วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

ประวัติเพลงลูกทุ่ง

ถ้าหากกล่าวถึงคำว่า “เพลงลูกทุ่ง” นั้นคงไม่มีใครที่ไม่เคยได้ยินคำๆนี้ สังคมไทยมีความผูกพันกับเพลง ลูกทุ่งมาช้านานแล้วเพราะเป็นเพลงที่มีลักษณะสัมพันธ์กับท้องถิ่นอย่างชัดเจนโดยมีการแทรกความเป็นท้องถิ่นด้านคำร้องทั้งภาษาถิ่น , สาระของบทเพลงที่บอกเล่าเรื่องราวชีวิตและสังคมที่เกี่ยวข้องกับคนชนบทในแง่มุมต่างๆ ซึ่งในอดีตเราจะเรียกบทเพลงประเภทนี้ว่าเพลงตลาดหรือเพลงชีวิต แต่เริ่มมีการใช้เรียกว่า “เพลงลูกทุ่ง” ในราว พ.ศ. 2500 และเริ่มเรียกแพร่หลายในปีพ.ศ. 2507 จากรายการโทรทัศน์ของช่อง4 ซึ่งตั้งชื่อรายการว่า “เพลงลูกทุ่ง”
ตลาดเพลงลูกทุ่งในยุคแรกนั้นจะมีการเผยแพร่ผลงานตามงานคอนเสริต์ต่างๆ , สถานีวิทยุ , สถานีโทรทัศน์ และแผ่นครั่ง โดยทางศิลปินหรือวงดนตรีจะเป็นผู้ดำเนินงานเองทั้งหมด แต่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระบบนายทุนในราว พ.ศ. 2516 โดยเริ่มจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1(พ.ศ. 2504-2509) และฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2510-2514) มีเนื้อหาสาระเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศอยู่ที่การทดแทนการนำเข้าและเข้าสู่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2515-2519) รัฐบาลได้ออกพ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุนพ.ศ. 2520 ที่ให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ลงทุนทำให้ฐานะเศรษฐกิจและรายได้ประชาชาติได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 18 เท่าตัว
นอกจากภาวะเศรษฐกิจดังกล่าวแล้วปัจจัยที่ดึงดูดให้เข้ามาลงทุนในธุรกิจนี้อีกก็คือกฎหมายคุ้มครองการผลิตและการสร้างสรรค์ผลงานเพลงของผู้ผลิตและผู้แต่งเพลง และประกอบกับในช่วงนั้นมีการผลิตเครื่องเล่นเทปและวิทยุขนาดเล็กที่ผู้ฟังสามารถพกติดตัวฟังได้ตลอดเวลาที่เรียกว่า Sound About หรือ Walkman เครื่องเสียงชนิดนี้ได้รับความนิยมแพร่หลายและราคาถูกลง จึงทำให้นักฟังเพลงตื่นตัวในการฟังเพลงมากขึ้น รวมถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้นทั้งระบบการบันทึกเสียงและเทปคาสเซท จากปัจจัยเหล่านี้ส่งผลต่อวงการเพลงลูกทุ่งอย่างมากมายทำให้เกิดธุรกิจค่ายเพลงเพิ่มมากขึ้นและต่างต้องแข่งขันกันอยู่ตลอดเวลา หากดูจากรายงานการสรุปเรื่องธุรกิจเทปคาสเซทของฝ่ายวิชาการ ธนาคารกสิกรไทย(2529) พบว่าในแต่ละเดือนมีเทปคาสเซทออกมาใหม่ไม่ต่ำกว่า 15-20ชุด
สำหรับวงการเพลงลูกทุ่งมีค่ายเทปที่ดำเนินการผลิตผลงานเพลงออกสู่สาธารณชนหลายค่ายด้วยกัน อาทิเช่น
พ.ศ. 2519 ห้างหุ้นส่วนนางฟ้า โปรโมชั่น
พ.ศ. 2521 ห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงงานอุตสาหกรรมเลปไล้
พ.ศ. 2524 ชัวร์ออดิโอ จำกัด , เมโทรแผ่นเสียง-เทป(1981 )จำกัด
พ.ศ. 2530 เอส.ทีจำกัด
พ.ศ. 2531 โปรมีเดียมาร์ทนิธิทัศน์โปรโมชั่น
พ.ศ. 2532 ท็อปไลน์มิวสิค
พ.ศ. 2534 สมาร์ทบอมป์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ , เอส.เอ็น.อาร์ต.โปรโมชั่น,

บ๊อกซิ่งซาวด์ จำกัด
พ.ศ.2535 ซีวี.มิวสิค
พ.ศ.2536 เจ.เค.ซี จำกัด, ทองทอง 99 จำกัด
พ.ศ.2537 แปซิฟิก เรคคอร์ด จำกัด, โอโอพี โปรโมชั่น
พ.ศ.2538 ซี.เอ.สตูดิโอ จำกัด, มาสเตอร์เทป, ไร้ทมิวสิก จำกัด, มีเดีย มิวสิ

กกรุ๊ป (เอ็มเอ็มจี), สินชัย โปรโมชั่น, เอ็มดี มีเดีย จำกัด
พ.ศ.2539 ซี.ที.อาร์ โปรโมชั่น, บุษปะเกศ สตูดิโอ จำกัด, รถไฟดนตรี

(1995) จำกัด, เอส เอส มิวสิค เอนเตอร์เทนเมนต์ จำกัด,
จาตุรงค์ สตูดิโอ, เอส เอส มิวสิค เอนเตอร์เทนเมนท์, วีณา เมโลดี้
จำกัด
พ.ศ.2540 ไอ อี เอส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด, บอลลูน จำกัด, เซาท์โฟร์แทค,

ลูกทุ่งนีโอ (เครือบริษัทนิโอ มิวสิค เน็ตเวิร์ค), กริซ เอนเตอร์เท
นเมนต์, เอ็มจีเอ เรคคอร์คส จำกัด, ลีลา เรคคอร์ด, พานมณีโปรโม
ชั่น
พ.ศ.2541 กันตนา มิวสิค จำกัด, เอ.ซี เรคคอร์ส, ดอกบัวคู่โปรโมชั่น

จำกัดเป็นต้น


ไม่มีความคิดเห็น: