คิดรายช่อง
1. ช่องมิวสิควีดีโอ
ใช้งานเพลง 51 -100%
ใช้งานเพลง 1 - 50%

2. ช่องภาพยนตร์และช่องรายการทั่วไป
0.4% ของรายได้ทั้งหมดก่อนหักค่าใช้จ่าย หรือ 5 บาท/สมาชิก/เดือน (โดยต้องชำระในอัตราที่มากกว่า)

3,000 บาท/เพลง/ครั้ง หรือ
20 ล้านบาท/ช่อง/ปี
10 ล้านบาท/ช่อง/ปี

10 ล้านบาท/ช่อง/ปี
อัตราค่าลิขสิทธิ์ Mobile Business (เฉพาะสิทธิงานดนตรีกรรม)
- ค่าเผยแพร่ฯ Rintone, Ring Backtone
Mono/Polyphonic/True-tone

- ค่าทำซ้ำฯ Rintone, Ring Backtone
Mono/Polyphonic/True-tone (เฉพาะเพลงเกาหลี)

- ค่าทำซ้ำฯ เพื่อผลิตซีดี (เฉพาะเพลงเกาหลี)

- 6.25% ของรายได้ดาวน์โหลดเพลง
ขั้นต่ำ 200,000 บาท

- 9% ของรายได้ดาวน์โหลดเพลงขั้นต่ำ 400,000 บาท

- 5.4% ของ PPD (ราคาขายส่ง)
อัตราค่าทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ (เฉพาะสิทธิงานสิ่งบันทึกเสียง)
- ค่าทำซ้ำงานสิ่งบันทึกเสียง (สำหรับ supplier)



- ค่าทำซ้ำงานมิวสิควีดีโอและคาราโอเกะวีดีโอ (สำหรับ supplier)



- ค่าทำซ้ำงานสิ่งบันทึกเสียง


- ค่าทำซ้ำงานมิวสิควีดีโอและคาราโอเกะวีดีโอ

- ค่าทำซ้ำงานมิวสิควีดีโอและคาราโอเกะวีดีโอบนไมโครโฟน


- สื่อมอนิเตอร์

- ตู้เพลง/ตู้เกมส์

- 10 บาท/เพลง/เครื่อง/ปี
ขั้นต่ำ 200,000 บาท บวกกับ 10,000
ต่อเครื่องต่อปี

- 30 บาท/เพลง/เครื่อง/ปี
ขั้นต่ำ 400,000 บาท บวกกับ 30,000
ต่อเครื่องต่อปี

- 10 บาท/เพลง/เครื่อง/ปี
ขั้นต่ำ 10,000 ต่อเครื่องต่อปี

30 บาท/เพลง/เครื่อง

30 บาท/เพลง/ไมโครโฟน ขั้นต่ำ 3,000 บาท/ไมโครโฟน

5,000 บาท/จอภาพ/ปี

5,000 บาท/ตู้/ปี





วิธีการ/ขั้นตอนการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์

1. กิจการร่วมค้า เอ็มซีที-โฟโนไรทส์ จะส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปสำรวจสถานประกอบการและชี้แจงนโยบาย
การจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เผยแพร่ให้แก่ผู้ประกอบการทราบ
2. เมื่อผู้ประกอบการยอมรับเงื่อนไข กิจการร่วมค้า เอ็มซีที-โฟโนไรทส์ จะนัดวันให้เจ้าหน้าที่เข้าไปรับเงิน
หรือเช็คกับผู้ประกอบการ
3. ผู้ประกอบการสามารถชำระโดยผ่านธนาคารในชื่อบัญชี กิจการร่วมค้า เอ็มซีที-โฟโนไรทส์
บัญชีสะสมทรัพย์ เลขที่ 215-0-52605-7 ธนาคารกรุงเทพ สาขาถนนพระราม 9 หรือชำระเป็นเช็คขีดคร่อม
ในนามกิจการร่วมค้าเอ็มซีที – โฟโนไรทส์

สถานที่ติดต่อ เลขที่ 23/17-18 ซ.ศูนย์วิจัย ถ.พระราม 9 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง
กรุงเทพฯ 10310

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์. 0-2641-5211-3 โทรสาร. 0-2203-1009

ตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง www.ascap.com และ www.bmi.com




















2. บริษัท จัดเก็บลิขสิทธิ์ไทย จำกัด

งานที่จัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เผยแพร่ฯ - งานดนตรีกรรมและสิ่งบันทึกเสียงของนักแต่งเพลง
และค่ายเพลงที่เป็นสมาชิก จำนวน 17,645 เพลง

* อัตราการจัดเก็บค่าเผยแพร่งานลิขสิทธิ์เพลง

ประเภทธุรกิจที่ใช้งานลิขสิทธิ์
(ต่อหน่วย)
อัตราการจัดเก็บ
ต่อเดือน
(บาท)
ชำระขั้นต่ำ
3 เดือน
6 เดือน
ลด 10%
12 เดือน
ลด 15%
ตู้เพลง (Juke Box)
450
1,350
2,430
4,590
ตู้หยอดเหรียญคาราโอเกะ
450
1,350
2,430
4,590
บูธหยอดเหรียญคาราโอเกะ
600
1,800
3,240
6,120
ห้องโถงหรือห้องวีไอพี
700
2,100
3,780
7,140
ห้องจัดเลี้ยง,สโมสร ฯลฯ ที่มีการแสดงสด หรือ
ใช้งานดนตรีกรรมในรูปแบบมีดี้ฟายต่างๆ รวมถึงงานดนตรีกรรมผ่านสิ่งบันทึกเสียง (ไม่รวมถึงห้องคาราโอเกะ)
จำนวนห้อง 1-3 ห้อง 10,000 บาท/ปี
จำนวนห้อง 4-6 ห้อง 15,000 บาท/ปี
จำนวนห้อง 7-10 ห้อง 20,000 บาท/ปี
จำนวนห้อง 10 ห้องขึ้นไป 25,000 บาท/ปี
ร้านอาหาร, สวนอาหาร, ภัตตาคาร, ศูนย์อาหาร
คาเฟ่, Pub Pub & Restaurant, นวด & สปา,เลาจน์ ลานเบียร์, โรงเบียร์, โบว์ลิ่ง, คอฟฟี่ช็อป, ศูนย์ออกกำลังกาย, สวนสนุก ฯลฯ ที่มีการแสดงสดหรือใช้งานดนตรีกรรมในรูปแบบต่างๆ รวมถึงงานดนตรีกรรมผ่านสิ่งบันทึกเสียง
(ไม่รวมถึงห้องคาราโอเกะ)
จำนวนห้อง 1-50 ที่นั่ง 4,000 บาท/ปี
จำนวนห้อง 51-100 ที่นั่ง 5,000 บาท/ปี
จำนวนห้อง 100 ที่นั่งขึ้นไป 6,000 บาท/ปี
สถานที่จำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้า
สถานที่จำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์
เรียกเก็บต่อสาขา 3,600 บาท/ปี/สาขา
สถานประกอบการสายการบิน
จัดเก็บ 450 บาท ต่อเที่ยว
เงื่อนไข วิธีคิดตามจำนวนครั้งที่เครื่องขึ้นลงต่อปี
สถานประกอบการโรงแรม
จัดเก็บ 60 บาท ต่อห้องต่อปี
วิทยุกระจายเสียง
จัดเก็บจากรายการวิทยุในอัตรา 7.5 % จากรายได้
รวมค่าโฆษณาก่อนหักค่าใช้จ่ายทั้งปี



ห้างสรรพสินค้า
ที่มีการเผยแพร่ผ่านเสียงตามสาย โดยใช้งานดนตรีกรรมผ่านสิ่งบันทึกเสียงหรือแสดงสด
(ไม่รวมถึงห้องคาราโอเกะ)
พื้นที่น้อยกว่า 5,000 ตรม. จัดเก็บ 30,000 บาท ต่อปี
พื้นที่มากกว่า 5,001 ตรม. ขึ้นไป คิดเพิ่มตารางเมตรละ
2 บาท ต่อปี
มินิมาร์ท ร้านสะดวกซื้อ และตลาดสด ที่มีการ
เผยแพร่เสียงตามสาย โดยใช้งานดนตรีกรรมผ่านสิ่งบันทึกเสียงหรือแสดงสด
พื้นที่น้อยกว่า 100 ตรม. จัดเก็บ 3,000 บาท ต่อปี
พื้นที่มากกว่า 101 ตรม. ขึ้นไป คิดเพิ่มตารางเมตรละ 2 บาท ต่อปี
เคเบิ้ลทีวี ขนาดเล็ก (s)
ขนาดกลาง (M)
ขนาดใหญ่ (L)
สมาชิกน้อยกว่า 500 ราย จัดเก็บ 40,000 บาท/ปี
สมาชิกตั้งแต่ 501 - 2,000 ราย จัดเก็บ 50,000 บาท/ปี
สมาชิกตั้งแต่ 2,001 รายขึ้นไป จัดเก็บ 60,000 บาท/ปี

ประเภทสิทธิทำซ้ำ

ประเภทการใช้งาน
อัตราการจัดเก็บ
หมายเหตุ (ส่วนลด)
มีดีฟาย ผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์คาราโอเกะ
ฮาร์ดดิสก์ ต่อเครื่อง
ฮาร์ดดิสก์ ต่อระบบ จำนวน 2 – 5 ห้อง
ฮาร์ดดิสก์ ต่อระบบ จำนวน 6 - 10 ห้อง
ฮาร์ดดิสก์ ต่อระบบ จำนวน 11 ห้องขึ้นไป
4,000 บาท
4,500 บาท
8,000 บาท
12,000 บาท
20,000 บาท
***เฉพาะค่าทำซ้ำไม่รวมอัตราค่าเผยแพร่ในประเภทที่ใช้งาน
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี
ส่วนลด 15%***

อัตราพิเศษสำหรับชำระค่าทำซ้ำ + ค่าเผยแพร่ รายปี

รายละเอียดการทำซ้ำ
ค่าทำซ้ำ
ค่าเผยแพร่
ต่อปี (15%)
อัตราพิเศษ
ทำซ้ำมีดี้ฟาย คอมพิวเตอร์
4,000
7,140
10,500
ทำซ้ำฮาร์ดดิสท์ ต่อเครื่อง
4,500
11,000


คำจำกัดความ

ตู้เพลง JUKE BOX คือ ตู้เพลง ซึ่งประกอบการด้วยเครื่องเล่นซีดี และแผ่นซีดี หรือ
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่บันทึกงานเพลงใส่ในหน่วยบันทึกข้อมูล เครื่องขยายเสียง พร้อมลำโพง และอุปกรณ์รับการหยอดเหรียญ ในอัตราเพลงละ 2 - 5 บาท


ตู้หยอดเหรียญคาราโอเกะ คือ ตู้คาราโอเกะ ซึ่งประกอบด้วยเครื่องเล่นวีซีดี และแผ่น
วีซีดี – คาราโอเกะ จอมอนิเตอร์ (จอทีวี-จอคอมพิวเตอร์) เครื่องขยายเสียง พร้อมลำโพงและไมโครโฟน และ
อุปกรณ์รับการหยอดเหรียญ ในอัตราเพลงละ 5 – 10 บาท ซึ่งมีลักษณะการติดประกอบกัน อันจะแยกขาดออกจากกันมิได้ และให้หมายความรวมถึงตู้คาราโอเกะที่จะนำงานลิขสิทธิ์ออกมาเผยแพร่จากหน่วยบันทึกข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์

ข้อพิจารณา องค์ประกอบของตู้คาราโอเกะ ส่วนควบ อันเป็นสาระสำคัญของตู้คาราโอเกะ มีดังนี้

1. จอมอนิเตอร์ 1 จอ
2. อุปกรณ์รับการหยอดเหรียญ 1 ชุด

บูธหยอดเหรียญคาราโอเกะ คือ เครื่องคาราโอเกะ ซึ่งประกอบด้วยเครื่องเล่นวีซีดี และ
แผ่นวีซีดี-คาราโอเกะ จอมอนิเตอร์ (จอทีวี-จอคอมพิวเตอร์) เครื่องขยายเสียง พร้อมลำโพงและไมโครโฟน และ
อุปกรณ์รับการหยอดเหรียญ ในอัตราเพลงละ 5-10 บาท ซึ่งมีลักษณะของการติดประกอบกันอันจะแยกขาดจากกันมิได้ และให้หมายความรวมถึง บูธคาราโอเกะ ที่จะนำงานลิขสิทธิ์ออกมาเผยแพร่จากหน่วยบันทึกข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์
ภายใต้ความดังกล่าวในวรรคหนึ่ง บูธคาราโอเกะหยอดเหรียญต้องตั้งอยู่ภายในห้องมีลักษณะ
เป็นการส่วนตัว และตั้งให้บริการอยู่ภายในอาคารหรือสถานบริการ ห้างสรรพสินค้า หรือศูนย์การค้า

ห้องโถง หรือห้องวีไอพี คือ สถานบริการที่จัดให้มีเครื่องคาราโอเกะให้บริการ ซึ่งเครื่อง
คาราโอเกะอันจะประกอบด้วยเครื่องเล่นวีซีดี และแผ่นวีซีดี-คาราโอเกะหรือเครื่องคอมพิวเตอร์คาราโอเกะ หรือหน่วยบันทึกของเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่บันทึกงานลิขสิทธิ์ประเภทมีดี้ฟาย หรือวีซีดี-คาราโอเกะ และประกอบด้วยเครื่องขยายเสียง พร้อมลำโพงและไมโครโฟน
ภายใต้ความดังกล่าวในวรรคหนึ่ง กรณีห้องวีไอพี (Very Important Person Room)
หมายความรวมถึง ห้องที่ให้บริการที่มีลักษณะเป็นการส่วนตัว และสถานบริการดังกล่าว อาจจะเก็บค่าให้บริการดังกล่าวด้วยก็ได้

การแสดงสด ลานโล่ง หรือห้องโถงทั่วไป กล่าวคือ การใช้งานดนตรีกรรมเพื่อการแสดงสดต่อสาธารณชน ซึ่งอาจจะอยู่ภายในห้องโถงทั่วไป หรือลานโล่ง ซึ่งมีลักษณะการใช้งานเพื่อการพาณิชย์ หรือกิจกรรมที่มีการแสวงหาผลประโยชน์ หรือในสถานประกอบการ ได้แก่

1. ร้านอาหาร 7. โรงเบียร์
2. คาเฟ่ 8. สวนอาหาร
3. ผับ 9. งานแต่งงาน
4. เลาท์ 10. งานเลี้ยงตามโรงแรม,สโมสร,สมาคม
5. คอฟฟี่ช็อป
6. ลานเบียร์


งานดนตรีกรรมผ่านสิ่งบันทึกเสียง หมายความถึง ผู้ประกอบการที่นำงานอันมีลิขสิทธิ์ประเภทงานดนตรีกรรมไปเผยแพร่ต่อสาธารณชน ผ่านสิ่งบันทึกเสียง ประเภทเทปคลาสเซ็ต คอมแพ็กดิสก์
(ซีดี) ฯลฯ ที่มีเนื้อร้องทำนองเพลงที่ไม่อยู่ในรูปแบบคาราโอเกะ ในสถานประกอบการ ได้แก่

1. ร้านอาหาร (FAST FOOD) 8. ร้านกาแฟ
2. สวนอาหาร 9. ร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่
3. ศูนย์อาหาร (FOOD COURT) 10. สวนสนุก
4. ภัตตาคาร (RESTAURANT) 11. สนามไดร์ฟกอล์ฟ หรือสนามกอล์ฟ
5. ลานโบว์ลิ่ง 12. ศูนย์ออกกำลังกาย (FITNESS CENTER)
6. ร้านเบเกอร์รี่ 13. เรือสำราญ
7. ร้านไอศครีม

การใช้สิทธิเผยแพร่ต่อสาธารณชนกิจการวิทยุกระจายเสียง คือ การใช้งานดนตรีกรรมผ่านสิ่งบันทึกเสียงเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน โดยการส่ง การกระจายเสียง ข่าวสารสาธารณะ สาระบันเทิงใดๆ หรือการแพร่เสียงด้วยคลื่นความถี่ จากสถานีวิทยุนั้นไปยังเครื่องรับที่สามารถเปิดรับฟังการให้บริการนั้นๆ ได้ เพื่อให้บุคคลทั่วไปสามารถเปิดรับฟังได้โดยตรง

ภายใต้ความดังกล่าวในวรรคหนึ่ง โดยลักษณะผู้ให้ประกอบกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียง สถานีวิทยุโทรทัศน์ หรือสถานีวิทยุคมนาคม กิจการซึ่งให้บริการบริการรายการต่างๆ ไปยังเครื่องรับที่สามารถรับฟังการให้บริการ
นั้นๆ ได้ไม่ว่าจะส่งโดยผ่านระบบสาย ระบบคลื่นความถี่ คลื่นวิทยุ คลื่นเฮรตเซียน ระบบแสง ระบบแม่เหล็กไฟฟ้าอื่น หรือระบบอื่นระบบใดระบบหนึ่ง หรือหลายระบบรวมกัน ซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถเปิดรับฟังโดยเครื่องรับวิทยุกระจายเสียง ที่สามารถรับฟังการให้บริการนั้นได้

สถานที่จำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือสถานที่จำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ คือ การใช้งานดนตรีกรรมผ่านสิ่งบันทึกเสียง เทป หรือวัสดุโทรทัศน์ หรือโสตทัศนวัสดุ โดยการเผยแพร่ต่อสาธารณชน โดยลักษณะเป็นการเปิดสาธิต ตัวอย่าง วิธีการใช้งานของเครื่องและแสดงคุณภาพของเสียง หรือภาพ ซึ่งอาจจะตั้งให้บริการอยู่ภายในอาคารหรือสถานบริการห้างสรรพสินค้า หรือ ศูนย์การค้า หรือศูนย์จำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออื่นๆ

ห้างสรรพสินค้า คือ สถานที่จำหน่ายสินค้าที่มีความหลากหลาย ทั้งชนิดของสินค้า และรูปแบบ
การนำเสนอสินค้า โดยมีพื้นที่มากกว่า 1,000 ตารางเมตรขึ้นไป ซึ่งรวมไปถึง ไฮเปอร์มาร์เก็ต (Hypermarket)
ซุปเปอร์มาร์เก็ต (Supermarket) และ ชอปปิ้งมอลล์ (Shopping Mall)

ร้านสะดวกซื้อ/มินิมาร์ท คือ สถานที่จำหน่ายสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน
อยู่ในแหล่งชุมชนพื้นที่ขนาดเล็ก

ตลาดสด คือ เป็นสถานที่ขายของสด เน้นขายสินค้าบริโภค ไม่เน้นความสวยงามของสถานที่



เคเบิ้ลทีวี คือ ระบบการส่งโปรแกรมโทรทัศน์ ตามสายและ/หรือระบบอื่นไปยังสมาชิก ในลักษณะแบบบอกรับสมาชิก

วิธีการ / ขั้นตอนการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์

1. ผู้ประกอบการสามารถชำระเงินผ่านสถาบันการเงิน และรัฐวิสาหกิจชั้นนำในนามชื่อบัญชีบริษัท จัดเก็บ
ลิขสิทธิ์ไทย จำกัด ดังนี้
1) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาตลาดน้อย บัญชีกระแสรายวัน เลขที่บัญชี 154-3-08415-4
2) ธนาคารกรุงไทย จำกัด สาขาลาดพร้าว บัญชีกระแสรายวัน เลขที่บัญชี 011-6-04059-9
3) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด สาขาลาดพร้าว บัญชีกระแสรายวัน เลขที่บัญชี 047-3-02990-0
4) ธนาคาร ธ.ก.ส. จำกัด สาขาจตุจักร บัญชีกระแสรายวัน เลขที่บัญชี 058-5-00447-0
5) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (กรณีนี้ใช้กับใบแจ้งเตือน เท่านั้น)
6) ธนาคารออมสิน (กรณีนี้ใช้กับใบแจ้งเตือน เท่านั้น)
7) บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศ) สั่งจ่ายไปรษณีย์ปลายทาง จตุจักร เท่านั้น

2. เมื่อผู้ประกอบการชำระเงินผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารเรียบร้อยแล้ว ท่านจะได้รับเอกสารจากธนาคาร เรียกว่า
“ใบฝากเงิน/ใบโอนเงิน (ใบ เป-อิน/Pal-In)” เพื่อยืนยันการนำเข้าบัญชี

3. ให้ผู้ประกอบการนำใบฝากเงิน / ใบโอนเงิน จากธนาคาร บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน และทะเบียนการค้า (ถ้ามี) ไปถ่ายเอกสาร อย่างละ 1 ฉบับ

4. พร้อมกรอกรายละเอียดลงในที่ว่าง ในสำเนาใบโอนเงิน ดังนี้
1) ชื่อ - นามสกุล
2) ชื่อสถานประกอบการ
3) รายละเอียดที่อยู่ที่ต้องการให้ทางบริษัทฯ จัดส่งเอกสารไปให้ (ที่อยู่ดังกล่าวสามารถมีผู้รับเอกสาร
ลงทะเบียนที่ทางบริษัทฯ จะจัดส่งไปให้ได้)
4) เลขหมายโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้สะดวก
5) จำนวนตู้เพลง (JUKEBOX),ตู้หยอดเหรียญคาราโอเกะ,บูธหยอดเหรียญคาราโอเกะ,ห้องโถงหรือห้อง
วีไอพี,การแสดงสด ลานโล่ง หรือ ห้องโถงทั่วไป (ที่มีการแสดงสด หรือใช้งานดนตรีกรรมรูปแบบมีดี้ฟาย
ในระบบต่างๆ, สถานประกอบการโรงแรม,สายการบิน,งานดนตรีกรรมผ่านสิ่งบันทึกเสียง,วิทยุกระจายเสียง,
สถานที่จำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้า,สถานที่จำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์,การจัดนิทรรศการ/เทศกาล/
มหกรรม,การทำซ้ำงานโสตทัศนวัสดุ (วีซีดีคาราโอเกะ), การทำซ้ำงานดนตรีกรรมรูปแบบมีดี้ฟายผ่าน
โปรแกรมคอมพิวเตอร์คาราโอเกะ,ระบบซีเควสเซอร์,ระบบโปรแกรมมีดี้เพลย์เยอร์ และคีย์บอร์ดที่ใช้
ระบบมีดี้,ระบบคอมโพสเซอร์ที่ได้รับชำระค่าลิขสิทธิ์ เรียบร้อยแล้ว

5. นำสำเนาใบโอนเงิน สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาทะเบียนการค้า โทรสาร (แฟ็กซ์) มายังบริษัท จัดเก็บลิขสิทธิ์ไทย จำกัด หมายเลขโทรสาร 0-2938-8855 หรือ 0-2938-8402


6. โทรศัพท์มาที่ บริษัท จัดเก็บลิขสิทธิ์ไทย จำกัด หมายเลข 0-2938-8000 (ติดต่อฝ่ายการตลาด) เพื่อตรวจสอบว่าเจ้าหน้าที่ได้รับสำเนาเอกสารที่ท่านได้ส่งโทรสาร (แฟ็กซ์) มาที่บริษัทฯ ชัดเจนและครบถ้วน

7. สำหรับผู้ประกอบการที่ชำระเงินที่ผ่านที่ทำการไปรษณีย์ในรูปของธนาณัติสั่งจ่าย กรุณาระบุ “เพื่อรับเงิน
ณ ที่ทำการไปรษณีย์ จตุจักร และสั่งจ่ายในนาม บริษัท จัดเก็บลิขสิทธิ์ไทย จำกัด” พร้อมส่งธนาณัติดังกล่าว
สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาทะเบียนการค้า (ถ้ามี) กลับมาที่บริษัทฯ ตามที่อยู่ ดังนี้

บริษัท จัดเก็บลิขสิทธิ์ไทย จำกัด
203/18-20 ซอยลาดพร้าว 15
ถนนลาดพร้าว แขวงจอมพล เขตจตุจักร
กรุงเทพมหานคร 10900

8. หลังจากบริษัทฯ ได้รับเอกสารจากท่านครบถ้วนแล้ว บริษัทฯจะจัดส่งใบเสร็จรับเงินและสติ๊กเกอร์พร้อมเอกสาร
รับรองการใช้สิทธิเผยแพร่ต่อสาธารณชน,สิทธิทำซ้ำงานโสตทัศนวัสดุ (วีซีดีคาราโอเกะ),สิทธิทำซ้ำงานดนตรีกรรม
รูปแบบมีดี้ฟายทางไปรษณีย์ภายใน 1 สัปดาห์ (เพื่อความสะดวกของท่าน หากไม่ได้รับภายในที่กำหนดกรุณาติดต่อกลับมายัง
บริษัทฯ)

9. กรณีที่ผู้ประกอบการต้องการต่ออายุสัญญา (สติ๊กเกอร์) ให้นำใบแจ้งเตือน (Bill Payment) ที่ได้รับจาก
บริษัทฯ ไป ชำระเงินผ่านธนาคารกรุงเทพ,ธนาคารกรุงศรีอยุธยา,ธนาคารกรุงไทย,ธนาคารไทยพาณิชย์,ธนาคาร ธ.ก.ส., ธนาคาร ออมสิน หรือ จุดรับชำระที่ที่ทำการไปรษณีย์ (Pay at Post) โดยไม่ต้องโทรสาร (แฟ็กซ์) เอกสาร แต่หาก
การต่ออายุสัญญาไม่ตรงตามใบเตือนท่านต้องโทรสาร (แฟ็กซ์) รายละเอียดการเพิ่ม/ลด จำนวนตู้เพลง
(JUKEBOX),ตู้หยอดเหรียญคาราโอเกะ,บูธหยอดเหรียญคาราโอเกะ,ห้องโถง หรือ ห้องวีไอพี,การแสดงสด ลานโล่ง หรือห้องโถงทั่วไป (ที่มีการแสดงสด หรือใช้งานดนตรีกรรมรูปแบบมีดี้ฟายในระบบต่างๆ), สถานประกอบการโรงแรม,สายการบิน,งานดนตรีกรรมผ่านสิ่งบันทึกเสียง,วิทยุกระจายเสียง,สถานที่จำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้า,สถานที่จำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์,การจัดนิทรรศการ/เทศกาล/มหกรรม,การทำซ้ำงานโสตทัศนวัสดุ (วีซีดีคาราโอเกะ),การทำซ้ำ งานดนตรีกรรม รูปแบบมีดี้ฟายผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์คาราโอเกะ,ระบบซีเควสเซอร์,ระบบโปรแกรมมีดี้เพลย์เยอร์ และคีย์บอร์ดที่ใช้ในระบบมีดี้,ระบบคอมโพสเซอร์ ฯลฯ ของท่านกลับมาที่บริษัทฯ
ตามหมายเลขโทรสารข้างต้น (เพื่อความสะดวกของท่าน หากไม่ได้รับภายในที่กำหนดกรุณาติดต่อกลับมายังบริษัทฯ)

สถานที่ติดต่อ เลขที่ 203/18-20 ซ.ลาดพร้าว 15 ถ.ลาดพร้าว แขวงจอมพล เขตจัตุจักร
กรุงเทพฯ 10900

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์. 0-2938-8000 โทรสาร. 0-2938-8855,0-2938-8402





3. บริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค พับลิชชิ่ง อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด

งานที่จัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เผยแพร่ฯ - งานดนตรีกรรมและสิ่งบันทึกเสียงของนักแต่งเพลงในสังกัด
และบริษัทค่ายเพลงในเครือ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด
(มหาชน) รวมทั้งค่ายเพลงที่เป็นสมาชิก จำนวน 19,779 เพลง

1. อัตราการจัดเก็บค่าเผยแพร่งานลิขสิทธิ์เพลงคาราโอเกะ

ประเภทธุรกิจที่ใช้งานลิขสิทธิ์
(ต่อหน่วย)
อัตราการจัดเก็บ
หมายเหตุ
อัตราการ
จัดเก็บ(บาท)
3 เดือน
ชำระขั้นต่ำ
6 เดือน
ลด 5 %
12 เดือน
ลด 10 %
ตู้หยอดเหรียญคาราโอเกะ (Jukebox)
450/เดือน
1,350
2,565
4,860
ไม่มีส่วนลดจำนวนตู้
บูธคาราโอเกะ (Booth Karaoke)
600/เดือน
1,800
3,420
6,480
ไม่มีส่วนลด

ร้านคาราโอเกะ (control Room)
700/เดือน
2,100
3,000
7,560
มีส่วนลดจำนวนจอ¯
ร้านคอมพิวเตอร์คาราโอเกะ
(Midi File Karaoke)
600/เดือน
1,800
3,420
6,480
มีส่วนลดจำนวนจอ¯

¯ หมายเหตุ ส่วนลดจำนวนจอ 1 จอ ไม่มีส่วนลด, 2 – 5 จอ ลด 5%, 6 – 10 จอ ลด 20%,
11 – 20 จอ ลด 25%, 21 จอขึ้นไปลด 35%

2. อัตราการจัดเก็บค่าเผยแพร่งานลิขสิทธิ์เพลงออดิโอ (Audio)

ประเภท
เงื่อนไข
อัตราค่าจัดเก็บฯ
ระยะเวลา
หมายเหตุ
ธุรกิจโรงแรม (Hotel)
เรียกเก็บ 40 % ของจำนวนห้องทั้งหมด
80 บาทต่อห้อง
ต่อปี
ไม่รวมส่วนของ karaoke, pub, bar, coffee shop และร้านอาหาร





ประเภท
เงื่อนไข
อัตราค่าจัดเก็บฯ
ระยะเวลา
หมายเหตุ
ห้างสรรพสินค้าและซุปเปอร์มาร์เก็ต (Department Store and Supermaket)
- พื้นที่ตั้งแต่
1 - 5,000 ตรม.แรก
- พื้นที่ตั้งแต่ 5,001 ตรม.ขึ้นไป
25,000 บาท (เหมาจ่าย)

คิดเพิ่ม 2 บาท/ตรม.

ต่อปี
ทุกชั้นทุกแผนกยกเว้นแผนกเครื่องใช้ไฟฟ้า
และร้านค้าที่จดทะเบียนฯ คนละ
นิติบุคคล
สายการบิน (Airline)
นับจากการ Take Off
ในแต่ละครั้ง
600 บาท ต่อเที่ยว

ต่อปี
ดูจากตารางการบินในแต่ละปี
ศูนย์จำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องเสียง
(Electronic Store)
เรียกเก็บต่อสาขา
3,000 บาท/สาขา
ต่อปี
-
ตู้เพลงหยอดเหรียญ (Jukebox Audio)
เรียกเก็บต่อตู้
450 บาท

ต่อเดือน
ใช้อัตราจัดเก็บฯ และส่วนลดเดียวกับตู้เพลงคาราโอเกะ
ร้านอาหารที่มีสาขา และ/หรือไม่มีสาขา (Fast food/Food Court /Pub &
Restaurant)
- จำนวนที่นั่งไม่เกิน 80 ที่นั่งแรก
- จำนวนที่นั่ง ตั้งแต่ 81 ที่นั่งขึ้นไป
3,500 บาท (เหมาจ่าย)

20 บาท/ที่นั่ง

ต่อปี/สาขา
ร้านอาหารที่เปิดเพลง ผ่านตู้เพลงหยอดเหรียญ จะคิดในอัตราตู้เพลงหยอดเหรียญ
ศูนย์การขายและบริการ (Sale & Service Center)
เรียกเก็บตามจำนวนสาขา
3,500 บาท/สาขา
ต่อปี
-
การจัดงานนิทรรศการ
/เทศกาล (Exhibitions & Events)
- จัดงานตั้งแต่ 1-15 วัน
- จัดงานตั้งแต่ 16 วันขึ้นไป
3,000 บาท (เหมาจ่าย)

คิดเพิ่มวันละ 200 บาท/วัน
ต่อวัน/สถานที่
-
สถานโบว์ลิ่ง (bowling)
เรียกเก็บตามจำนวนราง (เลน)
740 บาท/ราง (เลน)
ต่อปี
-





3. อัตราค่าเผยแพร่ลิขสิทธิ์เพลงกิจการโทรทัศน์แบบตอบรับเป็นสมาชิก (Cable TV) ¯

รูปแบบ
ปริมาณการใช้เพลง/ช่อง/วัน
ราคา
A
ไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง
40 บาท
B
น้อยกว่า 12 ชั่วโมง
30 บาท

* หมายเหตุ ราคาดังกล่าวเป็นราคาต่อจำนวนสมาชิก 1 ราย/ช่องที่ออกอากาศ/เดือน
- อัตรานี้ยังไม่รวมส่วนลด
- การเผยแพร่ภาพและ/หรือเสียงอันมีลิขสิทธิ์ดังกล่าวเป็นการอนุญาตให้เผยแพร่เฉพาะ
สิ่งบันทึกเสียง โสตทัศนวัสดุ ภาพมิวสิควีดีโอ คาราโอเกะและ/หรือบันทึกการแสดงสด อันเป็นบทเพลง
ที่สังกัด จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เท่านั้น

4. อัตราค่าลิขสิทธิ์การทำซ้ำเพลง (Hard Disk)

4.1 ฮาร์ดดิสก์ คาราโอเกะ (Hard Disk Karaoke)
1) ประเภท Jukebox

แบบที่ 1 สำหรับลูกค้าที่จดสัญญาใหม่

ค่าลิขสิทธิ์ที่จัดเก็บ
6 เดือน
ส่วนลด
12 เดือน
ส่วนลด 10%
ค่าลิขสิทธิ์การทำซ้ำเพลง
3,200 บาท
ไม่มี
6,400 บาท
5,760 บาท

แบบที่ 2 สำหรับลูกค้าเก่าที่ชำระค่าแรกเข้าแล้ว

ค่าลิขสิทธิ์ที่จัดเก็บ
6 เดือน
ส่วนลด
12 เดือน
ส่วนลด 10%
ค่าลิขสิทธิ์การทำซ้ำเพลง
2,500 บาท
ไม่มี
5,000 บาท
4,500 บาท

2) ประเภท Booth Karaoke

แบบที่ 1 สำหรับลูกค้าที่จดสัญญาใหม่

ค่าลิขสิทธิ์ที่จัดเก็บ
6 เดือน
ส่วนลด
12 เดือน
ส่วนลด 10%
ค่าลิขสิทธิ์การทำซ้ำเพลง
5,000 บาท
ไม่มี
10,000 บาท
9,000 บาท



แบบที่ 2 สำหรับลูกค้าเก่าที่ชำระค่าแรกเข้าแล้ว

ค่าลิขสิทธิ์ที่จัดเก็บ
6 เดือน
ส่วนลด
12 เดือน
ส่วนลด 10%
ค่าลิขสิทธิ์การทำซ้ำเพลง
3,600 บาท
ไม่มี
7,200 บาท
6,480 บาท

หมายเหตุ ราคาดังกล่าวยังไม่รวมค่าเผยแพร่ ซึ่งขึ้นอยู่แต่ละประเภท

3) ประเภท Control Room

ประเภท
จำนวนจอ
(เหมา)
ราคาลิขสิทธิ์ (บาท)
หมายเหตุ
6 เดือน
12 เดือน
(ไม่มีส่วนลด)
ราคาปกติ
ส่วนลด
ราคาสุทธิ
Control Room
1 จอ
2,250
4,500
ไม่มี
4,500
ยังไม่รวม
ค่าลิขสิทธิ์
การเผยแพร่ฯ
จอละ 700 บาทต่อเดือน
2 – 5 จอ
5,000
10,000
10%
9,000
6 – 10 จอ
8,750
17,500
20%
14,000
คิดเพิ่มจอที่ 11 ขึ้นไปจอละ
750
1,500
20%
1,200


4.2 ฮาร์ดดิสก์ ออดิโอ (Hard Disk Audio) *3

รายละเอียดค่าลิขสิทธิ์
ราคาลิขสิทธิ์ (บาท)
1 ปี
1 เดือน
ค่าทำซ้ำ เครื่องละ
4,500
400

*3 หมายเหตุ - เศษที่เป็นวันให้คิดเป็น 1 เดือน
- อัตราดังกล่าวยังไม่รวมค่าเผยแพร่ฯ ซึ่งคิดตามประเภทของสถานประกอบการ



4.3 ฮาร์ดดิสก์ มีดี้ไฟล์คาราโอเกะ (Hard Disk Midi File Karaoke)*4

รายละเอียดค่าลิขสิทธิ์
ราคาลิขสิทธิ์ (บาท)
3 เดือน
6 เดือน
12 เดือน
ค่าทำซ้ำ เครื่องละ
900
1,800
3,600

*4 หมายเหตุ - อัตราดังกล่าวยังไม่รวมค่าเผยแพร่ฯ

5. อัตราค่าเผยแพร่ลิขสิทธิ์เพลงวิทยุกระจายเสียง

การจัดเก็บจะจัดเก็บจากรายการวิทยุในอัตรา 7.5 % จากรายได้รวมค่าโฆษณาก่อนหักค่าใช้จ่ายทั้งปี

หมายเหตุ มีส่วนลด (คิดสัดส่วนจากรายการวิทยุซึ่งใช้งานเพลงต่อปีของบริษัทค่ายเพลงในเครือ
บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด(มหาชน) รวมทั้งค่ายเพลงที่เป็นสมาชิก)

6. ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ (หนังสือเพลงและ/หรือสื่อสิ่งพิมพ์)

จัดเก็บในอัตราเพลงละ 150 บาท ต่อปก (ชื่อหนังสือ) ต่อการจัดพิมพ์หนึ่งครั้ง

7. ราคาผลิตภัณฑ์ Karaoke

1. GMM Grammy Midi Karaoke ชุด Star up 5,000 เพลง (ใช้กับคอมพิวเตอร์) ชุดละ 6,900 บาท
2. GMM Grammy Midi Karaoke (Monthly Update) 100 เพลง (ใช้กับคอมพิวเตอร์) แผ่นละ 300 บาท
3. VCD Karaoke (Commercial Use) สำหรับผู้ประกอบธุรกิจ (เฉพาะปี 2545 – 2546) แผ่นละ 25 บาท
4. VCD Karaoke ที่มีเครื่องหมาย Karaoke Commercial Use ราคาปกแผ่นละ 155 บาท เป็นต้นไป

วิธีการ/ขั้นตอนการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์

1. บริษัทฯ จะมีพนักงานจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ฯ ในแต่ละจังหวัด โดยมีบัตรประจำตัวที่มีทั้งชื่อและรูปถ่าย
ของพนักงาน โดยผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบได้ที่บริษัทฯ โดยตรง
2. ผู้ประกอบการสามารถติดต่อกับตัวแทนโดยสามารถทำสัญญา และชำระค่าลิขสิทธิ์ได้กับตัวแทน
โดยตรงเมื่อชำระค่าลิขสิทธิ์แล้ว จะออกใบอนุญาต (สติ๊กเกอร์) ให้แก่ผู้ประกอบการ
3. บริษัทฯ จะจัดส่งใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้ประกอบการทางไปรษณีย์ในภายหลังสอบถามข้อมูลได้ที่

สถานที่ติดต่อ เลขที่ 50 ถ.สุขุมวิท 21 (อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์. 0-2669-9000 ,0-2669-8383-5 โทรสาร. 0-2669-8374

ตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง www.gmm-mpi.com

4. บริษัท สหพันธ์ลิขสิทธิ์เพลงไทย จำกัด

งานที่จัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เผยแพร่ฯ - งานดนตรีกรรมและสิ่งบันทึกเสียงของเจ้าของลิขสิทธิ์
จำนวน 14,895 เพลง

* อัตราการจัดเก็บค่าเผยแพร่งานลิขสิทธิ์เพลง


ประเภทธุรกิจที่ใช้งานลิขสิทธิ์
(ต่อหน่วย)
อัตราการจัดเก็บ
ต่อเดือน(บาท)
เหมาจ่าย
3 เดือน
เหมาจ่าย
6 เดือน
เหมาจ่าย 12 เดือน
ร้านอาหาร/โรงแรม/สถานประกอบการบันเทิง
ทุกประเภท/คอมพิวเตอร์คาราโอเกะ
(ต่อจอ/เครื่อง/ห้อง)
350
1,000
1,900
3,600
ร้านอาหาร/โรงแรม/สถานประกอบการบันเทิง
ทุกประเภท/วีซีดีคาราโอเกะ(ต่อจอ/เครื่อง/ห้อง)
350
1,000
1,900
3,600
ร้านอาหาร/โรงแรม/สถานประกอบการบันเทิง
ทุกประเภท/ตู้หยอดเหรียญคาราโอเกะ (ต่อจอ/ตู้/ห้อง)
200
570
1,080
2,040
ร้านอาหาร/โรงแรม/สถานประกอบการบันเทิง
ทุกประเภท/ซีแควนเซอร์(ต่อจอ/เครื่อง/ห้อง)
350
1,000
1,900
3,600
ร้านอาหาร/โรงแรม/สถานประกอบการบันเทิง
ทุกประเภท/ใช้กับเครื่องเล่นอื่น เช่น เทป,ซีดี
(ต่อเครื่อง/ห้อง)
350
1,000
1,900
3,600

วิธีการ/ขั้นตอนการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์

1. ชำระค่าลิขสิทธิ์ได้ที่บริษัทฯ โดยบริษัทจะออกใบอนุญาต (สติ๊กเกอร์) ให้แก่ผู้ประกอบการ
2. ชำระโดยผ่านธนาคารใน ชื่อบัญชี บริษัท สหพันธ์ลิขสิทธิ์เพลงไทย จำกัด หมายเลข 326-2-23179-7
บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกสิกรไทย สาขาตลาดหัวอิฐ พร้อมนำใบโอนเงิน รายละเอียด ชื่อที่ตั้งสถานประกอบการ (ระบุจังหวัดให้ชัดเจน) และส่งไปที่โทรสารหมายเลข 0-2592-3559 แล้วบริษัทฯจะดำเนินการส่งใบเสร็จรับเงินพร้อมป้ายแสดงการชำระค่าลิขสิทธิ์ไปให้ทางไปรษณีย์ หรือส่งธนาณัติสั่งจ่ายในชื่อบริษัทโดยตรง
3. ชำระผ่านตัวแทนจัดเก็บฯ ที่บริษัทแต่งตั้ง (มีหนังสือแต่งตั้งโดยตรงจากบริษัท) สำหรับบางจังหวัดที่มีตัวแทนจัดเก็บ บริษัทฯ จะมีหนังสือแจ้งให้ผู้ประกอบการทราบเพื่อผู้ประกอบการสามารถติดต่อกับตัวแทนได้สะดวก
4. เมื่อผู้ประกอบการได้ชำระค่าลิขสิทธิ์แล้วจะได้รับใบอนุญาต สติ๊กเกอร์ โดยผู้ประกอบการต้องติดแสดงไว้
ในที่เปิดเผยซึ่งสามารถมองเห็นได้ชัดเจน บริษัทฯ จะระบุชื่อจังหวัดไว้ในป้ายแสดงการชำระค่าลิขสิทธิ์(สติ๊กเกอร์) ท่านสามารถนำสติ๊กเกอร์ไปติดได้เฉพาะสถานประกอบการที่ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดที่ระบุเท่านั้น



สำนักงานใหญ่ เลขที่ 99/17 หมู่บ้านรัตวรรณ 2 หมู่ที่ 5 ต.ลาดสวาย อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี 80000

สำนักงานตัวแทนจัดเก็บ 111-8-9 (อาคารหนึ่งคอนโดมิเนียม) หมู่ 8 ถ.รัตนาธิเบศร์ ต.บางกระสอ
อ.เมือง จ.นนทบุรี

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์. 0-2592-3559 โทรสาร. 0-2592-3559
























5. บริษัท ลิขสิทธิ์เพลง จำกัด

งานที่จัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เผยแพร่ฯ - งานดนตรีกรรมและสิ่งบันทึกเสียงของนักแต่งเพลง
และค่ายเพลงที่เป็นสมาชิก จำนวน 3,152 เพลง
(1. บริษัท ชัวร์ออดิโอ จำกัด 2. บริษัท ท็อปไลน์มิวสิค จำกัด
3. บริษัท นพพร ซิลเวอร์ โกลด์ จำกัด)

* อัตราการจัดเก็บค่าเผยแพร่งานลิขสิทธิ์เพลง

1. อัตราค่าเผยแพร่ลิขสิทธิ์เพลงคาราโอเกะ (Karaoke)

ประเภทธุรกิจ
ที่ใช้งานลิขสิทธิ์
อัตราที่แจ้ง
ต่อกกร.
อัตราการจัดเก็บจริง
อัตรา
ค่าจัดเก็บ
3 เดือน
6 เดือน
(ลด 5%)
1 ปี
(ลด 10%)
หมายเหตุ
ตู้หยอดเหรียญคาราโอเกะ (บาท/จอ/เดือน)
490
350
1,050
1,995
3,780
-
บูธหยอดเหรียญ (บาท/จอ/เดือน)
490
350
1,050
1,995
3,780
-
ห้องคาราโอเกะ (บาท/จอ/เดือน)
(Control Room)
600
-
1,800
3,420
6,480
ส่วนลด 7 ห้อง
ลด 40%
ห้องโถงในภัตตาคาร/ร้านอาหารที่มี
การร้องคาราโอเกะ (บาท/เครื่อง/ปี)
5,000
5,000
-

2. อัตราค่าเผยแพร่ลิขสิทธิ์เพลงออดิโอ (ที่ไม่ใช่กิจการคาราโอเกะ)

ประเภทธุรกิจ
ที่ใช้งานลิขสิทธิ์
อัตราที่แจ้ง
ต่อกกร.
อัตราการจัดเก็บจริง
อัตรา
ค่าจัดเก็บ
3 เดือน
6 เดือน
(ลด 5%)
1 ปี
(ลด 10%)
หมายเหตุ
ตู้เพลง (JUKE BOX) (บาท/จอ/เดือน)
450
-
600
1,140
2,160
-
ภัตตาคาร/ร้านอาหาร/สวนอาหาร ฯลฯ (บาท/ปี)
3,000
3,000
-
สถานประกอบการโรงแรม
(บาท/ห้อง/ปี)
60
60
เรียกเก็บ 40% ของจำนวนห้องทั้งหมด
สถานประกอบการสายการบิน (บาท/เที่ยว)
450
450
คิดตามจำนวนครั้งที่ขึ้นลง



3. อัตราจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ทำซ้ำ VCD ลงใน HARD DISK KARAOKE

ประเภทธุรกิจ
ที่ใช้งานลิขสิทธิ์
จำนวน
ราคา
หมายเหตุ
ตู้หยอดเหรียญ
จำนวนตู้ 1 ตู้
4,800 บาท/ตู้/ปี
-
ห้องคาราโอเกะ
CONTROL ROOM
1. จำนวนจอ 1 จอ
4,800 บาท/เครื่อง/ปี
-
2. จำนวนจอ 2 – 5 จอ
6,400 บาท/ปี
-
3. จำนวนจอ 6 – 10 จอ
10,800 บาท/ปี
-
4. จำนวนจอตั้งแต่จอที่ 11 ขึ้นไป
1,080 บาท/จอ/ปี
-

4. อัตราจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ทำซ้ำงานดนตรีกรรมรูปแบบมิดี้ฟาย

ประเภทธุรกิจที่ใช้งานลิขสิทธิ์
เงื่อนไข
อัตราจัดเก็บ
ระยะเวลา
หมายเหตุ
1. มิดี้ฟาย ผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์คาราโอเกะ
เรียกเก็บ
ต่อเครื่อง
3,500
บาท/เครื่อง
ต่อปี
-
2. มิดี้ฟาย ผ่านระบบซีเควนเซอร์
3. มิดี้ฟาย ผ่านระบบโปรแกรมมิดี้ เพลย์เยอร์
และคียร์บอร์ดที่ใช้ระบบมิดี้
4. มิดี้ฟาย ผ่านระบบคอมโพสเซอร์
5. ระบบ MIDI DISK (MD)

เงื่อนไขในการจัดเก็บค่าตอบแทน มีดังนี้

1. ผู้ประกอบการจะต้องยื่นขออนุญาตใช้สิทธิในการเผยแพร่งานลิขสิทธิ์เพลงเพื่อการค้า ในงานดนตรีกรรม สิ่งบันทึกเสียง และโสตทัศนวัสดุ ก่อนนำงานอันมีลิขสิทธิ์ ซึ่งบริษัทฯ ได้รับมอบหมายให้ดูแลการจัดเก็บค่าตอบแทนไปใช้เผยแพร่ในสถานประกอบการของผู้ประกอบการทุกครั้ง
2. ผู้ประกอบการที่ประสงค์จะขออนุญาตใช้สิทธิ จะต้องชำระค่าตอบแทนให้กับบริษัทฯ เป็นรายเดือน หรือรายปี ตามอัตราค่าตอบแทนที่บริษัทฯ ได้กำหนดไว้ตามประเภทของการใช้งาน โดยในประเภทที่จะต้อง ทำการชำระค่าตอบแทนเป็นรายเดือน ผู้ประกอบการต้องชำระค่าตอบแทนขั้นต่ำล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือน ชำระล่วงหน้า 6 เดือน (ได้ส่วนลดพิเศษ 5%) และชำระล่วงหน้า 12 เดือน (ได้รับส่วนลดพิเศษ 10%)
3. ผู้ประกอบการจะต้องใช้ผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องมีลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่งาน
4. ผู้ประกอบการจะต้องติดหลักฐานการได้รับอนุญาต (สติ๊กเกอร์) ไว้บนอุปกรณ์การใช้งาน หรือบริเวณสถานประกอบการให้เห็นชัดเจน

วิธีการ / ขั้นตอนการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์

ผู้ประกอบการสามารถติดต่อชำระค่าตอบแทนการใช้สิทธิในการเผยแพร่งานลิขสิทธิ์เพลงได้ 3 วิธี ดังนี้

(1) ชำระค่าลิขสิทธิ์โดยการโอนเงินผ่านธนาคารในนามบริษัท ลิขสิทธิ์เพลง จำกัด

1. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาลาดพร้าว ซอย 99 บัญชีกระแสรายวันเลขที่ 181-3-09823-1
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาโชคชัย 4 บัญชีกระแสรายวันเลขที่ 230-3-02544-5

2. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด สาขาลาดพร้าว ซอย 99 บัญชีกระแสรายวันเลขที่ 100-1-04956-5
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด สาขาย่อยโชคชัย 4 บัญชีกระแสรายวันเลขที่ 721-1-01660-9

เมื่อผู้ประกอบการโอนเงินผ่านธนาคารเข้าบัญชีบริษัทฯข้างต้นแล้วนั้น ให้ผู้ประกอบการแฟ็กซ์สำเนา
ใบโอนเงิน สำเนาบัตรประชาชน/ทะเบียนบ้านของผู้ประกอบการหรือหลักฐานการเป็นนิติบุคคล ทะเบียนการค้า รวมทั้งรายละเอียดประเภทของการใช้งาน จำนวนตู้เพลง/บูธ/จอ/ห้องฯลฯ มาที่บริษัทฯ เพื่อลงทะเบียนสมาชิก
และบริษัทฯจะได้จัดส่งหลักฐานใบเสร็จรับเงินและหลักฐานการได้รับอนุญาต (สติ๊กเกอร์) เพื่อให้ผู้ประกอบการ
ติดแสดงที่ตู้เพลง/บูธ/จอ/ห้อง ในสถานประกอบการต่อไป

(2) ชำระค่าลิขสิทธิ์ผ่านตัวแทน จัดเก็บของบริษัทฯ ทั่วประเทศ

ผู้ประกอบการสามารถชำระค่าตอบแทนการจัดเก็บของบริษัทฯ โดยบริษัทฯ ตัวแทนจะต้องยื่นแสดง
บัตรประจำตัวและใบอนุญาตการเป็นตัวแทนการจัดเก็บของบริษัทฯ ให้กับผู้ประกอบการทำการตรวจสอบก่อน
ทุกครั้ง เมื่อผู้ประกอบการได้รับคำแนะนำจากตัวแทนในการสมัครสมาชิกแล้ว ผู้ประกอบการจะต้องกรอก
รายละเอียดและลงนามในใบสมัครของบริษัทฯ พร้อมแนบสำเนาเอกสาร ดังนี้
1.1 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
1.2 สำเนาทะเบียนบ้าน
1.3 หลักฐานการเป็นนิติบุคคล ทะเบียนการค้า และอื่น ๆ

เมื่อชำระค่าตอบแทนผ่านตัวแทนการจัดเก็บตามประเภทและจำนวนที่ผู้ประกอบการประสงค์ใช้งานแล้ว
ผู้ประกอบการจะได้รับสำเนาใบสมัครสมาชิก ใบรับเงินชั่วคราว จากตัวแทนจัดเก็บเพื่อใช้เป็นหลักฐานชั่วคราว ในการได้รับอนุญาต ซึ่งเมื่อบริษัทฯ ได้รับใบสมัครและรับชำระเงินเรียบร้อยแล้ว บริษัทฯ จะทำการจัดส่งหลักฐาน
การอนุญาต (สติ๊กเกอร์) ฉบับจริงให้กับผู้ประกอบการภายใน 7 วันทำการหลังจากได้รับข้อมูลการสมัครและการขออนุญาตจากตัวแทนจัดเก็บถูกต้องครบถ้วนเรียบร้อย เพื่อให้ผู้ประกอบการติดแสดงไว้ที่ตู้เพลง/บูธ/จอ/ห้อง ในสถานประกอบการต่อไป

(3) ชำระค่าลิขสิทธิ์โดยตรงที่ บริษัท ลิขสิทธิ์เพลง จำกัด เลขที่ 30/25 ( อาคารไดมอนด์ ห้อง 103-104
ซ.โอษธิศ 3 ถ.โชคชัย 4 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230 ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องนำหลักฐาน
บัตรประจำตัวประชาชน/สำเนาทะเบียนบ้าน/หลักฐานการเป็นนิติบุคคล ทะเบียนการค้าและอื่นๆ โดยมาเขียน
ใบสมัครสมาชิก ณ ที่ทำการของบริษัทฯ

สถานที่ติดต่อ เลขที่ 30/25 ( อาคารไดมอนด์ ห้อง 103-104) ซ.โอษธิศ 3 ถ.โชคชัย 4 แขวงลาดพร้าว
เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์. 0-2933-4202-4 โทรสาร. 0-2933-4201

6. บริษัท เสียงสยามแผ่นเสียง – เทป จำกัด

งานที่จัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เผยแพร่ฯ - งานดนตรีกรรมและสิ่งบันทึกเสียง จำนวน 5,083 เพลง

* อัตราการจัดเก็บค่าเผยแพร่งานลิขสิทธิ์เพลง

ประเภทธุรกิจ
อัตราการจัดเก็บ
ตู้หยอดเหรียญ
250 บาท / ตู้ / เดือน
บูธหยอดเหรียญ
250 บาท / ตู้ / เดือน
ห้องคาราโอเกะ
380 บาท / ห้อง / เดือน
ภัตตาคาร / ร้านอาหาร
เหมาจ่าย 6 เดือน 2,500 บาท
เหมาจ่าย 12 เดือน 4,000 บาท

- ประเภทธุรกิจที่ใช้งานลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่ คำร้อง ทำนองเพลง และ หรือมิวสิควิดีโอ ที่ไม่ใช่ ธุรกิจประเภทคาราโอเกะ (audio)

ประเภทธุรกิจ
อัตราการจัดเก็บ
ตู้เพลง
200 บาท ต่อตู้ / เดือน
ภัตตาคาร
เหมาจ่าย 6 เดือน 1,500 บาท
เหมาจ่าย 12 เดือน 2,500 บาท

วิธีการ / ขั้นตอนการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์

1. บริษัท เสียงสยามแผ่นเสียง-เทป จำกัด จะส่งเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ เข้าไปชี้แจงนโยบายการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์
เผยแพร่ให้แก่ผู้ประกอบการทราบ
2. โอนเงินผ่านธนาคารในนามบัญชี บริษัท เสียงสยามแผ่นเสียง-เทป จำกัด
- ธนาคารกรุงเทพ สาขาสามยอด บัญชีสะสมทรัพย์ เลขที่ 150-0-670698

หมายเหตุ ผู้ประกอบการจะต้องกรอกแบบฟอร์ม การขอใช้สิทธิในการเผยแพร่ก่อนโอนเงิน

สถานที่ติดต่อ เลขที่ 233-235 ถ.เจริญกรุง แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
กรุงเทพฯ 10100

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์. 0-2221-8727, 0-2221-0264, 02-221-0275
0-2226-4626, 0-2226-4628 โทรสาร. 0-2226-4627


7. บริษัท ลิขสิทธิ์เซ็นเตอร์ จำกัด

งานที่จัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เผยแพร่ฯ - งานดนตรีกรรมและสิ่งบันทึกเสียงของนักแต่งเพลง
และค่ายเพลงที่เป็นสมาชิก จำนวน 11,094 เพลง

* อัตราการจัดเก็บค่าเผยแพร่งานลิขสิทธิ์เพลง


1. อัตราการจัดเก็บค่าเผยแพร่งานลิขสิทธิ์เพลง
1.1 ประเภทธุรกิจคาราโอเกะ (KARAOKE) ที่ใช้งานดนตรีกรรม, โสตทัศนวัสดุ, มิดี้ไฟล์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ระบบต่างๆ
ประเภทธุรกิจที่ใช้งานลิขสิทธิ์
อัตราการจัดเก็บ
ราคาเต็ม
(แจ้งต่อ กกร.)
ลดพิเศษ
ต่อเดือน (บาท)
ชำระขั้นต่ำ
3 เดือน (บาท)
6 เดือน (บาท)
12 เดือน (บาท)
ลด 10%
ตู้เพลง[ JUKEBOX ] /จอ/เดือน
490
350
1,050
2,100
3,780
ตู้/บูธหยอดเหรียญ
คาราโอเกะ /จอ/เดือน
490
350
1,050
2,100
3,780
ห้อง V.I.P. /ห้องโถง/
คอนโทรลรูม /จอ/เดือน
600
600
1,800
3,420
6,480
เคเบิ้ลทีวี
(ต่อหนึ่งสมาชิก)
20
10
30
60
108
สโมสร/ภัตตาคาร/ร้านอาหาร/ห้องจัดเลี้ยงที่มีการแสดงดนตรีสดใช้งานดนตรีกรรม
1 – 5 ห้อง 5,000 บาท
6 ห้องขึ้นไป 9,000 บาท
ต่อ 1 ปี
ใช้งานดนตรีกรรม (คำร้อง/ทำนอง) ในรูปแบบมิดี้-ไฟล์ระบบต่างๆ
งานสิ่งบันทึกเสียง, โสตทัศนวัสดุอื่น ๆ (ไม่รวมห้องคาราโอเกะ)

1.2 ประเภทเผยแพร่ลิขสิทธิ์เพลงออดิโอ (AUDIO) ที่ใช้สิ่งบันทึกเสียง, งานโสตทัศนวัสดุทุกชนิด (ที่ไม่ใช่
ธุรคาราโอเกะ ) ต่อ/ปี

ประเภท
เงื่อนไขเรียกเก็บ
อัตราจัดเก็บ
ศูนย์จำหน่ายเครื่องเสียง,
เครื่องใช้ไฟฟ้า(ELECTRONIC STORE)
ต่อสาขา
1,000 บาท
ธุรกิจโรงแรม
ต่อห้อง (50% ของห้องทั้งหมด)
50 บาท
ธุรกิจสายการบิน
450 ต่อเที่ยว
450 ต่อเที่ยว


2. อัตราการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ทำซ้ำ/ดัดแปลง ต่อ 1 ปี ฟรีไม่มีค่าแรกเข้ามีเพลงใหม่ให้ตลอดปี

การทำซ้ำดัดแปลง – งานดนตรีกรรม, สิ่งบันทึกเสียง, โสตทัศนวัสดุ, มิดี้ ไฟล์ ระบบต่างๆ

ประเภทการใช้งาน
จำนวนห้อง
อัตรา (บาท)
หมายเหตุ
มิดี้ – ไฟล์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์
1 เครื่อง 1 ห้อง
3,900
รวมถึงเก็บอัด CD MP3, MP 4
CD ROM ลงในฮาร์ดดิสถ์คอมพิวเตอร์เพื่อเปิดฟังให้บริการ
โสตทัศนวัสดุเก็บอัดในฮาร์ดดิสถ์
1 เครื่อง 1 ห้อง
3,900
ฮาร์ดดิสถ์ระบบ
LAN SERVER
2 – 5 ห้อง
5,900
6 – 10 ห้อง
7,800
11 – 15 ห้อง
9,800
หากมีจำนวนมากกว่า 15 ห้อง ชำระเพิ่มห้องละ 600 บาท ต่อปี
ผู้ประกอบการ : ใช้ระบบ 1 เครื่องต่อ 1 ห้อง เรียกเก็บตามจำนวนเครื่อง มากกว่า 10 เครื่องลด 40%
อัตราการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ทำซ้ำ/ดัดแปลง ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม

วิธีการ/ ขั้นตอนการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์

ผู้ประกอบการสามารถติดต่อชำระค่าตอบแทนการใช้สิทธิในการเผยแพร่งานลิขสิทธิ์เพลงได้ 4 วิธี ดังนี้

1. การชำระค่าลิขสิทธิ์โดยตรงที่บริษัท ลิขสิทธิ์ เซ็นเตอร์ จำกัด

1.1 ผู้ประกอบการที่มีความประสงค์จะชำระค่าลิขสิทธิ์ท่านสามารถติดต่อชำระได้ที่ บริษัท ลิขสิทธิ์
เซ็นเตอร์ จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 242/21 ซอยลาดพร้าว 112 ถนนลาดพร้าว แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร 10310 โทรศัพท์ 0-2935-3571-4 โทรสาร 0-2935-3575
1.2 เมื่อท่านได้ชำระค่าลิขสิทธิ์เรียบร้อยแล้ว จะได้รับสติ๊กเกอร์พร้อมใบเสร็จรับเงินทันที

2. การชำระค่าลิขสิทธิ์โดยผ่านสถาบันการเงินและบริษัทฯ ดังต่อไปนี้

2.1 ชำระค่าลิขสิทธิ์โดยผ่านธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สาขาย่อยอ่อนนุช 39 ประเภท
ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “บริษัท ลิขสิทธิ์ เซ็นเตอร์ จำกัด” เลขที่บัญชี 746-2-79296-1

2.2 บริษัท ภิญโญทวีแจ่มทรัพย์ จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 15 ซอยอ่อนนุช 46 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250 โทรศัพท์ 0-2321-2996 โทรสาร 02-322-5676 โดยชำระผ่าน ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) สาขาอ่อนนุช ประเภทออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “นางสาวอรวรรณ ทวีแจ่มทรัพย์” เลขที่บัญชี
062-1-33425-1

2.3 บริษัท ไท มิวสิค โปรโมชั่น จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 242/22 ซอยลาดพร้าว 112 ถนนลาดพร้าว
แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร 10310 โทรศัพท์ 0-2935-3571-2 โทรสาร 0-2935-3570
โดยชำระผ่าน ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาถนนพระราม 9 ประเภทสะสมทรัพย์ ชื่อบัญชี “บริษัท
ไท มิวสิค โปรโมชั่น จำกัด” เลขที่บัญชี 215-0-53039-8





2.4 เมื่อผู้ประกอบการโอนเงินผ่านธนาคารหรือเคาน์เตอร์ของธนาคารเรียบร้อยแล้ว ท่านจะได้ใบนำฝากจากธนาคาร (PAY-IN) ให้ถ่ายเอกสารการฝากเงินพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน/ทะเบียนพาณิชย์หรือหนังสือรับรองนิติบุคคล (ถ้ามี) กรอกรายละเอียดดังนี้
Ø ชื่อ นามสกุล ผู้ขออนุญาตใช้สิทธิ์ หรือในกรณีนิติบุคคลให้ระบุชื่อนิติบุคคลให้ชัดเจน
Ø ชื่อสถานประกอบการ พร้อมเลขที่สถานประกอบการให้ละเอียดที่สุด เพื่อบริษัทฯ จัดส่งเอกสาร
และติดต่อกับท่านได้สะดวก
Ø หมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อผู้ประกอบการได้สะดวก

