วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

หากคิดจะทำร้านคาราโอเกะจะเลือกซื้อเครื่องคาราโอเกะอย่างไร

สำหรับเถ้าแก่หรือผู้ที่อยากเป็นเถ้าแก่ร้านคาราโอเกะในอนาคตนั้น ก่อนที่จะเริ่มลงทุนซื้ออุปกรณ์กันยกใหญ่ลองมาพิจารณาถึงปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้เราเลือกซื้อของได้คุ้มค่าเงินกัน

1. กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย : คนที่คาดว่าจะเข้ามาใช้บริการในร้านของเราคือคนกลุ่มไหน อาจจะพิจารณาง่ายเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆก่อนคือ 1. ลูกค้าผู้ใหญ่และครอบครัว 2. ลูกค้าวัยรุ่น หากลูกค้าของคุณเป็นกลุ่มผู้ใหญ่เครื่องเล่นคาราโอเกะที่คุณจะเลือกใช้ควรจะเป็นแบบ 2 ระบบคือมีทั้ง VCD และ MIDI file เพราะว่าเพลงที่กลุ่มลูกค้าผู้ใหญ่ชื่นชอบในบางครั้งไม่มี VCD จำหน่าย แต่ในระบบ MIDI file จะมีเพลงเก่าเพลงหายากในท้องตลาดแบบครบถ้วน เราเลยควรจะมีระบบทั้ง 2 แบบเพื่อให้กลุ่มลูกค้าใช้บริการได้ตรงความต้องการ และสำหรับคุณหากต้องการให้ลูกค้าวัยรุ่นนั้นคุณสามารถใช้เครื่องเล่นคาราโอเกะได้หลากหลายเพราะเครื่องเล่นส่วนใหญ่สามารถอ่านแผ่น VCD ได้แล้วและวัยรุ่นส่วนใหญ่ชอบร้องเพลงตามกระแสนิยมความจุของเครื่องไม่จำเป็นต้องมากนักเน้นเรื่องการปรับเพิ่มเพลงใหม่เข้าไปตลอดเวลามากกว่าซึ่งในระบบคาราโอเกะสำหรับวัยรุ่น สามารถเลือกซื้อได้ตั้งแต่ระบบ VCD 100 แผ่น , 200 แผ่น /ระบบHarddisk และเครื่องเล่นเฉพาะผู้ผลิตหลายราย

2. งบประมาณ : ในการซื้อเครื่องคาราโอเกะนั้นหลักใหญ่เราควรจะตั้งงบประมาณของเราขึ้นมาไว้ก่อนจะดีกว่าที่ได้เลือกดูสินค้าก่อนแล้วมาตัดสินใจที่หลักเพราะจริงๆเครื่องเล่นคาราโอเกะในท้องตลาดมีราคาที่แตกต่างกันมากมาย หากต้องการสินค้าราคาถูกเราสามารถเลือกซื้อสินค้าจากจีนหรือสินค้าที่ผลิตเองในเมืองไทยซึ่งราคาค่อนข้างถูกและคุณภาพก็สามารถใช้งานได้ดี แต่หากมีงบประมาณและต้องการพิจารณาถึงแบรนด์อาจจะเลือกซื้อสินค้าของเกาหลีหรือญี่ปุ่นที่มีคุณภาพดีแต่ราคาก็ค่อนข้างสูงตามคุณภาพด้วย

3. การบริการหลังการขาย : ธุรกิจคาราโอเกะเป็นธุรกิจบันเทิงที่มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลาตามกระแสของเพลงที่ออกมาทุกวันเพราะฉะนั้นเพลงของร้านเราก็ต้องมีการเพิ่มเติมทุกวันตามเพลง หากบริษัทที่เราซื้อเครื่องคาราโอเกะมีบริการด้านการเพิ่มเพลงดูแลลูกค้า รวมถึงกรณีที่เครื่องขัดข้องสามารถมาให้บริการได้ทันทีนั้นจะเป็นสิ่งที่ดีมาก เพราะปกติร้านคาราโอเกะจะเป็นธุรกิจกลางคืนซึ่งหาก ณ เวลาเปิดร้านแล้วเครื่องไม่สามารถทำงานได้จะทำให้เสียโอกาสในการขาย เพราะฉะนั้นหากบริษัทสามารถให้บริการแก้ไขเครื่องในเวลากลางคืนได้จะทำให้ร้านสามารถให้บริการลูกค้าได้ตลอดเวลาไม่เสียโอกาสในการขายอีกด้วย

3 ปัจจัยด้านต้นเป็นข้อควรพิจารณาในการเลือกซื้อคาราโอเกะก่อนเปิดร้าน หากเราสามารถเลือกเครื่องได้เหมาะสมกับร้านของเราจะทำให้ลูกค้าติดใจและชื่นชอบในการให้บริการ

เครื่องเล่นคาราโอเกะ

หากจะแบ่งประเภทเครื่องเล่นคาราโอเกะออกใหญ่ๆคงแบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ

1. เครื่องเล่นคาราโอเกะที่ต้องใส่แผ่นค้างไว้ เช่นเครื่องเล่น VCD , DVD แบ่งใส่แผ่นหรือเครื่องเล่น VCD 100 แผ่น , 300แผ่นเป็นต้น เครื่องเล่นประเภทนี้มีข้อเสียตรงที่ต้องใส่แผ่นค้างไว้ตลอดเวลา , ใช้เวลาโหลดเพลงค่อนข้างนาน และ เครื่องร้อนง่าย แต่ข้อดีของเครื่องเล่นประเภทนี้คือมีราคาถูก และหากใช้ในสถานประกอบการไม่ต้องชำระค่าทำซ้ำแค่ต้องใช้แผ่นถูกลิขสิทธิ์เท่านั้น

2. เครื่องเล่นคาราโอเกะประเภทฮาร์ตดิสก์ เครื่องเล่นประเภทนี้คล้ายคอมพิวเตอร์คือมีการบรรจุเพลงเข้าไปในเครื่องซึ่งสามารถเล่นได้ระบบของ VCD และ ระบบ MIDI file ข้อดีของเครื่องเล่นประเภทนี้คือสะดวกในการใช้ง่าย , โหลดเพลงได้เร็ว , สามารถจุเพลงได้มาก และมีระบบฟังก์ชั่นสำหรับคาราโอเกะต่างๆ เช่น โปรแกรมเพลงล่วงหน้า , ระบบจองห้อง , ระบบสั่งอาหาร , ระบบคะแนน และอื่นๆอีกมากมาย แต่ข้อเสียสำหรับใช้ในสถานประกอบการคือต้องชำระลิขสิทธิ์ทำซ้ำให้กับเจ้าของลิขสิทธิ์ที่คุณใช้


3. เครื่องเล่นคาราโอเกะเฉพาะยี่ห้อผู้ผลิต คือเครื่องเล่นที่จะอ่านระบบคาราโอเกะได้เฉพาะแผ่นที่ผู้ผลิตยี่ห้อนั้น ผลิตออกมาเท่านั้น เช่นเครื่องเล่น LG , Soken , Munia เป็นต้น เครื่องเล่นประเภทนี้มักจะมีความทนทานสูง คุณภาพดีมีการรับประกัน ,รูปทรงสวยงาม ,ระบบคาราโอเกะครบวงจร แต่มักจะติดปัญหาเรื่องการเพิ่มเพลงใหม่ และสำหรับสถานประกอบการต้องชำระค่าลิขสิทธิ์ทำซ้ำให้เจ้าของลิขสิทธิ์ด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

RS 2008

เป้าหมายปี 2551 : 3,100 ล้านบาท
แบ่งธุรกิจคอนเทนต์ เป็น 4 กลุ่มย่อย ซึ่งต้องการรายได้ 2,300 ล้านบาท
1. ธุรกิจเพลง 870 ล้านบาท ซึ่งจะวางอัลบั้มราว 200 อัลบั้มต่อปี โดยมีการขยายเซกเมนต์ของผู้ฟังออกไปให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม นอกเหนือจากศิลปินวัยรุ่นแล้วจะมีกลุ่มลูกทุ่งอย่าง บิว กัลยาณี บ่าววี โปงลางสะออน หรือศิลปินคุณภาพอย่าง พัชริดา เจนิเฟอร์ คิ้ม ซิลลี่ฟูล ฯลฯ
2. ธุรกิจโชว์บิซ ตั้งเป้ารายได้ 600 ล้านบาท ประกอบด้วยคอนเสิร์ตใหญ่จากอาร์เอส 3-4 รายการ อีเวนต์ของอาร์เอสเฟรชแอร์ 6-7 รายการ และโชว์ใหญ่จากต่างประเทศ 1-2 รายการภายใต้การดูแลของอาร์เอสไอดรีม ด้านธุรกิจภาพยนตร์ ตั้งเป้าไว้ราว 300 ล้านบาท
3. ธุรกิจกีฬา ซึ่งปีนี้มีไฮไลท์อยู่ที่การแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป หรือ ยูโร 2008 รวมถึงการเปิดบริการสนามฟุตบอลในร่ม เอสวัน ซึ่งจะสร้างรายได้ให้มากกว่า 500 ล้านบาท4. ธุรกิจการบริหารสื่อ ที่ประกอบด้วย 4 สื่อหลัก จะสามารถสร้างรายได้ 700 ล้านบาท ประกอบด้วย
4.1 สื่อรายการโทรทัศน์ 200 ล้านบาท มีรายการโทรทัศน์อยู่ในการดูแล 11 รายการ
4.2 สื่อรายการวิทยุ 300 ล้านบาท จากการบริหาร 2 สถานีหลัก Max 94.5 Digital Radio และ Cool 93 Fahrenheit
4.3 สื่อสิ่งพิมพ์ ราว 70-80 ล้านบาท
4.4 สื่อภายในโมเดิร์นเทรด ซึ่งถือเป็นธุรกิจใหม่ของอาร์เอส คาดว่าจะมีรายได้ราว 125-130 ล้านบาทในปีนี้


Digital Music
lอาร์เอส ดิจิตอล (RS Digital) ซึ่งนอกจากมีการดาวน์โหลดเพลงแล้ว ยังมีคอนเทนต์ต่างๆ ในมือถือ mobiclub.net และมีกลยุทธ์ปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการ RTD (Ready To Download)
lอาร์เอสมีแผนที่จะรุกตลาดดิจิตอลคอนเทนต์ด้วยเปิดตัวบริการความบันเทิงรูปแบบใหม่ๆ อาทิ บริการ SMS TONE, การขายคอนเทนต์เป็นแพคให้พาร์ทเนอร์ไปทำการตลาดเอง, การบัดเดิ้ลคอนเทนต์ลงในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และเครื่องเล่น MP3
lด้านธุรกิจบันเทิงสาขาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจเพลง, ธุรกิจสื่อโทรทัศน์, ธุรกิจสื่อวิทยุ, ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์, ธุรกิจผลิตภาพยนตร์และรับจ้างผลิตออกสู่ตลาด รวมถึงธุรกิจดิจิตอลคอนเทนต์ โดยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับคอนเทนต์ต่างๆที่ทางบริษัทมีอยู่ให้ออกมาในรูปแบบของบริการเสริมบนมือถือ ได้แก่ ริงโทน, คัลเลอร์วอลเปเปอร์, จาวาเกมส์, จาวาคาราโอเกะ ฯลฯ ผ่านทาง www.mobiclub.net ล่าสุด ทางบริษัทยังทำการเปิดตัวธุรกิจใหม่ซึ่งเป็นระบบการทำ Payment ครบวงจรของตัวเอง ภายใต้ชื่อ RTD (Ready To Download) นับเป็นการเปิดช่องทางจำหน่ายคอนเทนต์ผ่านตัวแทนจำหน่ายและร้านค้าปลีก-ส่ง พร้อมการนำคอนเซ็ปต์การทำตลาดแบบ พาร์ตเนอร์รีเลชั่นเมเนจเมนต์ (Partner Relation Management) หรือ PRM มาใช้เป็นหัวใจสำคัญในการผลักดันธุรกิจดิจิตอลคอนเทนต์ให้ประสบความสำเร็จ ประกอบกับทางบริษัทฯมีนโยบายที่จะเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายเพลงบนเว็บไซต์ที่เป็นพันธมิตรให้เป็นหน้าร้านออนไลน์ที่มีการซื้อขายเพลงได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยอาร์.เอส.ฯ ได้ร่วมกับ บริษัท บัณฑิต เซ็นเตอร์ จำกัด จำหน่ายเพลงออนไลน์ของศิลปินต่างๆ ผ่านทางเว็บไซต์ชั้นนำชื่อดังกระปุกดอทคอม )Kapook.com) เป็นรายแรก เนื่องจากมีอัตราการเข้าใช้บริการกว่า 80 ล้านคน/เดือน

GMM 2008


เป้าหมายปี 2551 : 8,000 ล้านบาท
lGMM แบ่งโครงสร้างธุรกิจออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือกลุ่มเพลง ในการดูแลของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และกลุ่มสื่อ ในนาม จีเอ็มเอ็ม มีเดีย ทั้ง 2 ส่วนจะร่วมกันสร้างรายได้ 8,000 ล้านบาทให้กับองค์กร ในสัดส่วน 56% ต่อ 44%
lโมเดลธุรกิจใหม่ Total Music Business ซึ่งประกอบด้วย Singing, Listening & Watching Business, Segment Market และ Subsidize Marketing
2.1 Listening Business หมายถึงการสร้างรายได้จากการที่เพลงถูกนำไปเปิดตามสถานที่ต่าง ๆ ทั้งสถานีวิทยุ ร้านอาหาร โรงพยาบาล สายการบิน และการนำเพลงไปใช้ในรูปแบบมิวสิกมาร์เก็ตติ้ง เช่น การบันเดิลลงโทรศัพท์มือถือ ไอพอต หรือขายตรงบนอินเทอร์เน็ต
2.2 Watching Business เป็นการสร้างรายได้จากโชว์บิซ ที่สามารถสร้างรายได้ต่อยอดไปในอีกหลายช่องทาง ทั้งการจำหน่ายบัตร วีซีดี ดีวีดี อินเทอร์เน็ต เคเบิลทีวี
2.3 Singing Business เป็นการสร้างรายได้จากคาราโอเกะ
2.4 Segment Marketing มีการปรับกลุ่มเพลงจากเดิมเป็นกลุ่มสตริง และลูกทุ่ง เปลี่ยนเป็น 6 กลุ่มหลักที่สามารถตอบโจทย์พฤติกรรมการบริโภคที่เป็นไปตามรสนิยมการฟังเพลง ประกอบด้วย Teen Idol, Pop Idol, Rock, Vintages, Niche Market และ Country
โมเดล Total Music Business เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปี 2549 เคยเป็นสัดส่วนรายได้ 40% ของธุรกิจเพลง ที่ยังเป็นรองรายได้จาก Physical ถึงราว 20% แต่วันนี้ Total Music Business กลับสามารถสร้างรายได้ครึ่งหนึ่งให้กับธุรกิจเพลง 4,000 ล้านบาทของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่