2.5 เมื่อท่านดำเนินการตามรายละเอียดข้อ 2 เสร็จเรียบร้อยแล้วต้องส่งสำเนาใบนำฝากพร้อมเอกสารที่
เกี่ยวข้อง ชื่อ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์ หรือสำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล (ถ้ามี) มาที่เบอร์โทรสาร 02-935-3570, 0-2935-3575 เมื่อท่านดำเนินการครบถ้วนแล้วบริษัทฯ จะดำเนินการจัดส่งเอกสารการอนุญาตให้ใช้สิทธิ์แก่ท่านภายใน 7 วันทำการ

3. การชำระค่าลิขสิทธิ์ผ่านตัวแทนจัดเก็บทั่วประเทศ

ผู้ประกอบการสามารถชำระค่าลิขสิทธิ์ผ่านตัวแทนจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ ซึ่งบริษัท ลิขสิทธิ์ เซ็นเตอร์ จำกัด ได้แต่งตั้งให้ดำเนินการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการโดยท่านสามารถตรวจสอบ
การเป็นตัวแทนได้จากหนังสือคู่มือจัดเก็บฯ และที่เบอร์โทรศัพท์ 0-2935-3571-4 เมื่อท่านได้ชำระค่าลิขสิทธิ์
กับตัวแทนแล้วจะได้รับสติ๊กเกอร์พร้อมใบส่งของชั่วคราวด้วยโดยเอกสารจะต้องครบถ้วน จึงจะถือว่าท่านได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง

4. การชำระค่าลิขสิทธิ์ทางไปรษณีย์ธนาณัติ

ผู้ประกอบการสามารถชำระค่าลิขสิทธิ์ผ่านบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด สั่งจ่ายในนาม “บริษัท ลิขสิทธิ์ เซ็นเตอร์ จำกัด” ซึ่งท่านต้องส่งธนาณัติจ่าหน้าซองเพื่อส่งมายังบริษัทฯ และหลังจากได้ติดต่อขอรับเงินจากบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เป็นที่เรียบร้อยแล้วจะดำเนินการจัดส่งสติ๊กเกอร์ ใบเสร็จรับเงินและเอกสารอื่น ๆ ให้แก่ท่านภายใน 7 วัน

I สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ

เมื่อท่านชำระค่าลิขสิทธิ์ให้แก่ บริษัท ลิขสิทธิ์ เซ็นเตอร์ จำกัด จะได้รับสติ๊กเกอร์แสดงสิทธิ์พร้อมหนังสือคู่มือการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์และในกรณีที่ท่านสมัครสมาชิกราย 1 ปี ท่านจะได้รับ วีซีดี (VCD) คาราโอเกะ 12 ชุด มูลค่ารวม 1,800 บาท ( สิทธิพิเศษนี้จะได้รับจนกว่าสินค้าจะหมด )

สถานที่ติดต่อ เลขที่ 242/21 ซ.ลาดพร้าว 112 ถ.ลาดพร้าว แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง
กรุงเทพฯ 10310

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์. 0-2935-3573-4 โทรสาร. 0-2935-3575


8. บริษัท ดรีม เรคคอร์ด จำกัด

งานที่จัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เผยแพร่ฯ - งานดนตรีกรรมและสิ่งบันทึกเสียง จำนวน 355 เพลง

* อัตราการจัดเก็บค่าเผยแพร่งานลิขสิทธิ์เพลง

ประเภทธุรกิจ (ต่อหน่วย)
อัตราการจัดเก็บ
คอมพิวเตอร์คาราโอเกะ
1,200 บาท/ปี
วีซีดีคาราโอเกะ
1,200 บาท/ปี
ตู้หยอดเหรียญคาราโอเกะ
1,200 บาท/ปี
ซีแควนเซอร์
1,200 บาท/ปี
นักดนตรีแสดงสด
1,200 บาท/ปี
การใช้กับเครื่องเล่นอื่นๆ (เช่นเทป/ซีดี)
1,200 บาท/ปี

* อัตราการจัดเก็บค่าทำซ้ำ

ประเภทธุรกิจ (ต่อหน่วย)
อัตราการจัดเก็บ
คอมพิวเตอร์ (Harddish)
1,200 บาท/ปี
ซีแควนเซอร์
1,200 บาท/ปี
คอมพิวเตอร์ MIDI FILE
1,200 บาท/ปี

วิธีการ/ขั้นตอนการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์

1. ชำระผ่านตัวแทนทั่วประเทศที่แต่งตั้งโดยบริษัท ดรีม เรคคอร์ด จำกัด โดยตัวแทนมีหน้าที่ติดต่อกับ
ร้านค้าหรือสถานประกอบการต่างๆ เพื่อจำหน่ายตราบริการ (สติ๊กเกอร์) จากบริษัทเพื่อแสดงให้ว่าทางร้านค้า
ได้รับอนุญาตในการให้ใช้สิทธิในผลงานเพลงภายใต้สังกัดบริษัท ดรีม เรคคอร์ด จำกัด อย่างถูกต้อง ซึ่งทาง
ร้านค้าจะต้องมีการชำระค่าสินค้าเรียบร้อยแล้ว โดยทางตัวแทนจะเป็นผู้เก็บรวบรวมเอกสารในการส่งมอบให้
กับลูกค้าและส่งรายละเอียดให้กับบริษัททุกสิ้นเดือน
เอกสารที่ใช้ในการทำหนังสือสัญญาแต่งตั้งตัวแทนจำหน่าย ได้แก่
(1) สำเนาทะเบียนบ้าน
(2) สำเนาบัตรประชาชน
(3) วางเงินมัดจำในการรับสินค้าครั้งแรกไม่ต่ำกว่า 25% ของราคาสินค้าหรือวางเงินมัดจำไว้
ตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไป


2. ชำระโดยตรงกับบริษัท ดรีม เรคคอร์ด จำกัด
- กรณีที่ลูกค้าสั่งซื้อเองโดยตรงกับทางบริษัทฯ เอกสารทุกอย่างทางบริษัทฯ จะเป็นผู้ออกให้
และจัดส่งทางไปรษณีย์

เงื่อนไขในการเก็บค่าตอบแทน

1. ลูกค้าจะโอนเงินเข้าบัญชีบริษัทฯ (ชำระโดยการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาบางใหญ่ เลขที่บัญชี 221-0-82058-1 ชื่อบัญชี บริษัท ดรีม เรคคอร์ด จำกัด ประเภทกระแสรายวัน)
2. ลูกค้าแฟกซ์ใบเสร็จในการโอนเงินพร้อมกับสำเนาบัตรประชาชนและที่อยู่ที่ให้จัดส่งเอกสารพร้อมเบอร์ติดต่อกลับมาที่บริษัท
3. ทางบริษัทจะออกใบส่งสินค้า ใบเสร็จรับเงิน หนังสือสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิพร้อมสติ๊กเกอร์
และ BOXSET ไปให้ทางไปรษณีย์ตามชื่อที่อยู่ที่ระบุไว้
4. สัญญาจะคุ้มครองทันทีที่ลูกค้าได้ชำระค่าสินค้าเรียบร้อยแล้ว
5. ในส่วนของตัวแทนจำหน่ายทุกๆ สิ้นเดือน (วันที่ 30 หรือ 1 ของทุกเดือน) ตัวแทนจะนำส่ง
ตารางในการจัดเก็บให้กับบริษัทพร้อมกับเอกสารต่างๆ ของลูกค้า

สถานที่ติดต่อ เลขที่ 111/148 ซ.13/4 หมู่บ้านบัวทอง ถ.กาญจนาภิเษก (ตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี)
ต.บางรักพัฒนา อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี 11110

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์. 0-2925-3064, 0-2925-3920 โทรสาร. 0-2925-3065














9. ห้างหุ้นส่วนจำกัด จิว แป๊ะ ทง เทรดดิ้ง

งานที่จัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เผยแพร่ฯ - งานดนตรีกรรมและสิ่งบันทึกเสียง จำนวน 260 เพลง

* อัตราการจัดเก็บค่าเผยแพร่งานลิขสิทธิ์เพลง

ประเภทธุรกิจที่ใช้งานลิขสิทธิ์
(ต่อหน่วย)
อัตราการจัดเก็บ
ต่อเดือน
(บาท)
ชำระขั้นต่ำ
3 เดือน
6 เดือน
(ลด 5 %)
12 เดือน
(ลด10 %)
ตู้เพลง (Juke Box)
100
300
570
1,080
ตู้หยอดเหรียญคาราโอเกะ
100
300
570
1,080
บูธหยอดเหรียญคาราโอเกะ
100
300
570
1,080
ห้องโถงหรือห้องวีไอพี
100
300
570
1,080
ร้านอาหาร,สวนอาหาร,ภัตตาคาร,คาเฟ่
Pub, Pub & Restaurant (ที่มีนักร้องคาราโอเกะ)
จำนวน 1-50 ที่นั่ง 1,000 บาท / ปี
จำนวน 51-100 ที่นั่ง 2,000 บาท / ปี
จำนวน 100 ที่นั่งขึ้นไป 3,000 บาท / ปี

วิธีการ / ขั้นตอนการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์

1. ห้างหุ้นส่วนจำกัด จิว แป๊ะ ทง เทรดดิ้ง จะประชาสัมพันธ์และประกาศทางหนังสือพิมพ์ เรื่องการจัดเก็บ
ค่าลิขสิทธิ์ให้ผู้ประกอบการทราบ
2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด จิว แป๊ะ ทง เทรดดิ้ง จะส่งเจ้าหน้าที่ของห้างหุ้นส่วนฯ ไปพบผู้ประกอบการเพื่อชี้แจง
นโยบายการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ให้แก่ผู้ประกอบการทราบ
3. ชำระค่าลิขสิทธิ์ได้ที่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด จิว แป๊ะ ทง เทรดดิ้ง

สถานที่ติดต่อ เลขที่ 301/3 หมู่บ้านเอสอาร์แลนด์ ต.สันปู่เลย อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ 50000

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์. 0-5339-8175, 0-9188-1141 โทรสาร. 0-5399-0978










10. บริษัท เอ็ม เอ็น มิวสิค จำกัด

งานที่จัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เผยแพร่ฯ - งานดนตรีกรรมและสิ่งบันทึกเสียง จำนวน 45 เพลง

* อัตราการจัดเก็บค่าเผยแพร่งานลิขสิทธิ์เพลง

ประเภทธุรกิจ (ต่อหน่วย)
อัตราการจัดเก็บ
คอมพิวเตอร์คาราโอเกะ
100 บาท/เดือน/เครื่อง
วีซีดีคาราโอเกะ
100 บาท/เดือน/จอ
ตู้หยอดเหรียญคาราโอเกะ
100 บาท/เดือน/เครื่อง

วิธีการ/ขั้นตอนการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์

1. ผู้ประกอบการต้องขอรับอนุญาตและซื้อสติกเกอร์ตามจำนวนที่ต้องการ
2. ชำระโดยการโอนเงินเข้าบัญชี ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาน่าน เลขบัญชีที่ 337-0-826541
ชื่อบัญชี บริษัท เอ็ม เอ็น อิเล็กทรอนิกส์ ประเภทสะสมทรัพย์
3. ชำระผ่านตัวแทนที่แต่งตั้งโดยบริษัท เอ็ม. เอ็น มิวสิค จำกัด
4. ชำระโดยตรงกับบริษัท เอ็ม. เอ็น มิวสิค จำกัด

สถานที่ติดต่อ เลขที่ 263/5-6 ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน 55000

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์. 0-5863-6590 โทรสาร. 0-5471-1082.















11. บริษัท รถไฟดนตรี (1995) จำกัด

งานที่จัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เผยแพร่ฯ - งานดนตรีกรรมและงานสิ่งบันทึกเสียง จำนวน 4,861 เพลง

* อัตราการจัดเก็บค่าเผยแพร่งานลิขสิทธิ์เพลง

ประเภทธุรกิจที่ใช้งานลิขสิทธิ์
(ต่อหน่วย)
อัตราการจัดเก็บ
ต่อเดือน
(บาท)
ชำระขั้นต่ำ
3 เดือน
(ลด 3 %)
ชำระขั้นต่ำ
6 เดือน
(ลด 5 %)
ชำระขั้นต่ำ
12 เดือน
(ลด 10 %)
1. ประเภทธุรกิจคาราโอเกะ ที่ใช้งานลิขสิทธิ์ดนตรีกรรม วีซีดี และคอมพิวเตอร์คาราโอเกะ (มีดี้ไฟล์)
- ตู้หยอดเหรียญ(ต่อตู้)
250
720
1,420
2,700
- บูธหยอดเหรียญ(ต่อบูธ)
250
720
1,420
2,700
- ห้องคาราโอเกะ(ต่อห้อง)
350
1,010
1,990
3,780
-เงื่อนไข กรณีผู้ประกอบการมีตั้งแต่ 6 ห้อง/จอขึ้นไปเรียกเก็บ 60 % ของจำนวนห้อง/จอทั้งหมด
ภัตตาคาร/ร้านอาหาร ฯลฯ
4,000 บาท/ปี
2. ประเภทธุรกิจที่ใช้งานลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่คำร้อง/ทำนอง และ/หรือ มิวสิควีดีโอ โดยทั่วไป
ที่ไม่ใช่กิจการประเภทคาราโอเกะ
- ตู้เพลง(Jukebox)
200
580
1,140
2,160
- ภัตตาคาร/ร้านอาหาร ฯลฯ
2,500 บาท/ปี
- สถานประกอบการสายการบิน
จัดเก็บ 350 บาท ต่อเที่ยว
เงื่อนไข คิดตามจำนวนครั้งที่เครื่องบินขึ้นลงต่อปี
- สถานประกอบการโรงแรม
จัดเก็บ 60 บาท ต่อห้องต่อปี
เงื่อนไข เรียกเก็บ 40 % ของจำนวนห้องทั้งหมด
(ไม่รวมห้องคาราโอเกะ)

วิธีการ/ขั้นตอนการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์

1. ผู้ประกอบการสามารถชำระโดยผ่านธนาคารในชื่อ บริษัท รถไฟดนตรี (1995) จำกัด
- ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาถนนรามคำแหง บัญชีกระแสรายวัน เลขที่ 079-301100-1 และส่งแฟ็กซ์ สำเนา
ใบนำฝากเงิน สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาทะเบียนการค้าไปที่บริษัท รถไฟดนตรี (1995)
จำกัด บริษัทฯ จะจัดส่งสติ๊กเกอร์และใบเสร็จรับเงิน พร้อมเอกสารรับรองการใช้สิทธิ์ ให้กับผู้ประกอบการทางไปรษณีย์ ภายใน 7 วันทำการ
2. ชำระโดยตรง ณ ที่ทำการของบริษัท รถไฟดนตรี (1995) จำกัด เลขที่ 186 ซอยสมานมิตร แขวงสวนหลวง
เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250


สถานที่ติดต่อ เลขที่ 186 ซ.สมานมิตร แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์. 0-2314-0222,0-2318-6565-6,0-2719-8369 โทรสาร. 0-2318-6404


12. บริษัท ลิขสิทธิ์สยาม จำกัด

งานที่จัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เผยแพร่ฯ - งานดนตรีกรรมและสิ่งบันทึกเสียงของนักแต่งเพลง
และค่ายเพลงที่เป็นสมาชิก จำนวน 10,451 เพลง

* อัตราการจัดเก็บค่าเผยแพร่งานลิขสิทธิ์เพลง

ประเภทธุรกิจ (ต่อหน่วย)
อัตราการจัดเก็บ
คอมพิวเตอร์คาราโอเกะ
190 บาท/เดือน
วีซีดีคาราโอเกะ (Control Room)
190 บาท/เดือน
ตู้หยอดเหรียญคาราโอเกะ
190 บาท/เดือน
ซีแควนเซอร์
190 บาท/เดือน
การใช้กับเครื่องเล่นอื่นๆ (เช่น เทป/ซีดี)
190 บาท/เดือน

วิธีการ/ขั้นตอนการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์

ผู้ประกอบการสามารถติดต่อชำระค่าตอบแทนการใช้สิทธิในการเผยแพร่งานลิขสิทธิ์เพลง ได้ 3 วิธี ดังนี้

1. ชำระเงินที่สำนักงานของบริษัท ลิขสิทธิ์สยาม จำกัด เลขที่ 354/28 หมู่ 4 แขวงคลองสองต้นนุ่น
เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร 10520 โดยบริษัทจะออกใบอนุญาต (สติ๊กเกอร์เครื่องหมายแสดงการชำระเงิน)
ให้แก่ผู้ที่ได้ชำระเงินดังกล่าว

2. ชำระเงินผ่านธนาคารหรือหรือไปรษณีย์ ดังนี้

2.1 ชำระโดยการจ่ายเงินผ่านบัญชีธนาคาร ชื่อบัญชี บริษัท ลิขสิทธิ์สยาม จำกัด ธนาคารกรุงเทพฯ
สาขามีนบุรี บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 145-5-03821-4

2.2 ส่งธนาณัติสั่งจ่ายในชื่อบริษัท แล้วส่งหลักฐานการส่งเงิน หรือหลักฐานการส่งธนาณัติดังกล่าว
พร้อมแสดงความประสงค์ใช้งานลิขสิทธิ์เพลงเผยแพร่เพื่อการค้า ทางโทรสารหรือทางไปรษณีย์แสดงแก่บริษัท
หลังจากบริษัทได้ตรวจสอบการชำระเงินดังกล่าวแล้ว จึงจะจัดส่งใบอนุญาต (สติ๊กเกอร์เครื่องหมายแสดงการชำระเงิน) ให้กับผู้ที่ได้ชำระเงินดังกล่าวแล้ว ซึ่งผู้ประกอบการที่ได้ชำระค่าเผยแพร่โดยวิธีนี้สามารถเก็บหลักฐานการส่งเงินผ่านบัญชีธนาคาร หรือหลักฐานใบส่งธนาณัติไว้เป็นหลักฐานได้โดยชั่วคราวจนกว่าจะได้รับใบอนุญาต (สติ๊กเกอร์
เครื่องหมายแสดงการชำระเงิน) จากบริษัท






3. ชำระเงินผ่านตัวแทนจัดเก็บฯ ที่บริษัทได้แต่งตั้ง (มีหนังสือแต่งตั้งจากบริษัท) โดยในการชำระ
ผ่านตัวแทนดังกล่าว ตัวแทนจะมอบใบลงทะเบียนการขออนุญาตใช้สิทธิฯ เพื่อให้ผู้ขออนุญาตใช้สิทธิกรอก
รายละเอียดและส่งกลับบริษัทในทันที ซึ่งหลังจากบริษัทได้รับใบลงทะเบียนดังกล่าวและตรวจสอบ/บันทึก
รายละเอียดแล้ว จึงจะจัดส่งใบอนุญาต (สติ๊กเกอร์เครื่องหมายแสดงการชำระเงิน) ให้กับผู้ที่ได้ชำระเงินตามใบ
ลงทะเบียน ทางไปรษณีย์ ทั้งนี้ ผู้ที่ได้ชำระเงินดังกล่าวสามารถถ่ายสำเนาใบลงทะเบียนที่กรอกรายละเอียดครบถ้วนแล้วนั้น ใช้เป็นหลักฐานแสดงการชำระค่าตอบแทนฯ ได้โดยชั่วคราว จนกว่าจะได้รับใบอนุญาต
(สติ๊กเกอร์เครื่องหมายแสดงการชำระเงิน) จากบริษัท

ระยะเวลาการจัดเก็บฯ บริษัทกำหนดให้มีการขออนุญาตและชำระค่าตอบแทนฯเป็นประเภท ดังนี้

1. ประเภทราย 1 เดือน คุ้มครองสิทธินับตั้งแต่วันที่ 1 ของเดือนที่ขออนุญาตและชำระฯ จนถึงวันสิ้นสุด
ของเดือนนั้น ๆ
2. ประเภทราย 3 เดือน คุ้มครองสิทธินับจากวันที่ 1 ของเดือนที่เริ่มต้นขออนุญาตและชำระฯ จนครบ
กำหนด 3 เดือน ของการอนุญาตนั้น ๆ
3. ประเภทราย 6 เดือน คุ้มครองสิทธินับจากวันที่ 1 ของเดือนที่เริ่มต้นขออนุญาตและชำระฯ จนครบ
กำหนด 6 เดือน ของการอนุญาตนั้น ๆ
4. ประเภทราย 12 เดือน คุ้มครองสิทธินับจากวันที่ 1 ของเดือนที่เริ่มต้นขออนุญาตและชำระฯ จนครบ
กำหนด 12 เดือน ของการอนุญาตนั้น ๆ

ถ้าผู้ประกอบการรายใดประสงค์จะใช้งานลิขสิทธิ์เพลงในการเผยแพร่เพื่อการค้าต่อเมื่อสิทธิตามใบ
อนุญาต (สติ๊กเกอร์เครื่องหมายแสดงการชำระเงิน) สิ้นสุดลงให้ดำเนินการติดต่อแจ้งความประสงค์ และชำระ
ค่าตอบแทนฯ ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน ก่อนที่สิทธิตามใบอนุญาต (สติ๊กเกอร์เครื่องหมายแสดงการชำระเงิน)
จะสิ้นสุดลง

การแสดงใบอนุญาตหรือสติ๊กเกอร์เครื่องหมายการชำระค่าตอบแทนการให้สิทธิในการเผยแพร่ฯ งานลิขสิทธิ์เพลงเพื่อการค้า

- ให้สถานประกอบการที่ได้ชำระเงินแล้ว และได้รับใบอนุญาต (สติ๊กเกอร์เครื่องหมายแสดงการชำระเงิน)
แล้ว กรอกชื่อของสถานประกอบการ/ชื่อร้าน ลงในสติ๊กเกอร์เครื่องหมายแสดงการชำระเงินดังกล่าวให้ชัดเจน
และให้นำไปติดแสดงไว้ในที่เปิดเผย ซึ่งสามารถมองเห็นได้ชัดเจน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของบริษัทเข้าทำการตรวจสอบ
ได้โดยสะดวก

สถานที่ติดต่อ เลขที่ 354/28 หมู่ 4 แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์. 0-2557-1497, 08-6034-3818 โทรสาร. 0-2557-1497





13. บริษัท อาร์เคที พับลิชชิ่ง จำกัด

งานที่จัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เผยแพร่ฯ - งานดนตรีกรรมและสิ่งบันทึกเสียงของนักแต่งเพลง
จำนวน 18,084 เพลง และค่ายเพลงที่เป็นสมาชิก 13 บริษัท
(1. บริษัท อาร์เอ็มเอสสตูดิโอ แอนด์มัลติมีเดีย จำกัด 2. บริษัท กรุงไทยออดิโอ จำกัด 3. บริษัท ซีทีพี พับลิชชิ่ง จำกัด 4. บริษัท เป่าจินจง จำกัด 5. บริษัท เฮีย จำกัด 6. บริษัท เทปบูรพา (1991) จำกัด 7. ห้างหุ้นส่วนจำกัด สหกวงเฮง แผ่นเสียงเทป 8. บริษัท
พี.อาร์.อินเตอร์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด 9. บริษัท อโซน่า จำกัด 10. บริษัท ไอคิวดี มีเดีย จำกัด 11. เอ็มพีซาวด์ (เอ็มพีดี มีเดีย กรุ๊ป) 12. บริษัท ตลุงโปรโมชั่น จำกัด 13. คนเมืองเร็คคอร์ด

* อัตราการจัดเก็บค่าเผยแพร่งานลิขสิทธิ์เพลง


ประเภทธุรกิจ (ต่อหน่วย)
อัตราการจัดเก็บ
ตู้หยอดเหรียญคาราโอเกะ
600 บาท/จอ/เดือน
ซีแควนเซอร์
5,000 บาท/ปี
นักดนตรีแสดงสด
5,000 บาท/ปี
การใช้กับเครื่องเล่นอื่นๆ เช่น เทป ซีดี
5,000 บาท/ปี
บูธหยอดเหรียญ
600 บาท/จอ/เดือน
ห้องคาราโอเกะ/ห้องโถง
900 บาท/จอ/เดือน
ห้องโถงในภัตตาคาร/ร้านอาหารที่มีการร้องคาราโอเกะ
8,000 บาท/เครื่อง/ปี
ตู้เพลง JUKEBOX
450 บาท/จอ/เดือน
การใช้งานดนตรีกรรมผ่านสิ่งบันทึกเสียง (ไม่มีภาพ)
เช่น ร้านอาหาร ภัตตาคาร สวนอาหาร ฯลฯ
5,000 บาท/ปี
การใช้งานสิ่งบันทึกเสียงและโสตทัศนวัสดุ สำหรับ
สถานประกอบการที่ไม่มีการร้องคาราโอเกะ
- ประเภทผับ, บาร์, เลาจน์ฯลฯ แบบเคาร์เตอร์โล่งหรือขนาดเล็ก
- ประเภทผับ, บาร์, เลาจน์ฯลฯ ขนาดกลาง

- ประเภทผับ, บาร์, เลาจน์ฯลฯ ขนาดใหญ่และบาร์อะโกโก้
- ประเภทดิสโก้เทค และสถานบันเทิงขนาดใหญ่
เงื่อนไข คิดตามจำนวนลูกค้าหรือที่นั่ง

5,000 บาท/ปี
(1 – 20 คน/ที่นั่ง)
6,000 บาท/ปี
(21 – 50 คน/ที่นั่ง)
7,000 บาท/ปี
(51 – 80 คน/ที่นั่ง)
30,000 บาท/ปี
(81 คน/ที่นั่งขึ้นไป)



ประเภทธุรกิจ (ต่อหน่วย)
อัตราการจัดเก็บ
สถานประกอบการสายการบิน (คิดตามจำนวนครั้งที่ขึ้น-ลง)
600 บาท/เที่ยว
สถานประกอบการโรงแรม
90 บาท/ห้อง/ปี
เคเบิ้ลทีวี (คิดตามจำนวนสมาชิกของเคเบิ้ลทีวี)
20 บาท/คน/เดือน

เงื่อนไขในการจัดเก็บค่าตอบแทน มีดังนี้

1. ผู้ประกอบการจะต้องยื่นขออนุญาตใช้สิทธิในการเผยแพร่งานลิขสิทธิ์เพลงเพื่อการค้า ในงานดนตรีกรรม สิ่งบันทึกเสียง และโสตทัศนวัสดุ ก่อนนำงานอันมีลิขสิทธิ์ ซึ่งบริษัทฯ ได้รับมอบหมายให้ดูแลการจัดเก็บค่าตอบแทนไปใช้เผยแพร่ในสถานประกอบการของผู้ประกอบการทุกครั้ง
2. ผู้ประกอบการที่ประสงค์จะขออนุญาตใช้สิทธิ จะต้องชำระค่าตอบแทนให้กับบริษัทฯ เป็นรายเดือน หรือรายปี ตามอัตราค่าตอบแทนที่บริษัทฯ ได้กำหนดไว้ตามประเภทของการใช้งาน โดยในประเภทที่จะต้อง ทำการชำระค่าตอบแทนเป็นรายเดือน ผู้ประกอบการต้องชำระค่าตอบแทนขั้นต่ำล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือน (จะได้รับส่วนลดพิเศษ 3%), ชำระล่วงหน้า 6 เดือน (ได้ส่วนลดพิเศษ 5%) และชำระล่วงหน้า 12 เดือน (ได้รับ ส่วนลดพิเศษ 10%)
3. ผู้ประกอบการจะต้องใช้ผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องมีลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่งาน
4. ผู้ประกอบการจะต้องติดหลักฐานการได้รับอนุญาต (สติ๊กเกอร์) ไว้บนอุปกรณ์การใช้งาน หรือบริเวณสถานประกอบการให้เห็นชัดเจน

วิธีการ/ขั้นตอนการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์

ผู้ประกอบการสามารถติดต่อชำระค่าตอบแทนการใช้สิทธิในการเผยแพร่งานลิขสิทธิ์เพลง ได้ 3 วิธี ดังนี้
1. ชำระผ่านตัวแทนการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ของบริษัทฯ
ผู้ประกอบการสามารถชำระค่าตอบแทนผ่านตัวแทนการจัดเก็บของบริษัทฯ โดยบริษัทฯ ตัวแทน
จะต้องยื่นแสดงบัตรประจำตัวและใบอนุญาตการเป็นตัวแทนการจัดเก็บของบริษัทฯ ให้กับผู้ประกอบการทำการตรวจสอบก่อนทุกครั้ง เมื่อผู้ประกอบการได้รับคำแนะนำจากตัวแทนในการสมัครสมาชิกแล้ว ผู้ประกอบการ
จะต้องกรอกรายละเอียดและลงนามในใบสมัครของบริษัทฯ พร้อมแนบสำเนาเอกสารดังนี้
1.1 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
1.2 สำเนาทะเบียนบ้าน
1.3 หลักฐานการเป็นนิติบุคคล ทะเบียนการค้า และอื่น ๆ
เมื่อชำระค่าตอบแทนผ่านตัวแทนการจัดเก็บตามประเภทและจำนวนที่ผู้ประกอบการประสงค์ใช้งาน
แล้ว ผู้ประกอบการจะได้รับสำเนาใบสมัครสมาชิก ใบรับเงินชั่วคราว จากตัวแทนจัดเก็บเพื่อใช้เป็นหลักฐานชั่วคราว ในการได้รับอนุญาต ซึ่งเมื่อบริษัทฯ ได้รับใบสมัครและรับชำระเงินเรียบร้อยแล้ว บริษัทฯ จะทำการจัดส่งหลักฐานการอนุญาต (สติ๊กเกอร์) ฉบับจริงให้กับผู้ประกอบการภายใน 7 วันทำการหลังจากได้รับข้อมูลการสมัครและการขออนุญาตจากตัวแทนจัดเก็บถูกต้องครบถ้วนเรียบร้อย เพื่อให้ผู้ประกอบการติดแสดงไว้ที่ตู้เพลง/บูธ/จอ/ห้อง ในสถานประกอบการต่อไป



2. ชำระโดยตรง ณ ที่ทำการของบริษัท อาร์เคที พับลิชชิ่ง จำกัด
ผู้ประกอบการสามารถชำระค่าตอบแทนได้โดยตรง ณ ที่ทำการของบริษัทฯ เลขที่ 2240/1
ซอยลาดพร้าว 102 ถนนลาดพร้าว แขวงวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310 โดยผู้ประกอบการจะต้องนำ
หลักฐานบัตรประจำตัวประชาชน/สำเนาทะเบียนบ้าน/หลักฐานการเป็นนิติบุคคล ทะเบียนการค้า และอื่น ๆ
มาเขียนใบสมัครสมาชิก ณ ที่ทำการของบริษัทฯ โดยแจ้งประเภทของการใช้งานที่ผู้ประกอบการต้องการ
ใช้งาน พร้อมชำระค่าตอบแทนตามที่กำหนด ซึ่งผู้ประกอบการจะได้รับหลักฐานใบเสร็จรับเงิน และหลักฐาน
การได้รับอนุญาต (สติ๊กเกอร์) เพื่อให้ผู้ประกอบการติดแสดงที่ตู้เพลง/บูธ/จอ/ห้อง ในสถานที่ประกอบการต่อไป

3. ชำระผ่านธนาคารพาณิชย์

3.1 ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาย่อยถนนอิสรภาพ บัญชีกระแสรายวันเลขที่
107-3-00325-3
3.2 ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาสามยอด บัญชีกระแสรายวันเลขที่ 150-3-09560-4
3.3 ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาคลองเจ้าคุณสิงห์ บัญชีกระแสรายวันเลขที่ 189-6-00951-4

สถานที่ติดต่อ เลขที่ 624 – 626 ถ.ลาดหญ้า เขตคลองสาน แขวงคลองสาน กรุงเทพฯ 10600

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์. 0-2861-1655-8 โทรสาร. 0-2861-1659

































14. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ลิขสิทธิ์สุรพล

งานที่จัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เผยแพร่ฯ - งานดนตรีกรรมและสิ่งบันทึกเสียงของนักแต่งเพลง
จำนวน 173 เพลง

* อัตราการจัดเก็บค่าเผยแพร่งานลิขสิทธิ์เพลง

ประเภทธุรกิจที่ใช้งานลิขสิทธิ์
อัตราการจัดเก็บ
อัตราส่วนลด
เหมาจ่าย 3 เดือน
เหมาจ่าย 6 เดือน
เหมาจ่าย 1 ปี
- คอมพิวเตอร์คาราโอเกะ
150 บาท/เดือน/ตู้/เครื่อง
ได้รับส่วนลด
10%
ได้รับส่วนลด
15%
ได้รับส่วนลด
20%
- วีซีดีคาราโอเกะ (Control Room)
100 บาท/เดือน/ตู้/เครื่อง
- ตู้หยอดเหรียญคาราโอเกะ
100 บาท/เดือน/ตู้/เครื่อง
- ตู้เพลงคาราโอเกะ
100 บาท/เดือน/ตู้/เครื่อง
- ซีแควนเซอร์
100 บาท/เดือน/ตู้/เครื่อง