Digital Music
แกรมมี่ให้ภาพเทรนด์ของดิจิทัล มิวสิกไทยว่านับจากปี 51 นี้จะโตขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการจัดเก็บรายได้จากสินค้าและบริการที่ถูกหมายหมายมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยรายได้มาจาก 2 กลุ่มหลักคือ โมบายซึ่งจะยังคงมีส่วนแบ่งประมาณ 90% และที่เหลือเป็นอินเทอร์เน็ต
โดยคาดการณ์ว่ามือถือจะเพิ่มขึ้น 15% หรือ 40 กว่าล้านเลขหมายจาก35ล้านในปี 49 ส่วนของอินเทอร์เน็ตคาดการณ์ว่าจะมียอด ผู้ใช้ประมาณ10 ล้านคน โตกว่าปี 49 ประมาณ 10%เทรนด์ดังกล่าวนี้สอดคล้องกับเทรนด์ของเอเชีย โดยแกรมมี่มีนโยบาย
lด้านโมบาย โอกาสทางการตลาดแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่คือ 1.กลุ่มที่ใช้บริการของ GMMD สม่ำเสมออยู่แล้วซึ่งมีอยู่ประมาณ 5 ล้านเลขหมาย จากจำนวนผู้สามารถใช้บริการเสริมได้ 12 ล้านเลขหมายของเครื่อง 40 ล้านเลขหมาย กลุ่มนี้สามารถกระตุ้นให้ใช้เพิ่มขึ้นได้ 2.กลุ่มที่ยังไม่เคยใช้บริการของ GMMD อีก 7 ล้านเลขหมาย ต้องสร้างการทดลองใช้ และ 3.กลุ่มในอนาคตซึ่งจะโตขึ้นเรื่อยๆ คือผู้ใช้โทรศัพท์ที่จะอัพเกรดเครื่องมาใช้บริการเสริมได้หรืออีกมากกว่า 23 ล้านเลขหมาย
lด้านอินเทอร์เน็ต ทั้งราคาคอมพิวเตอร์และชั่วโมงอินเทอร์เน็ตที่ถูกลง และการที่คนรุ่นใหม่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นมากขึ้น จะช่วยกระตุ้นให้ตลาดดิจิทัล มิวสิกเติบโตขึ้น นอกจากนั้นยังพบว่าคนไทยนิยมเว็บบันเทิงมากที่สุด ปัจจุบันก็มีส่วนแบ่งในตลาดดิจิทัล มิวสิกสูงที่สุดด้วย กลยุทธ์ในส่วนของอินเทอร์เน็ตมีทั้งการทำการตลาดกับเจ้าตลาดด้าน PC เช่น HP ทำการ Bundle โปรแกรม IKEY เวอร์ชันที่สามารถดาวน์โหลดและร้องคาราโอเกะให้บริการ Singing Online เป็นรายแรก ซึ่ง ใช้ง่ายและสะดวก และมีการสร้างพันธมิตรเช่น ท็อปไฟว์เว็บบันเทิงได้แก่ sanook.com, pantip.com, kapook.com, thai2hand.com, dek-d.com จะเพิ่มเติมอีกในอนาคต เพิ่มช่องทางการขายคอนเทนต์ โดยการทำตลาดร่วมกัน ทั้งโปรโมรชั่นพิเศษ หรือนำคอนเทนต์ของแกรมมี่ไปดิสเพลย์อยู่ในเว็บต่างๆ เหล่านี้ เป็นเสมือนการวาง Outlet ในที่ซึ่ง Traffic ดี แล้วจัดแบ่งรายได้ร่วมกัน
lDevice หรือเครื่องมือ ได้แก่ HP, Nokia, Motorola, Samsung, Samart I-Mobile, iPod ซึ่งล้วนมียอดจำหน่ายสูงและลูกค้ามักหมุนเวียนเข้าช็อปหรือศูนย์เป็นประจำเพื่อติดตามสินค้าใหม่ๆ หรืออุปกรณ์เสริม GMMD จะนำคอนเทนต์ไป Bundling เข้ากับกลุ่มนี้เพื่อขยายช่องทางการขาย 4.กลุ่มApplication หรือ Platform คือเจ้าของเทคโนโลยีหรือเจ้าของตัวแทนแพลตฟอร์มตัวแทนหลักในประเทศไทย ได้แก่บริษัทเตียวฮง ไพศาล, TRUE เพื่อสร้างบริการใหม่ๆ ดังเช่น Karaoke Online และ Music Game ซึ่งใกล้จะเปิดตัวในเร็ววันนี้
lDistributor คือ Samart I-Mobile Shop ของกลุ่มสามารถ ซึ่งเป็นเครือข่ายจำหน่ายอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ จะให้บริการดาวน์โหลดเพลงลงบนอุปกรณ์ต่างๆ

คุณเองก็เขียนเพลงได้


เลือก Theme (หัวข้อ)ของเพลง
จุดมุ่งหมายสูงสุดของนักแต่งเพลงคือการแต่งเพลงไห้โดนใจผู้ฟัง ถ้าจะถามว่าแล้วเนื้อหาแบบไหนที่จะโดนใจผู้ฟัง คำตอบง่ายๆก็คือเรื่องราวที่สำคัญๆในชีวิตของเราๆนั้นเอง
ซึ่งบทเพลงที่จะโดนใจผู้ฟังนั้นต้องมีทำนองเพลง,ชื่อเพลง รวมถึงการเรียบเรียงไปในทิศทางเดียวกันถ้าผสมผสานทุกอย่างได้ลงตัวเพลงของคุณก็จะครองใจผู้ฟังได้อย่างแน่นอน
เคล็ดลับในการเขียนเพลงก็คือการพัฒนาความคิดให้ใหม่และทันต่อเหตุการณ์อยู่เสมอ และขึ้นอยู่กับกลุ่มผู้ฟังของคุณ เช่น ถ้าคุณต้องเขียนเพลงให้โรงเรียน,โบสถ์ หรือคอนเสริต์ต่างๆคุณก็ต้องเลือกเรื่องราวให้เหมาะกับกลุ่มผู้ฟังของคุณ ซึ่งแต่ละกลุ่มก็มีเรื่องราวที่แตกต่างกันไปเช่นเดียวกันถ้าคุณต้องการแต่งเพลง pop/rock คุณก็ต้องทำความเข้าใจกับกลุ่มผู้ฟังของคุณเสียก่อน
ถึงแม้ว่าในบทเพลงนั้นเรามักให้ความสำคัญกับเนื้อหาหลักของมันแต่ถ้าคุณ
ให้ความสำคัญกับเนื้อหารองในเนื้อเพลงด้วยจะช่วยเสริมให้เนื้อหาหลักของคุณแข็งแรงขึ้น
และเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น เนื้อหาที่นำมาแต่งเพลงสามารถแบ่งได้หลายอย่าง เช่น รอคอยความรัก,หลงรัก,ขอความรัก,ฉลองในความรัก,อกหัก,เล่าเรื่องส่วนตัว,สถานที่และวัตถุ,
เทศกาล,มิตรภาพ,ครอบครัว,ชีวิต,เต้นรำ,ดนตรี,บทกลอน,งาน,เงิน ฯลฯ

ชื่อเพลงฮิต (The hit tittle )
มีนักแต่งเพลงบางคนเริ่มแต่งเพลงจากชื่อเพลงเพียงเท่านั้นแต่นักแต่งส่วนใหญ่มักแต่งชื่อเพลงหลังจากที่แต่งเพลงนั้นเสร็จแล้ว
ชื่อเพลงจะสื่อถึงเนื้อหาของบทเพลงทั้งหมดของคุณและช่วยให้ผู้ฟังรับรู้ถึงอารมณ์และเนื้อหาของเพลง เช่น เพลง I wanna dance with somebody หรือ เพลง Saving all my love for you ซึ่งผู้ฟังสามารถเดาเนื้อหาได้ทันทีที่เห็นชื่อเพลง แต่บทเพลงบางเพลงก็ตั้งชื่อโดยใช้สัญลักษณ์แทน เช่น Ebony and Ivory ซึ่งแปลว่าคีย์เปียโนสีขาวและสีดำที่ต้องทำงานร่วมกันในการสร้างทำนองเพลง แต่ความหมายที่แท้จริงของเพลงนี้ คือ รณรงค์ไม่ให้มีการเหยียดสีผิว แต่ก็ไม่ได้ใช้คำตรงๆเหมือน Hey,Black and White People should Cooperate
จำไว้ว่าชื่อเพลงคือสิ่งแรกที่ผู้ฟังจะรู้จักเพลงของคุณเพราะฉะนั้นคุณควรให้ความสำคัญกับชื่อเพลงของคุณ