เงื่อนไขในการจัดเก็บค่าตอบแทน มีดังนี้

1. อัตราส่วนลด

1.1 เหมาจ่าย 3 เดือน จะได้รับส่วนลด 10%
1.2 เหมาจ่าย 6 เดือน จะได้รับส่วนลด 15%
1.3 เหมาจ่าย 1 ปี จะได้รับส่วนลด 20%

2. เมื่อผู้ประกอบการได้ชำระค่าลิขสิทธิ์ตามประเภท และลักษณะการใช้งานลิขสิทธิ์ครบถ้วนแล้ว
จะต้องแสดงเครื่องหมาย (สติ๊กเกอร์) ไว้ในที่เปิดเผย และต้องเก็บใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานการชำระเงิน
ไว้เพื่อความสะดวกของเจ้าของลิขสิทธิ์ ผู้ได้รับมอบอำนาจหรือตัวแทนของเจ้าของลิขสิทธิ์ในการตรวจสอบ
3. ผู้ประกอบการจะได้รับความคุ้มครองจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ซึ่งได้ใช้งานเฉพาะงานลิขสิทธิ์ตามที่
กำหนดไว้เท่านั้น ภายใต้กำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสติ๊กเกอร์
4. ผู้ประกอบการต้องยินยอมให้เจ้าของลิขสิทธิ์ ผู้รับมอบอำนาจหรือตัวแทนเจ้าของลิขสิทธิ์เข้าไป
ยังสถานประกอบการหรือในเวลาที่มีการเผยแพร่เพลงต่อสาธารณชน โดยเจ้าของลิขสิทธิ์ไม่จำเป็นต้องแจ้ง
ให้ผู้ประกอบการทราบล่วงหน้า ทั้งนี้เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้สิทธิ

วิธีการ/ขั้นตอนการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์

ผู้ประกอบการสามารถติดต่อชำระค่าตอบแทนการใช้สิทธิในการเผยแพร่งานลิขสิทธิ์เพลง ได้ 2 วิธี ดังนี้

1. ผู้ประกอบการสามารถชำระค่าตอบแทนได้โดยตรง ณ ที่ทำการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ลิขสิทธิ์สุรพล
เลขที่ 301/122 ซ.รามคำแหง 68 ถ.รามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
2. ชำระค่าตอบแทนผ่านตัวแทน หรือพนักงานของห้างหุ้นส่วนจำกัด ลิขสิทธิ์สุรพล

สถานที่ติดต่อ เลขที่ 301/122 ซ.รามคำแหง 68 ถ.รามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์. 0-2376-2720, 0-2735-2239 โทรสาร. 0-2735-2239










15. บริษัท โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด

งานที่จัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เผยแพร่ฯ - งานสิ่งบันทึกเสียงของนักแต่งเพลง จำนวน 3,117 เพลง

* อัตราการจัดเก็บค่าเผยแพร่งานลิขสิทธิ์เพลง

ประเภทธุรกิจที่ใช้งานลิขสิทธิ์
(ต่อหน่วย)
อัตราการจัดเก็บ
ต่อเดือน
(บาท)
ชำระขั้นต่ำ
3 เดือน
6 เดือน
(ลด 5%)
12 เดือน
(ลด 10%)
ตู้เพลง (JUKE BOX)
50
600 บาท/ปี**
ตู้หยอดเหรียญคาราโอเกะ
150
450
855
1,620
บูธหยอดเหรียญคาราโอเกะ
200
600
1,140
2,160
ห้องโถงหรือห้องวีไอพี
300
900
1,710
3,240
ห้องจัดเลี้ยง, สโมสร ฯลฯ ที่มีการแสดงสดหรือใช้งานดนตรีกรรมผ่านสิ่งบันทึกเสียง (ไม่รวมถึงห้องคาราโอเกะ)
จำนวนห้อง 1 – 5 ห้อง 3,500 บาท/ปี
จำนวนห้อง 6 – 10 ห้อง 4,500 บาท/ปี
จำนวนห้อง 11 – ห้องขึ้นไป 6,000 บาท/ปี
ร้านอาหาร, สวนอาหาร, ภัตตาคาร, ศูนย์อาหาร, Pub & Restaurant นวด&สปา, เลาจน์, ลานเบียร์, โรงเบียร์, โบว์ลิ่ง คอฟฟี่ช็อป, ศูนย์ออกกำลังกาย, สวนสนุก ฯลฯ ที่มีการ
แสดงสดหรือใช้งานดนตรีกรรมในรูปแบบต่างๆ รวมถึงงานดนตรีกรรมผ่านสิ่งบันทึกเสียง (ไม่รวมถึงห้องคาราโอเกะ)
จำนวนที่นั่ง 1 – 100 ที่นั่ง 1,500 บาท/ปี (เฉลี่ยวันละ 4 บาท)


จำนวนที่นั่ง 100 ที่นั่งขึ้นไป 3,000 บาท/ปี (เฉลี่ยวันละ 8 บาท)
สถานที่จำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องคอมพิวเตอร์
เรียกเก็บต่อสาขา 1,500 บาท/ปี
ห้างสรรสินค้า
ที่มีการเผยแพร่เสียงตามสายโดยใช้งานดนตรีกรรมผ่านสิ่งบันทึกเสียงหรือแสดงสด
(ไม่รวมถึงห้องคาราโอเกะ)
พื้นที่น้อยกว่า 5,000 ตร.ม. จัดเก็บ 10,000 บาท/ปี
พื้นที่มากกว่า 5,001 ตร.ม. ขึ้นไปคิดเพิ่ม ตร.ม.ละ 2 บาท/ปี
** หมายเหตุ ในส่วนตู้เพลง (JUKE BOX) ยกเว้นส่วนลด



ประเภทสิทธิทำซ้ำ

ประเภทธุรกิจที่ใช้งานลิขสิทธิ์
(ต่อหน่วย)
อัตราการจัดเก็บ
ต่อปี
(บาท)
6 เดือน
12 เดือน
ฮาร์ดดิสก์ ต่อเครื่อง
3,000
1,500
3,000
ฮาร์ดดิสก์ ต่อระบบ จำนวน 2 – 5 ห้อง
4,000
2,000
4,000
ฮาร์ดดิสก์ ต่อระบบ จำนวน 6 – 10 ห้อง
5,000
2,500
5,000
ฮาร์ดดิสก์ ต่อระบบ จำนวน 11 ห้องขึ้นไป
6,000
3,000
6,000

เงื่อนไขในการจัดเก็บค่าตอบแทน มีดังนี้

1. ผู้ประกอบการจะต้องยื่นขออนุญาตใช้สิทธิในการเผยแพร่งานลิขสิทธิ์เพลงเพื่อการค้าในงานเผยแพร่ บันทึกเสียง และโสตทัศนวัสดุ ก่อนนำผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ไปใช้เผยแพร่ในสถานประกอบการของผู้ประกอบการ
ทุกครั้ง
2. ผู้ประกอบการที่ประสงค์จะขออนุญาตใช้สิทธิ จะต้องชำระค่าตอบแทนให้กับบริษัทฯเป็นรายเดือน
หรือรายปี ตามอัตราค่าตอบแทนที่บริษัทฯ ได้กำหนดไว้ตามประเภทของการใช้งาน โดยในประเภทที่ต้อง
ทำการชำระค่าตอบแทนเป็นรายเดือน ผู้ประกอบการต้องชำระค่าตอบแทนขั้นต่ำล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือน
ชำระล่วงหน้า 6 เดือน (ได้ส่วนลด 5%) ชำระล่วงหน้า 12 เดือน (ได้ส่วนลด 10%)
3. ผู้ประกอบการจะต้องใช้ผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องมีลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่งาน
4. ผู้ประกอบการต้องติดหลักฐานการได้รับอนุญาต (สติ๊กเกอร์) ไว้บนอุปกรณ์การใช้งาน หรือบริเวณสถานประกอบการให้เห็นได้ชัดเจน เพื่อให้ทางเจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบได้

ระยะเวลาการจัดเก็บลิขสิทธิ์

1. ประเภทราย 3 เดือน คุ้มครองสิทธินับจากวันที่ 15 ของเดือนที่เริ่มต้นขออนุญาตและชำระฯ
จนครบกำหนด 3 เดือน ของการอนุญาตนั้นๆ
2. ประเภทราย 6 เดือน คุ้มครองสิทธินับจากวันที่ 15 ของเดือนที่เริ่มต้นขออนุญาตและชำระฯ
จนครบกำหนด 6 เดือน ของการอนุญาตนั้นๆ
3. ประเภทราย 12 เดือน คุ้มครองสิทธินับจากวันที่ 15 ของเดือนที่เริ่มต้นขออนุญาตและชำระฯ
จนครบกำหนด 12 เดือน ของการอนุญาตนั้นๆ
4. ในกรณีผู้ประกอบการชำระเข้ามาก่อนวันที่ 15 ของทุกๆเดือน ช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 1 – 14
ของเดือนนั้น ทางบริษัทฯถือเป็นการคุ้มครองให้ล่วงหน้า แต่หากชำระเข้ามาหลังวันที่ 15 ของเดือน ช่วงเวลา
ตั้งแต่ 16 – 31 ของเดือนนั้น ทางบริษัทฯจะคิดการคุ้มครองย้อนหลังเริ่มวันที่ 15 ของเดือนนั้น (กรณีชำระหลัง
หมดอายุคุ้มครองลิขสิทธิ์ ทางบริษัทฯจะต้องย้อนการคุ้มครองต่อเนื่องจากวันสิ้นรอบก่อนหน้านั้นๆ แล้วแต่กรณี)



ถ้าผู้ประกอบการรายใดประสงค์จะต่ออายุการใช้งานลิขสิทธิ์เพลงในการเผยแพร่เพื่อการค้า ทาง
ผู้ประกอบการจะต้องชำระต่ออายุก่อนวันหมดอายุ 7 วัน และหากผู้ประกอบการที่ไม่ประสงค์จะใช้งานเพลง
ของทางบริษัทฯ โปรดกรุณาระงับการใช้ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ของทางบริษัทฯโดยทันที มิเช่นนั้นทางบริษัทฯ
จะดำเนินคดีทางกฎหมายกับทางผู้ประกอบการตามที่กฎหมายระบุวันทันที

วิธีการ/ขั้นตอนการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์

1. ผู้ประกอบการ สามารถชำระเงินผ่านสถาบันการเงิน โดยโอนเงินผ่านธนาคาร ในนามชื่อบัญชี
บริษัท โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด ได้ดังนี้
1.1 ธนาคารกสิกรไทย สาขาคลองเตย บัญชีกระแสรายวัน เลขที่ 017-1-07170-4
1.2 ธนาคารกรุงเทพ สาขาสุนทรโกษา บัญชีกระแสรายวัน เลขที่ 218-3-02434-4

2. เมื่อผู้ประกอบการชำระเงินผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารเรียบร้อยแล้วท่านจะได้รับเอกสารจากธนาคารเรียกว่า"ใบฝากเงิน/ใบโอนเงิน ( ใบ Pay-in )" เพื่อยืนยันการนำเงินเข้าบัญชี

3. ให้ผู้ประกอบการนำ ใบฝากเงิน/ใบโอนเงินจากธนาคาร ,บัตรประชาชน และทะเบียนการค้า (ถ้ามี) ถ่ายเอกสารอย่างละ 1 ฉบับ

4. ให้ผู้ประกอบการกรอกรายละเอียดลงในที่ว่าง ในสำเนาใบโอนเงิน ดังนี้
4.1 ชื่อ - นามสกุล
4.2 ชื่อสถานประกอบการ
4.3 ระบุรายละเอียด ที่อยู่ที่ตั้งร้านและ ที่อยู่ที่ต้องการให้ทางบริษัทฯจัดส่งเอกสารไปให้
(ที่อยู่ดังกล่าวต้องสามารถมีผู้รับเอกสารลงทะเบียนที่ทางบริษัทฯจะจัดส่งไปให้ได้ หากเป็นที่อยู่เดียวกันระบุเพียงแค่หนึ่งที่เท่านั้น)
4.4 ระบุเลขหมายโทรศัพท์ที่ร้าน และหมายเลขโทรศัพท์มือถือที่สามารถติดต่อได้สะดวก
4.5 ระบุประเภทการใช้งานและจำนวนหน่วย ที่ได้ชำระเข้ามา

5. ให้ผู้ประกอบการนำสำเนาใบโอนเงินสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนการค้าส่งโทรสาร(แฟ็กซ์) มายังบริษัทฯที่หมายเลข 02-293-0100 (ถึงฝ่ายลิขสิทธิ์เพลง)

6. ให้ผู้ประกอบการโทรติดต่อมายังบริษัทที่หมายเลข 02-294-2222 ติตต่อฝ่ายลิขสิทธิ์เพลงเพื่อ
ตรวจสอบว่าเจ้าหน้าที่ได้รับเอกสาร ที่ได้ส่งโทรสาร (แฟ็กซ์) เข้ามาที่บริษัทฯชัดเจน และครบถ้วนหรือไม่

7. เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนแล้วทางบริษัทฯจะจัดส่งสติ๊กเกอร์เอกสารรับรองการใช้สิทธิ พร้อมใบเสร็จ
รับเงินให้กับทางผู้ประกอบการตามที่อยู่ที่ระบุ ภายในไม่เกิน 7 วันทำการ

8. สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการชำระเพื่อต่ออายุสัญญา ให้นำใบแจ้งเตือน (Bill Payment) ที่ได้รับจากทางบริษัทฯ ไปชำระเงินผ่านทางธนาคารฯที่ระบุไว้ข้างต้น โดยส่งโทรสารเข้ามาให้กับทางบริษัทฯ เพื่อยืนยันการชำระเงิน เมื่อทางบริษัทฯได้รับข้อมูลการชำระของผู้ประกอบการจากทางธนาคารฯเรียบร้อยแล้ว ทางบริษัทฯจะทำการจัดส่งสติ๊กเกอร์เอกสารรับรองการใช้สิทธิให้กับทางผู้ประกอบการตามที่อยู่ที่เคยแจ้งไว้ให้กับทางบริษัทฯ ไม่เกิน 7 วันทำการ



9. กรณีที่ทางผู้ประกอบการไม่สะดวก และไม่สามารถดำเนินการ โอนเงินชำระทางธนาคารฯ ได้เองนั้น ทางผู้ประกอบการสามารถโทรฯติดต่อมายังบริษัทฯ เพื่อแจ้งให้เจ้าหน้าที่รับผิดชอบเขตพื้นที่เข้าไปรับชำระกับทางผู้ประกอบการที่ร้านได้ โดยเจ้าหน้าที่จะออกใบเสร็จรับเงินชั่วคราวให้กับทางผู้ประกอบการเก็บไว้เป็นหลักฐาน เมื่อทางบริษัทฯได้รับการชำระเงินจากทางเจ้าหน้าที่แล้ว จะทำการจัดส่งสติ๊กเกอร์เอกสารรับรอง
การใช้สิทธิ์ให้กับทางผู้ประกอบการไม่เกิน 7 วันทำการ
10. อนึ่งหากเกินระยะเวลา 7 วันทำการแล้วผู้ประกอบการยังไม่ได้รับสติ๊กเกอร์เอกสารรับรองการใช้สิทธิ ให้ผู้ประกอบการโทรศัพท์แจ้งติดต่อมายังบริษัทฯหรือเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ เพื่อทางบริษัทฯ จะได้ตรวจสอบแก้ไขให้ทางผู้ประกอบการต่อไป

สถานที่ติดต่อ เลขที่ 1 อาคารมนต์พิชิต ถ.รัชดาภิเษก แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา
กรุงเทพฯ 10120

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์. 0-2294-2222 โทรสาร. 0-2293-0110






















16. ห้างหุ้นส่วนจำกัด พี.เค เรคคอร์ด

งานที่จัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เผยแพร่ฯ - งานดนตรีกรรมและสิ่งบันทึกเสียง จำนวน 312 เพลง

* อัตราการจัดเก็บค่าเผยแพร่งานลิขสิทธิ์เพลง

ประเภทธุรกิจ (ต่อหน่วย)
อัตราการจัดเก็บ
ตู้เพลง (Juke box)
2,000 บาท/ปี
ตู้หยอดเหรียญคาราโอเกะ
2,000 บาท/ปี
บู๊ธหยอดเหรียญคาราโอเกะ
2,400 บาท/ปี
ห้องโถงหรือห้องวีไอพี
3,600 บาท/ปี
ห้องจัดเลี้ยง, สโมสร ฯลฯ ที่มีการแสดงสดหรือใช้งานดนตรีกรรมในรูปแบบมิดี้ไฟล์ต่างๆ รวมถึงงานดนตรีกรรมผ่านสิ่งบันทึกเสียง (ไม่รวมถึงห้องคาราโอเกะ)
จำนวนห้อง 1 – 3 ห้อง 3,600 บาทต่อปี
จำนวนห้อง 4 – 6 ห้อง 4,800 บาทต่อปี
จำนวนห้อง 7 ห้องขึ้นไป 6,000 บาทต่อปี
การแสดงสดตามลานโล่งหรือห้องโถงทั่วไป หรือการใช้งานดนตรีกรรมในรูปแบบมิดี้ไฟล์ต่างๆ รวมถึงงานดนตรีกรรมผ่านสิ่งบันทึกเสียง (ไม่รวมถึงห้องคาราโอเกะ)
จำนวน 1 - 50 ที่ 3,600 บาทต่อปี
จำนวน 51 - 100 ที่ 4,800 บาทต่อปี
จำนวน 100 ที่ขึ้นไป 6,000 บาทต่อปี
การใช้งานดนตรีกรรมเพื่อประกอบงานอื่นๆ เช่น
ประกอบภาพยนตร์, ละครโทรทัศน์, ละครเวที,
โฆษณา, รายการโทรทัศน์, ทอล์คโชว์, เกมส์โชว์, วาไรตี้โชว์, เรียลลิตี้โชว์ฯลฯ
5,000 บาทต่อเพลง
สถานประกอบการสายการบิน
100 บาทต่อเที่ยว
เงื่อนไข วิธีคิด คิดตามจำนวนครั้ง
ที่เครื่องบินขึ้น - ลงต่อปี
สถานที่จำหน่ายเครื่องไฟฟ้า-เครื่องคอมพิวเตอร์
1,800 บาทต่อปี เงื่อนไข เรียกเก็บต่อสาขา
การจัดนิทรรศการ
พื้นที่น้อยกว่า 1,000 ตรม. 1,000 บาท/15วัน
เงื่อนไข หากจัดงานเกิน 15 วันเรียกเก็บเพิ่มวันละ 50 บาท
พื้นที่มากกว่า 1,000 ตรม. 1,500 บาท/15วัน
เงื่อนไข หากจัดงานเกิน 15 วันเรียกเก็บเพิ่มวันละ 70 บาท
การจัดเทศกาล
พื้นที่น้อยกว่า 5,000 ตรม. 1,500 บาท/15วัน
เงื่อนไข หากจัดงานเกิน 15 วันเรียกเก็บเพิ่มวันละ 70 บาท
พื้นที่มากกว่า 5,000 ตรม. 2,000 บาท/15วัน
เงื่อนไข หากจัดงานเกิน 15 วันเรียกเก็บเพิ่มวันละ 100 บาท



ประเภทธุรกิจ (ต่อหน่วย)
อัตราการจัดเก็บ
การจัดมหกรรม
พื้นที่น้อยกว่า 5,000 ตรม. 2,400 บาท/15วัน
เงื่อนไข หากจัดงานเกิน 15 วันเรียกเก็บเพิ่มวันละ 120 บาท
พื้นที่มากกว่า 5,000 ตรม. 3,600 บาท/15วัน
เงื่อนไข หากจัดงานเกิน 15 วันเรียกเก็บเพิ่มวันละ 150 บาท
ห้างสรรพสินค้าที่มีการเผยแพร่ผ่านเสียงตามสายโดยใช้งานดนตรีกรรมผ่านสิ่งบันทึกเสียงหรือการแสดงสด (ไม่รวมถึงห้องคาราโอเกะ)
พื้นที่น้อยกว่า 5,000 ตรม. 8,000 บาทต่อปี
พื้นที่มากกว่า 5,000 ตรม. เรียกเก็บเพิ่ม ตรม.
ละ 1 บาทต่อปี
มินิมาร์ท, ร้านสะดวกซื้อ และตลาดสด ที่มีการเผยแพร่ผ่านเสียงตามสาย โดยใช้งานดนตรีกรรมผ่านสิ่งบันทึกเสียงหรือแสดงสด
พื้นที่น้อยกว่า 100 ตรม. 1,200 บาทต่อปี
พื้นที่มากกว่า 100 ตรม. เรียกเก็บเพิ่ม ตรม.
ละ 1 บาทต่อปี
เคเบิ้ลทีวี
สมาชิกน้อยกว่า 1,000 ราย จัดเก็บ 5,000 บาท/ปี
สมาชิก 1,000 – 3,000 ราย จัดเก็บ 10,000 บาท/ปี
สมาชิกมากกว่า 3,000 ราย จัดเก็บ 15,000 บาท/ปี
การแสดงคอนเสิร์ตต่างๆ เช่น คอนเสิร์ตที่มี
การจำหน่ายบัตรเข้าชม ฯลฯ
จำนวน 1 – 5 เพลง จัดเก็บ 3% จากยอดจำหน่ายบัตรเข้าชมต่อรอบ
จำนวน 5 เพลงขึ้นไป จัดเก็บ 5% จากยอดจำหน่ายบัตรเข้าชมต่อรอบ
เงื่อนไข ในกรณีที่ไม่มีการจำหน่ายบัตรจัดเก็บ 5,000 บาท ต่อรอบ
การประกวดร้องเพลงต่างๆ
1,800 บาทต่อปี


วิธีการ/ขั้นตอนการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์

1. ผู้รับมอบอำนาจให้จัดเก็บค่าตอบแทนจากทางห้างฯ จัดให้เจ้าหน้าที่ให้เข้าไปสำรวจและชี้แจงนโยบายของห้างฯ ให้ผู้ประกอบการทราบ
2. เมื่อผู้ประกอบการรับทราบและตกลงยอมรับเงื่อนไข สามารถชำระค่าตอบแทนได้ตามวิธีการต่อไปนี้ 2.1 ชำระโดยผ่านตัวแทนพร้อมรับสติ๊กเกอร์เครื่องหมายและเอกสารรับรองการใช้สิทธิให้
ผู้ประกอบการ
2.2 ชำระโดยการโอนเงินเข้าบัญชีสะสมทรัพย์ ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) สาขา
รามอินทรา กม.8 ชื่อบัญชี ห้างหุ้นส่วนจำกัด พี.เค เรคคอร์ด เลขที่บัญชี 276 – 1 – 38037 – 2
2.3 ชำระโดยเช็คขีดคร่อมสั่งจ่ายในนามห้างหุ้นส่วนฯ



หมายเหตุ

การชำระเงินตามข้อ 2.3 บริษัทฯ จะจัดส่งสติ๊กเกอร์เครื่องหมายและเอกสารรับการใช้สิทธิให้กับ
ผู้ประกอบการหลังจากนำเช็คไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารของผู้สั่งจ่ายแล้วภายใน 3 วันทำการ โดยจะจัด
ส่งสำเนาเอกสารให้กับผู้ประกอบการทางโทรสารก่อน และในกรณีที่ยอดชำระเกิน 3,600 บาทต่อปีขึ้นไป สามารถแบ่งชำระเป็น ครั้งละ 6 เดือน หากยอดชำระเกิน 6,000 บาทต่อปีขึ้นไป สามารถแบ่งชำระเป็น
ครั้งละ 4 เดือน โดยการโอนเงินเข้าบัญชีสะสมทรัพย์ที่แจ้งไว้ข้างต้น

สถานที่ติดต่อ เลขที่ 607 ซ.เกษมสุข 7 ถ.ประชาราษฎร์บำเพ็ญ แขวงสามเสนนอก
เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์. 0-2690-3736 โทรสาร. 0-2690-3736


























17. บริษัท บริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา จำกัด (เริ่มดำเนินการจัดเก็บ วันที่ 1 มีนาคม 2551)

งานที่จัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เผยแพร่ฯ - งานดนตรีกรรมและสิ่งบันทึกเสียงของนักแต่งเพลง
และค่ายเพลงที่เป็นสมาชิก จำนวน 5,378 เพลง
(1. บริษัท มิวสิค ฟาร์ม จำกัด 2. บริษัท บัตเตอร์ฟลาย เรคคอร์ด จำกัด
3.บริษัท ไชยอนันต์ โปรโมชั่น จำกัด 4.บริษัท เกสส์มิวสิค จำกัด
5.บริษัท ดีพีเอส มิวสิค จำกัด 6.บริษัท พี.จี.เอ็ม.เรคคอร์ด จำกัด
7. บริษัท เอลริช จำกัด 8.นายพิสุทธิ์ เกรียงบูรพา 9.นายทวิษย์ชญะ ตั้งสหะรังสี 10.บริษัท ดี.เค.เอส โฮลดิ้ง จำกัด 11. บริษัท ซาเล้ง
การดนตรี จำกัด 12.บริษัท ส้มเช้ง สตูดิโอ จำกัด 13.บริษัท เอ็ม.ดี.
เทป จำกัด)


* อัตราการจัดเก็บค่าเผยแพร่งานลิขสิทธิ์เพลง


ประเภทธุรกิจ
อัตราการจัดเก็บ
ตู้หยอดเหรียญคาราโอเกะ
300 บาท/จอ/เดือน
บูธหยอดเหรียญ
350 บาท/จอ/เดือน
ห้องคาราโอเกะ
600 บาท/จอ/เดือน
ห้องโถงในภัตตาคาร/ร้านอาหารที่มีการร้องคาราโอเกะ
5,000 บาท/เครื่อง/ปี
ตู้เพลง (Juke box)
250 บาท/จอ/เดือน
การใช้งานดนตรีกรรมผ่านสิ่งบันทึกเสียง (ไม่มีภาพ)
เช่น ร้านอาหาร ภัตตาคาร สวนอาหาร ฯลฯ
3,000 บาท/ปี
สถานประกอบการสายการบิน
450 บาท/เที่ยว
สถานประกอบการโรงแรม
60 บาท/ห้อง/ปี

เงื่อนไขในการจัดเก็บค่าตอบแทน มีดังนี้

1. ผู้ประกอบการจะต้องยื่นขออนุญาตใช้สิทธิในการเผยแพร่งานลิขสิทธิ์เพลงเพื่อการค้า ในงานดนตรีกรรม สิ่งบันทึกเสียง และโสตทัศนวัสดุ ก่อนนำงานอันมีลิขสิทธิ์ ซึ่งบริษัทฯ ได้รับมอบหมายให้ดูแลการจัดเก็บค่าตอบแทนไปใช้เผยแพร่ในสถานประกอบการของผู้ประกอบการทุกครั้ง


2. ผู้ประกอบการที่ประสงค์จะขออนุญาตใช้สิทธิ จะต้องชำระค่าตอบแทนให้กับบริษัทฯ ตามระยะเวลา
และอัตราค่าตอบแทนที่บริษัทฯ ได้กำหนดไว้ตามประเภทของการใช้งาน
3. ผู้ประกอบการจะต้องใช้ผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องมีลิขสิทธิ์หรือได้รับอนุญาตจากบริษัทฯ ในการเผยแพร่งาน

4. ผู้ประกอบการจะต้องติดหลักฐานการได้รับอนุญาต (สติ๊กเกอร์) ไว้บนอุปกรณ์การใช้งาน หรือบริเวณสถานประกอบการให้เห็นชัดเจน


วิธีการ / ขั้นตอนการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์

ผู้ประกอบการสามารถติดต่อชำระค่าตอบแทนการใช้สิทธิในการเผยแพร่งานลิขสิทธิ์เพลงได้ 3 วิธี ดังนี้

(1) ชำระค่าลิขสิทธิ์ผ่านตัวแทน จัดเก็บของบริษัทฯ ทั่วประเทศ

ผู้ประกอบการสามารถชำระค่าตอบแทนการจัดเก็บของบริษัทฯ โดยบริษัทฯ ตัวแทนจะต้องยื่นแสดง
บัตรประจำตัวและใบอนุญาตการเป็นตัวแทนการจัดเก็บของบริษัทฯ ให้กับผู้ประกอบการทำการตรวจสอบก่อน
ทุกครั้ง เมื่อผู้ประกอบการได้รับคำแนะนำจากตัวแทนในการสมัครสมาชิกแล้ว ผู้ประกอบการจะต้องกรอก
รายละเอียดและลงนามในใบสมัครของบริษัทฯ พร้อมแนบสำเนาเอกสาร ดังนี้
1.1 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
1.2 สำเนาทะเบียนบ้าน
1.3 หลักฐานการเป็นนิติบุคคล ทะเบียนการค้า และอื่น ๆ

เมื่อชำระค่าตอบแทนผ่านตัวแทนการจัดเก็บตามประเภทและจำนวนที่ผู้ประกอบการประสงค์ใช้งานแล้ว
ผู้ประกอบการจะได้รับสำเนาใบสมัครสมาชิก จากตัวแทนจัดเก็บเพื่อใช้เป็นหลักฐานชั่วคราว ในการได้รับอนุญาต
ซึ่งบริษัทฯ จะทำการจัดส่งหลักฐานการอนุญาต (สติ๊กเกอร์) ฉบับจริงให้กับผู้ประกอบการภายใน 7 วันทำการหลังจากได้รับข้อมูลการสมัครและการขออนุญาตจากตัวแทนจัดเก็บถูกต้องครบถ้วนเรียบร้อย เพื่อให้ผู้ประกอบการติดแสดงไว้บนอุปกรณ์การใช้งานหรือบริเวณสถานที่ที่ใช้งานให้เห็นชัดเจน

(2) ชำระค่าลิขสิทธิ์โดยการโอนเงินผ่านธนาคารในนามบริษัท บริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา จำกัด

ธนาคารกสิกรไทย จำกัด สาขาถนนวิทยุ บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 709-241-0166


เมื่อผู้ประกอบการโอนเงินผ่านธนาคารเข้าบัญชีบริษัทฯ ข้างต้นแล้วนั้น ให้ผู้ประกอบการแฟ็กซ์สำเนา
ใบโอนเงิน สำเนาบัตรประชาชน/ทะเบียนบ้านของผู้ประกอบการหรือหลักฐานการเป็นนิติบุคคล ทะเบียนการค้า รวมทั้งรายละเอียดตามประเภทและจำนวนที่ผู้ประกอบการประสงค์ใช้งานมาที่บริษัทฯ เพื่อลงทะเบียนสมาชิก และบริษัทฯ จะได้จัดส่งหลักฐานใบเสร็จรับเงินและหลักฐานการได้รับอนุญาต (สติ๊กเกอร์) เพื่อให้ผู้ประกอบการ
ติดแสดงไว้บนอุปกรณ์การใช้งานหรือบริเวณสถานที่ที่ใช้งานให้เห็นชัดเจน

(3) ชำระค่าลิขสิทธิ์โดยตรงที่ บริษัท บริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา จำกัด เลขที่ 21/38 อาคาร
อาร์ซีเอ บล็อค ซี (ชั้น 2 – 4 ) ซ.ศูนย์วิจัย-พระราม 9 ถ.พระราม 9 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องนำหลักฐานบัตรประจำตัวประชาชน/สำเนาทะเบียนบ้าน/หลักฐานการเป็น
นิติบุคคล ทะเบียนการค้าและอื่นๆ โดยมาเขียนใบสมัครสมาชิก ณ ที่ทำการของบริษัทฯ


สถานที่ติดต่อ เลขที่ 21/38 อาคารอาร์ซีเอ บล็อค ซี (ชั้น 2 – 4 ) ซ.ศูนย์วิจัย-พระราม 9
ถ.พระราม 9 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์. 0-2641-4930 โทรสาร. 0-2641-4931