วิธีการตั้งชื่อเพลง
ชื่อเพลงในโลกนี้มีมากมายหลากหลายประเภทแต่เราสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆคือ
1.คำ(Label ) : มีชื่อเพลงมากมายที่ใช้คำตรงตัวในการแต่งเพลงซึ่งเหมาะกับเพลงที่เกี่ยวกับ คน,สถานที่,สิ่งของที่มีความหมายชัดเจน เช่น Dreams,Magic
2.ประโยคบอกเล่า (Statement ) : โดยใช้ประโยคที่สามารถสรุปเนื้อหาทั้งหมดของบทเพลง อาจเป็นประโยคที่อยู๋ในบทเพลง เช่น You give Love a Bad Name
ข้อสำคัญที่สุดในการใช้ประโยคบอกเล่า คือ คุณควรใช้ประโยคที่สั้นที่สุดที่สามารถอธิบาย
บทเพลงของคุณได้
3.ประโยคคำถาม (Question) : การตั้งชื่อเพลงโดยประโยคคำถามเป็นวิธีดึงดูดผู้ฟังอีกรูปแบบหนึ่ง โดยตั้งชื่อเพลงเป็นคำถามและให้ตัวเนื้อเพลงเป็นคำตอบเฉลย หรือ ตั้งชื่อเพลงด้วยคำถามที่ทุกๆคนตอบได้ เช่น How will I know หรืออาจใช้วิธีตั้งชื่อเพลงด้วย
ประโยคคำถามที่มีคำตอบเฉลยในตัว เช่น Who do you think u’re Foolin’ [not me] ก็เป็นวิธีดึงดูดผู้ฟังอีกวิธีหนึ่ง

วิธีการใช้คำ ( Figures of Speech )
เมื่อคุณร็ถึงวิธีการใช้คำจะช่วยให้คุณสามารถตั้งชื่อเพลง หรือเขียนเนื้อเพลงได้โดนใจผู้ฟังและมีความหมายลึกซึ้งอีกด้วย วิธีการใช้คำมีหลายวิธีดังนี้
1.สัญลักษณ์ : ชื่อเพลงหลายเพลงนำสัญลักษณ์ต่างๆมาใช้ในการตั้งชื่อ เช่น
Broken wings , Red red wine ซึ่งทุกคนจะเข้าดีอยู่แล้วว่า “ ปีก “ มีความหมายถึง อิสรภาพ และ “ ไวน์แดง “ คือยาพิษ
2.คำเปรียบเทียบ : บางกรณีการใช้สัญลักษณ์อาจไม่สื่อความหมายเท่าที่ควร คุณอาจใช้การเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นก็ได้ เช่น We are the world
3.คำเหมือน : ใช้การเปรียบเทียบกับสิ่งต่างๆเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น มักใช้คำว่าเหมือนกับ(like) ในประโยคด้วย เช่น Like a Virgin , Fly like an Engle
4.เปรียบเทียบสิ่งไม่มีชีวิตกับการกระทำของคน : นำสิ่งที่ไม่มีชีวิตมาใส่กริยาของคนเข้าไป หรือ เปรียบเทียบคนให้กลายเป็นวัตถุ เช่น Bridge over Trobled water ,
I am a Rock
5.ขยายรูปประโยค : เป็นการใส่ความรู้สึกเข้าไปในประโยคด้วย เช่น I only have eyes for you , Everybody wants to rule the world.
6.จากเนื้อหา : เป็นการตั้งชื่อจากเนื้อหาของบทเพลงเช่น Give Peace a chance
7.ใช้วลีหรือคำ2คำมาเชื่อมกัน : เป็นวิธีการตั้งชื่อที่น่าสนใจละผู้ฟังต้องติดตาม เช่น Head to Toe , 9to5 , White Rabbit
8.การเล่นคำ : วิธีนี้ต้องคำนึงถึงเนื้อหาของบทเพลงและการเรียงคำให้ไพเราะ เช่น I’ll Tennessee you in my dreams.
9.การเล่นตัวอักษร : เป็นการใช้คำที่มีตัวอักษรตัวเดียวกันมาใช้ เช่น Father Figure , Man in the Mirror.
10.การเล่นสระ : เป็นการใช้สระซ้ำๆ เช่น Ruby Tuesday
11.การซ้ำคำ : เป็นการใช้คำซ้ำๆเพื่อให้ติดหูผู้ฟัง เช่น Say say say say you say me.
12.ภาษาสแลง : เป็นการใช้คำที่กำลังนิยมอยู่ในขณะนั้นๆ เช่น Crazy for you

ท่อนฮุค (The Hook )
ชื่อเพลงของบทเพลงส่วนใหญ่มักจะเอามาจากประโยคเด็ดในท่อนฮุคซึ่งเป็นท่อนที่เล่นซ้ำบ่อยที่สุดในเพลงและเป็นท่อนที่พีค(peak)ที่สุดของเพลง มีนักแต่งเพลงหลายคนเริ่มแต่งเพลงจากท่อนฮุคก่อน และประโยคแรกที่ขึ้นฮุคหรือประโยคจบของท่อนฮุคต้องเป็นประโยคที่เด็ดที่สุดเพื่อให้โดนใจผู้ฟัง แต่ก็อยากลืมเรื่องราวก่อนหน้าที่จะโยงมาหาฮุคต้องเข้ากันด้วย
คำร้องในท่อนฮุคของคุณที่จะโดนใจผู้ฟังนั้นต้องลงตัวกับทำนองเพลง,จังหวะของเพลงอย่างสมบูรณ์ด้วย คุณอาจใช้วิธีคิดเนื้อร้องท่อนฮุคของคุณขึ้นมาก่อนแล้วจึงค่อยๆใส่ตัวโน๊ตและจังหวะเข้าไปทีหลังให้เข้ากับเนื้อร้องของคุณ ซึ่งคุณควรจะเข้าใจถึงธรรมชาติของการเน้นจังหวะของทำนองและน้ำหนักของคำที่คุณใช้ด้วย โดยปกติพยางค์ที่หนักนั้นจะอยู่ในจังหวะตกของห้อง


จะเห็นว่าจากตัวอย่างพยางค์ที่หนักมักอยู่ในจังหวะตกของห้องเพลง แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือเมื่อเวลาคุณลองร้องต้องฟังเป็นธรรมชาติที่สุดเหมือนเวลาที่คุณ
บางครั้งความหมายของคำหรือประโยตก็สามารถช่วยคุณในการเลือกเสียงใส่ในคำของคุณ เช่นถ้าความหมายของประโยคของคุณเป็นประโยคคำถามตัวโน๊ตก็ควรจะไล่เสียงค่อยๆสูงขึ้น แต่ถ้าเป็นประโยคคำสั่งหรือประโยคบอกเล่าโน้ตที่คุณใส่ก็จะอยู่ในโทนเสียงต่ำหรือไล่ลงมาหาเสียงต่ำเหมือนธรรมชาติของการพูด แต่ฮุคบางฮุคอาจใช้การซ้ำโน้ตตัวเดิมเพื่อเป็นการสร้างอารมณ์พาไปสู่จุดที่เขาต้องการก็ได้ และถ้าเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความหวังอาจจะใช้การไล่จากโน้ตเสียงต่ำไปหาโน้ตเสียงสูงก็ได้ ในขณะที่บทเพลงที่มีความหมายจริงจังมักจะใช้ทำนองเพลงในช่วงตัวโน๊ตต่ำๆ
คุณต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ธรรมชาติของคำ,จังหวะและเสียง คุณอาจจะลองใช้หลายๆทำนองใส่ลงไปในฮุคของคุณและคุณจะเข้าใจถึงความแตกต่างของมัน แต่อย่าลืมว่าฮุคเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในเพลงของคุณและเป็นจุดที่จะทำให้ผู้ฟังติดใจในเพลงของคุณ

รูปแบบของทำนอง (Melody Form )
ถึงแม้จะมีบทเพลงบางเพลงที่แต่งจากเนื้อร้องก่อนแต่บทเพลงส่วนใหญ่ในปัจจุบันนิยมที่จะแต่งจากทำนองก่อนแล้วจึงใส่เนื้อร้องที่หลัง ซึ่งวิธีนี้สะดวกสำหรับนักแต่งเนื้อร้องด้วยเช่นเดียวกัน
ทำนองเพลงนั้นสร้างมาจากหลายๆประโยตเพลงมารวมกัน ซึ่งในแต่ละประโยคเพลงนั้นมีทำนองที่แตกต่างกันออกไป มีบทเพลงหลายเพลงที่นิยมแต่งทำนองเพลงในรูปแบบ
“ คำถามคำตอบ “ นักแต่งเพลงต้องคิดโครงสร้างของทำนองแต่ละท่อนก่อนที่จะเริ่มลงมือเขียน เพื่อช่วยให้สะดวกในการทำงานและได้บทเพลงที่ไพเราะ
จากตัวอย่างเพลงที่ให้จะเห็นว่าเป็นการแต่งแบบคำถามคำตอบ โดยมีประโยคเพลงทั้งหมด 4 ประโยค โดย2บรรทัดบนเป็นประโยคคำถาม และ 2บรรทัดล่างเป็นประโยคคำตอบ ซึ่งดูได้จาก2บรรทัดบนนั้นใช้ตัวโน๊ตแบบค่อยๆไล่เสียงขึ้นสูงเหมือนเวลาที่เราพูดประโยคคำถาม และ2บรรทัดล่างเป็นการใช้ตัวโน๊ตค่อยๆไล่ลงเสียงต่ำเหมือนเวลาเราพูดประโยคบอกเล่า บทเพลงนี้มีองค์ประกอบที่ลงตัวโดยให้โน้ตตัวที่สูงที่สุดอยู่ที่โน้ตตัวแรกของประโยคคำตอบซึ่งก็เป็นจุดพีคของเพลงนั้นเอง

เนื้อเพลง ( Lyric )
จุดมุ่งหมายสำคัญของการเขียนเนื้อเพลงก็คือการสามารถบรรยายเรื่องราวหรือสัญลักษณ์ต่างๆออกมาได้อย่างที่ใจต้องการและมีเนื้อหาเพลงที่ดี ซึ่งเนื้อหาเพลงที่ดีนั้นก็คือเนื้อที่สามารถสื่อความหมายจากทำนองและดนตรีของเพลงนั้นออกมาได้มากที่สุด
เนื้อเพลงนั้นแตกต่างจากบทกลอนเช่นเดียวกันกับนักร้องที่แต่ต่างจากนักพูด เนื้อหาต่อไปนี้คุณจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับจังหวะของเนื้อเพลงที่เหมาะกับจังหวะและโครงสร้างของเพลง

(น้ำหนัก) Stress
โดยธรรมชาติของบทเพลงจังหวะหนักจะอยู่ที่จังหวะแรกของห้องเพลงซึ่งก็จะทำให้ธรรมชาติของนักร้องมักจะเน้นที่จังหวะแรกของห้องเพลงด้วยเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นในการแต่งเนื้อร้องเราต้องคำนึงถึงธรรมชาติข้อนี้ด้วย
เพลง Scarborough Fair นี้เป็นตัวอย่างที่ดีเกี่ยวกับเรื่องน้ำหนักให้คุณลองร้องเพลงนี้ตามโน้ตที่เห็น คุณจะเข้าใจเกี่ยวกับการใช้คำให้เหมาะกับจังหวะของตัวโน๊ต



คำสัมผัส (Rhyme Scheme )

การเล่นคำสัมผัสนิยมใช้ในเพลง pop/rock ช่วยให้เพลงมีความไพเราะมากขึ้น ดูคำสัมผัสที่ A กับ A และ B กับ B

คำสัมผัสโดยการซ้ำคำ ( Same-Word Rhymes and Repetition )

การใช้คำซ้ำในประโยคที่1และ3ก็ให้ความรู้สึกเหมือนมีสัมผัสได้เช่นเดียวกัน

สัมผัสใน (Internal Rhyme )

บางครั้งเราใช้การสัมผัสในประโยคด้วยเช่นเดียวกัน

สัมผัสหลายที่ ( Multiple Rhyme )


รูปแบบของเพลง ( Song Forms )
ในบทเพลงนั้นจะประกอบด้วยท่อนเพลงหลายๆท่อนเพลงมารวมกัน ซึ่งในแต่ละท่อนเพลงก็มีรูปแบบและโครงสร้างแตกต่างกันออกไป การวางท่อนเพลงที่ดีก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้เพลงของคุณเป็นที่นิยมได้ เนื้อหาต่อไปจะเป็นพื้อฐานให้คุณเข้าใจถึงลักษณะของ
ท่อนเพลงต่างๆ ซึ่งคุณอาจนำไปใช้กับบทเพลงของคุณได้
1.ท่อนVerse : เป็นท่อนพื้นฐานของเพลง เป็นส่วนที่แสดงอารมณ์โดยรวมทั้งหมดของเพลงซึ่งสามารถบอกทิศทางทั้งหมดของเพลงให้ผู้ฟังรู้ได้ สามารถอยู่ได้ในหลายๆตำแหน่งของบทเพลง อาจอยู๋ในท่อนแรกของบทเพลงซึ่งก็จะทำหน้าที่บอกเรื่องราวเริ่มต้นของบทเพลง
บอกอารมณ์ของเพลง และเป็นท่อนที่เกลาเข้าสู่ท่อนต่อไป ในเพลง pop ส่วนใหญ่ ท่อนVerse มักจะมีทำนองเพลงที่เหมือนกันแต่เปลี่ยนเนื้อร้อง
2.ท่อนChorus : เป็นท่อนประสานซึ่งจะมีเนื้อหานและแนวทำนองเหมือนกับท่อน Verse แต่มีระดับเสียงที่ต่างออกไป ท่อน Chorus นี้อาจมาในช่วงก่อนฮุคเพื่อเกลาเข้าหาฮุค หรือใช้จบเพลงก็ได้
3.ท่อน Bridge : ท่อนเพลงนี้เป็นท่อนเพลงสั้นมักใช้เชื่อมระหว่างท่อนเพลงอื่นๆ อาจใช้เพื่อการเปลี่ยนอารมณ์ของเพลงหรือการเปลี่ยนคีย์ของเพลงก็ได้
4.ท่อนRefrian(ลูกคู่) : เป็นเหมือนการล้อประโยคเพลง มักจะเป็นการซ้ำประโยคสุดท้ายของประโยคเพลง
5.ท่อนInstrumental Break : เป็นท่อนที่มีแต่เครื่องดนตรีบรรเลงอย่างเดียว มักอยู่ช่วงกลางของเพลง หรืออาจใช้ในการเริ่มต้นหรือจบเพลงก็ได้
6.ท่อนIntroduction : หรือเรียกว่าท่อน Intro เป็นท่อนขึ้นเพลงอาจจะใช้การบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีสั้นๆ หรือ การพูดก็ได้
7.ท่อนTag : ท่อนจบเพลง ( Coda ) ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นท่อนหลังจากประโยคสุดท้ายของฮุค หรือ ท่อนสุดท้ายของฮุคที่ใช้ในการจบบทเพลง

รูปแบบของบทเพลง
1.The Ballad [AAA] : เป็นรูปแบบเพลงที่ซ้ำท่อน Verse ไปมาทั้งเพลง มักใช้ในเพลงที่มีจังหวะช้าๆ
2.The Verse Chorus Song [ABAB] : นิยมใช้ในเพลง pop/rock โดยใช้ท่อน Verse และท่อน Chorus โดยใช้รูปแบบ ABAB หรือ ABABAB
3.The Verse-Bridge Song [AABA] : นิยมใช้กับดนตรีประเภทแจ๊ส มักเรียงท่อนเพลงโดยใช้ Verse-verse-bridge-verse ปัจจุบันนิยมใช้แพร่หลาย
4.Chord Chart : เป็นเพลงที่มีแต่คอร์ดให้อย่างเดียวซึ่งตัวทำนองนักดนตรีจะเป็นผู้คิดเอง อาจมีทำนองหลักให้ไว้นิดหน่อย ใช้กับดนตรีแจ๊สส่วนมาก

จังหวะ ( The beat )
ในการแต่งเพลง pop/rock จังหวะมีความสำคัญมาก เพราะเป็นตัวสื่อารมณ์ของบทเพลงได้ชัดเจน เช่น ถ้าคุณเล่นเพลง Blue แต่คุณไปใช้จังหวะของ rock ก็จะไม่ได้ความรู้สึกของเพลง blue เลย
เพลง pop มักใช้จังหวะ 2 รูปแบบ คือ Straight-eight และ Shuffle
ในจังหวะ4/4 Straight-eight มักจะเน้นที่จังหวะ 2 และ 4 หรือที่รู้จักกันดีว่า Backbeat และถ้าเป็นจังหวะ2/4 ก็จะเน้นที่จังหวะที่ 2 ของห้อง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับรูปแบบของบทเพลง
ส่วนเพลงจังหวะกลางๆประเภท rock , R&B และ Dance นั้นจะเน้นที่จังหวะยกและตกสลับกันดังรูป
จังหวะแบบนี้จะให้ความรู้สึกเหลื่อมๆกว่าปกติ เพราะมีการเล่นในจังหวะยกของเพลง หรือที่เราเรียกว่า Syncopation
จากภาพด้านบนเป็นจังหวะอีกประเภทหนึ่งซึ่งเรียกว่า half-time feel เพราะจะเน้นจังหวะที่3ของห้องเพลง

คอร์ด ( Chord )
นักแต่งเพลงจำเป็นต้องเข้าใจถึงเรื่อง Harmony และ Chord Pattern ในเรื่องต่อไปจะให้คุณทราบถึงพื้นฐานของคอร์ดต่างๆและหน้าที่ของมัน

คอร์ด I และ V
คอร์ดที่ 1 มักเป็นคอร์ดที่ใช้ขึ้นต้นและจบเพลง ส่วนคอร์ด 5 นั้นใช้เกลาเข้าสู่คอร์ด1
บางครั้งเราอาจใช้คอร์ด V7 แทน V ได้

คุณลองเล่นคอร์ดที่ให้และฟังเสียง จะทำให้คุณเข้าใจถึงการเกลาจากคอร์ด 5ไป1ได้ดี
เลือกจังหวะ : จังหวะที่แตกต่างกันก็มีส่วนช่วยให้ความรู้สึกของเพลงแตกต่างกัน นั้นเป็นหน้าที่ของคุณที่หาจังหวะให้เหมาะกับเพลงของคุณ
Rock :เพลง rock ส่วนใหญ่ใช้จังหวะ 4/4 และลงจังหวะหนักที่จังหวะที่3 ให้คุณศึกษาเพลง rock จากเพลงตัวอย่างที่ให้


Style : Show4/4 rock : based on “ Mockingbird”
Key : C Major
Chord : I and V7
C and G7

ตอนนี้ถึงเวลาที่คุณจะต้องลองลงมือแต่งเพลงแล้ว ให้คุณลองแต่งเพลงโดยใส่ตัวโน๊ตและเนื้อร้องลงไปจากจังหวะและคอร์ดที่ให้ และแต่งเนื้อเพลงโดยใช้รูปแบบ ABAB หรือ AABB


ตัวอย่างด้านบนเป็นการใช้คอร์ด V และ I ในท่อนเพลง อีกหน้าที่หนึ่งที่เรานิยมใช้คือใช้ในการจบเพลง เพราะ เป็นคอร์ดที่ให้ความรู้สึกจบอย่างสมบูรณ์
ตัวอย่างต่อไปเป็นตัวอย่างการใช้ คอร์ด V กับ I ในคีย์ G Major



การแต่งเพลง pop ง่ายๆ : ในปัจจุบันเพลง pop แบ่งออกได้เป็น 2แบบ คือ easy pop และ pop/rock
Easy pop หรืออาจเรียกว่า middle-the-read หรือ Adult-oriented rock เพลงประเภทนี้มักมีเนื้อหาเกี่ยวกับความรัก,การเฉลิมฉลอง และความโดดเดี่ยว ซึ่งมักใช้จังหวะ4/4โดยใช้จังหวะช้าๆถึงกลางๆ และเน้นที่เนื้อเพลง,การใช้คำ ,การเล่นสัมผัส และ Hook ที่โดดเด่น จังหวะของเพลง pop มักเน้นที่จังหวะที่ 1และ 3 ของเพลง ตัวอย่างเพลงต่อไปจะเป็นตัวอย่างเพลง easy pop

Style : Easy pop based on “Melody of love”
Key : C Major
Chord : I and V7
C and G7
ในเพลงนี้ให้คุณลองใส่ทำนองและเนื้อร้องเข้าไปจากรูปแบบที่วางไว้ โดยคำนึงถึงความรู้สึกของ pop

Pop/rock : ในปัจจุบันเพลง pop หลายเพลงนิยมใช้จังหวะ rock ผสมผสานลงไป เพราะได้รับความนิยมจากกลุ่มวัยรุ่นมากกว่า แต่ก็ยังคงใช้จังหวะ4/4เหมือนเดิม
จากตัวอย่างให้คุณลองเขียนทำนองและเนื้อร้อง
ต่อไปให้คุณลองวางจังหวะ,ทำนองและเนื้อร้องโดยคำนึงถึงความเป็น pop


คอร์ด IV
หน้าที่ของคอร์ด IV คือใช้อยู่ในบทเพลง และเกลาเข้าสู่คอร์ดหนึ่งมักใช้ในท่อนจบของเพลง เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่มักใช้ในท่อนจบเราเรียกว่า Plagal Cadence ลองดูตัวอย่างวิธีการใช้คอร์ด4จากบทเพลงต่อไปนี้

Medium pop/rock
Style : Medium pop/rock ballad
Key : G Major
Chord : I , I7 , IV and V7
G , G7 , C and D7


ลองเขียนเพลงจากรูปแบบที่ให้ โดยให้ 4 บรรทัดแรกเป็นท่อนVerse และ 4 บรรทัดล่างเป็นท่อน Chorus และใส่เนื้อเพลงให้เข้ากับทำนองเพลง

คอร์ด ไมเนอร์ ( Minor Chord )
ตำแหน่งของคอร์ดบางคอร์ดใน Major Scale นั้นจะเป็นคอร์ดไมเนอร์ซึ่งมีดังนี้
vim Chord คอร์ที่6


คอร์ดที่ 6 จะมีตัวโน๊ตซ้ำกับคอร์ดที่ 1 สองตัว จึงมีหน้าที่เกลาจากคอร์ด1เพื่อเชื่อมไปยังคอร์ดต่างๆ


ต่อไปลองมาดูวิธีการใช้คอร์ด6ในเพลง pop/rock
ให้คุณลองใส่โน้ตและเนื้อเพลงจากสิ่งที่กำหนดให้

iim Chord คอร์ดที่2
คอร์ดที่2มักทำหน้าที่เกลาเข้าหาคอร์ดที่5 เช่น ii-V-I นิยมใช้ในเพลง pop/rock
ลองแต่งเพลงจากรูปแบบที่กำหนดให้

iiim chord คอร์ดที่3
คอร์ดที่3จะมีตัวโน๊ตซ้ำกับคอร์ดที่1อยู่สองตัว



ลองเขียนเพลงจากรูปแบบที่ให้ต่อไปนี้โดยอาจให้2ห้องแรกมีแต่เครื่องดนตรีเล่นเพียงอย่างเดียว และแต่งเนื้อเพลงโดยใช้รูปแบบ AABB หรือ ABAB อาจจะใช้การสัมผัสคำด้วย


คอร์ดนอกคีย์
คือคอร์ดที่อยู่นอกเหนือจากในสเกล เช่น คอร์ด II7 , III7, VI7
และ bVII ซึ่งเราสามารถเอามาใช้ในงานเพลงของเราได้

คอร์ด II7
จากรูปภาพจะเป็นว่าคอร์ด Dนั้นมีตัว F# ซึ่งปกติแล้วใน C Major Scale ไม่มีตัว F# ถ้าจะพูดในหลักทางดนตรีแล้วคอร์ด D จะถือว่าเป็นคอร์ด V/V
นิยมใช้เกลาเข้าหาคอร์ด5 เช่นเดียวกับ iim-V7-I แต่เป็น
II7 –V7-I ซึ่งนิยมใช้ในเพลง pop/rock
ต่อไปเป็นตัวอย่างการใช้คอร์ดสองเมเจอร์เซเว่นท์ในเพลงคีย์F
III7, VI7 Chord

จะใช้มากในงานเพลงประเภท Jazz

bVII Chord



คอร์ด bVII มีโน๊ต2ตัวที่เหมือนกับคอร์ด V7 อาจใช้เกลาเข้าหาคอร์ด V หรือใช้แทนคอร์ด V ก็ได้


คีย์ไมเนอร์ Minor Key
เป็นคีย์ที่ให้ความรู้สึกเศร้า,หดหู่,หม่นหมอง
Minor key จะใช้ Key Signature เดียวกับMajor Keys ดังนี้



ถ้าเป็นคีย์ที่มีตัวโน๊ตตัวแรกเหมือนกันเราเรียกว่า “ Paralled Keys “ เช่น
C Major & C minor

5 force model เพลงลูกทุ่ง

หากจะมองภาพรวมของธุรกิจค่ายเพลงลูกทุ่ง เราอาจจะพิจารณาถึงปัจจัย 5
ประการเพื่อวัดความน่าดึงดูดใจในการทำกำไรที่แท้จริงในระยะยาว ดังนี้
1.คู่แข่งในอุตสาหกรรมนั้น ๆ( Threat of intense segment rivalry)
สำหรับคู่แข่งในตลาดเพลงลูกทุ่งนั้นในปัจจุบันมีเป็นจำนวนมากทำให้มีคู่แข่งที่ทำธุรกิจประเภทเดียวกันนี้สูงมาก แต่คู่แข่งไม่ใช่ปัจจัยสำคัญของธุรกิจเพลงลูกทุ่งมากนัก เพราะการแข่งขันของตลาดนี้ขึ้นอยู่กับความพอใจ,รสนิยมของผู้บริโภค มากกว่า ถึงแม้จะเป็นค่ายเล็กๆแต่หากเป็นที่ชื่นชอบก็สามารถแข่งขันได้ เช่นน้องมายย์ เป็นต้น
2.คู่แข่งรายใหม่(Threat of intense segment rivalry)
ตลาดเพลงลูกทุ่งน่าดึงดูดใจในแง่ของบริษัทที่เข้ามาง่าย และออกง่าย ทำให้มีคู่แข่งรายใหม่เยอะ และจะผลิตเพลงลูกทุ่งออกมามากมาย นักร้อง ศิลปินในค่ายจะเยอะ ต่างกับสมัยก่อน นอกจากนั้นนักร้องเพลงสตริงหันมาสนใจร้องเพลงลูกทุ่งมากขึ้นเช่น จอย ศิริลักษณ์ ผ่องโชค , พาเมล่า บาวเดน ฯลฯ
3.ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทน (Threat of new entrants)
ตลาดเพลงลูกทุ่งเป็นความชอบส่วนตัว ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของผู้บริโภคแต่ละคน ทำให้สินค้าทดแทนไม่มีอิทธิพลต่อองค์กร เนื่องจากคนฟังเพลงลูกทุ่งก็ไม่นิยมฟังแนวเพลงอื่น ในขณะที่คนที่ชอบฟังเพลงสากลก็ไม่เลือกซื้อ เลือกฟังเพลงลูกทุ่งเช่นกัน
4.ภัยคุกคามจากการเพิ่มอำนาจต่อรองของผู้ซื้อ(Threat of buyers’ growing bargaining power)
ผู้ซื้ออมีอิทธิพลในตลาดส่วนนี้พอสมควรเนื่องจากผู้ซื้อสามารถเลือกซื้อแผ่นเพลง หรือเทปเพลงของแท้จากบริษัทผู้ผลิต หรืออาจซื้อแผ่นอัดจากแหล่งผิดกฎหมายได้ เพราะนอกจากได้ราคาถูกแล้ว ยังได้เลือกเพลงจากหลายค่ายหรือหลากหลายศิลปินที่ถูกใจตนได้ตรงตามความต้องการมากกว่า
5.Supplier ( Threat of suppliers ‘ growing bargaining power)
Supplier ของเพลงลูกทุ่งคือผู้ผลิตเทป ซีดี โรงพิมพ์ที่พิมพ์ปกเทป มีอิทธิพลต่อค่ายเพลงน้อย เนื่องจากมีSupplier หลายแห่ง และยิ่งค่ายเพลงไหนที่ออกเทปเดือนละหลาย ๆ ชุด Supplier ก็ต้องการที่จะติดต่อให้ส่งสินค้ามาก ทำให้มีแนวโน้มในการต่อรองต่ำ

ลักษณะตลาดของธุรกิจลูกทุ่ง

ลักษณะของ ตลาดธุรกิจเพลงลูกทุ่งนั้นจะแบ่งช่วงเป็นช่วง High season และ Low season โดย High season จะเริ่มตั้งแต่หลังออกพรรษาคือเดือนพฤศจิกายนช่วงเข้าหน้าหนาวเนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะภาคอีสานจะทำการเกี่ยวข้าวเสร็จเรียบร้อยแล้วทำให้มีกำลังซื้อและเวลาว่างในการหาความบันเทิงพักผ่อน และเป็นช่วงเทศกาลทั้งวันขึ้นปีใหม่ , วันสงกรานต์ เป็นต้น จนกระทั่งถึงเดือนพฤษภาคมก่อนเปิดเทอม และหลังจากช่วงเปิดเทอมจะเป็นช่วง Low season
ซึ่งเป็นลักษณะที่แตกต่างจากตลาดของเพลงสตริงที่สามารถขายได้ตลอดทั้งปี แต่ทั้งนี้ถึงแม้ในช่วง Low season ทางค่ายลูกทุ่งส่วนใหญ่ก็จะออกอัลบั้มเพลงโปรโมทออกมาเพื่อจะให้ไปดังช่วง High season เพราะเพลงลูกทุ่งต้องใช้ช่วงเวลาในการโปรโมทโดยเฉลี่ยประมาณ 6 เดือนถึงจะติดหูคนฟัง




Product Life Cycle ของธุรกิจเพลงลูกทุ่ง
ลักษณะวงจรชีวิตความโด่งดังของนักร้องลูกทุ่ง
ลักษณะวงจรชีวิตของนักร้องลูกทุ่งมีความน่าสนใจอย่างยิ่ง หากพิจารณาจากกราฟข้างต้น จะเห็นว่าแบ่งออกเป็น 3 ช่วงคือ
1.ช่วงก่อนโด่งดัง(Introduction) : จะเห็นว่ากราฟช่วงนี้จะยาวมากกว่าช่วงอื่น เนื่องมาจากก่อนที่นักร้องหนึ่งคนจะสามารถออกอัลบั้มสักหนึ่งอัลบั้มนั้นต้องผ่านขบวนการต่างๆมากมายอาทิเช่นการคัดเลือกซึ่งทางบริษัทค่ายเทปจะทำการตรวจสอบทุกขั้นตอนตั้งแต่เสียงร้อง , บุคลิกภาพ รวมถึงนิสัยใจคอว่าหากโด่งดังแล้วจะเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ซึ่งในขั้นตอนนี้เกือบทุกบริษัทจะใช้เวลามากกว่า 3 ปีขึ้นไป และหลังจากที่ออกอัลบั้มแล้วนักร้องลูกทุ่งอาจจะไม่ได้โด่งดังตั้งแต่ชุดแรกแต่สำหรับนักร้องลูกทุ่งแล้วถือว่าเป็นเรื่องปกติ ในธุรกิจลูกทุ่งถือว่านักร้องลูกทุ่งนั้นมีโอกาสอยู่เสมอเพียงแค่ต้องจับทางให้ถูกเท่านั้นโดยทางบริษัทเพลงต้นสังกัดจะทำการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์วิธีการต่างๆเพื่อให้นักร้องคนนั้นโด่งดังซึ่งในบางครั้งกว่าที่นักร้องคนนั้นจะเป็นที่รู้จักอาจจะใช้เวลาถึงสิบๆปี เช่น อาภาพร นครสวรรค์ ที่มาโด่งดังจากอัลบั้มชุดที่ 9 ของเธอจากเพลงเลิกแล้วค่ะ
2.ช่วงโด่งดัง (Growth) : เมื่อนักร้องเริ่มเป็นที่รู้จักและโด่งดัง หากดูจากกราฟจะเห็นว่ากราฟขึ้นสูงอย่างรวดเร็วโดยนักร้องจะเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางทั่วประเทศไทยได้ทันที ซึ่งปัจจัยที่ทำให้โด่งดังอาจมาจากเพลงที่โดนใจผู้ฟังเพลง , บุคลิกภาพของนักร้อง หรือ นิสัยใจคอของนักร้อง เป็นต้น
3.ช่วงติดลมบน(Maturity) : สำหรับนักร้องลูกทุ่งนั้นเมื่อเป็นโด่งดังเป็นที่ชื่นชอบแล้วจะสามารถขายได้ตลอดไป เช่น พรศักดิ์ ส่องแสง ที่เคยโด่งดังมากในอดีตและร้างลาวงการเพลงไปเกือน 10 ปีแต่เมื่อกลับมาทำอัลบั้มใหม่อีกครั้งก็ยังได้รับการตอบรับที่ดีจากแฟนเพลงเหมือนเดิม สาเหตุสำคัญที่นักร้องลูกทุ่งที่ติดลมบนแล้วสามารถขายได้เสมอนั้นมาจากพฤติกรรมผู้บริโภค(Customer Nature) ของผู้ฟังเพลงลูกทุ่ง โดยลักษณะพฤติกรรมของผู้ฟัง บริโภคกลุ่มนี้คือ
1.Customer Loyalty ความจงรักภักดีต่อตัวสินค้า : โดยหากผู้ฟังกลุ่มนี้ชื่นชอบนักร้องลูกทุ่ง ไม่ได้หมายความเพียงแต่เป็นการชื่นชอบชื่นชมเพียงอย่างเดียว ยังมีความหมายถึงความรักใคร่ชอบพอเสมือนหนึ่งเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน มีความเอ็นดูความผูกพันใส่ลงไปอีกด้วย จึงทำให้การบริโภคไม่ใช่แค่เพียงความชอบในเพลงอัลบั้มนั้นๆหรือหน้าตาของนักร้องเพียงชั่วครั้งชั่วคราวแต่ยังหมายความรวมไปถึงความต้องการให้การสนับสนุน ,ความผูกพัน ฯลฯ อีกด้วย ทำให้นักร้องลูกทุ่งที่เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภคนั้นสามารถขายผลงานของตนเองได้เรื่อย ๆ ซึ่งเมื่อพฤติกรรมของผู้บริโภคเป็นเช่นนี้แล้ว หากนักร้องคนใดสามารถที่สามารถจับกลุ่มลูกค้ากลุ่มนี้ได้ก็สามารถขายผลงานเพลงของตนเองได้ตลอดไป ไม่เพียงแต่นักร้องลูกทุ่งเท่านั้นยังรวมถึงนักร้องสตริงที่หันมาร้องลูกทุ่งด้วยเช่นเดียวกัน
2.ลักษณะนิสัยเฉพาะของคนไทย (โดยเฉพาะคนไทยในต่างจังหวัด) : คนไทยในต่างจังหวัดมีอุปนิสัยที่ชื่นชมคนมีความกตัญญูกตเวที , ซื่อสัตย์ , อ่อนน้อมถ่อมตน และ ใฝ่หาความรู้ เป็นต้น หากนักร้องลูกทุ่งมีอุปนิสัยตรงกับความชื่นชอบของพวกเขาก็เสมือนเป็นพรรคพวกเดียวกัน ก็จะได้รับการตอบรับสนับสนุนอย่างดีจากกลุ่มผู้ฟังกลุ่มนี้ ซึ่งเมื่อทราบถึงลักษณะนิสัยเฉพาะตรงนี้แล้ว ทำให้นักร้องลูกทุ่งต้องรักษาภาพลักษณ์ไว้ให้ดีที่สุด
หากมีข่าวที่ไม่ดี หรือมีพฤติกรรมที่ไม่ดีออกมาเช่น ไม่เลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ , ขโมยของ , ย้ายค่ายโดยไม่มีสาเหตุที่ดี ฯลฯ ก็จะหมดความนิยมทันที
3.Attitude ปัจจุบันทัศนคติของคนฟังเพลง ยอมรับในเพลงลูกทุ่งมากขึ้น ไม่มองเป็นเรื่องที่เชยอีก
ต่อไป แต่ก่อนนั้นคนต่างจังหวัดที่เข้ามาทำงานในกรุงเทพจะไม่กล้าที่จะฟังเพลงลูกทุ่งต่อสาธารณชนเพราะเห็นว่าเป็นเรื่องน่าอาย แต่ปัจจุบันเพลงลูกทุ่งได้รับการยอมรับในกลุ่มคนฟังกรุงเทพมากขึ้น โดยมองว่าเพลงลูกทุ่งมีความเป็นเพลงสนุกสนาน ทำให้คนต่างจังหวัดหรือคนกรุงเทพเองหันมาฟังเพลงลูกทุ่งกันอย่างเปิดเผย ตรงจุดนี้หากผู้ผลิตสามารถจับทิศทางของพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปได้ โดยเปลี่ยนเนื้อหาสาระให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้น เช่น ปัจจุบันมีเพลงที่เกี่ยวกับมือถือ หรือเทคโนโลยีอื่นๆมากขึ้น ก็จะสามารถครองใจตลาดกลุ่มนี้ได้กว้างขึ้นและยาวนาน

หากเปรียบเทียบกับนักร้องเพลงสตริง ลักษณะของ Product Life cycle จะมีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก
ลักษณะวงจรชีวิตความโด่งดังของนักร้องสตริง
วงจรชีวิตของนักร้องสตริงนั้นหากพิจารณาเป็นช่วงจะแตกต่างจากนักร้องลูกทุ่งดังนี้
1.ช่วงก่อนโด่งดัง(Introduction) : สำหรับนักร้องสตริงช่วงการทำเพลงหรือโด่งดังจะสั้นมาก โดยส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน ซึ่งหากโด่งดังจะเข้าสู่ช่วง growth ทันทีแต่หากไม่โด่งดังก็จะหมดโอกาสต่อไปทันที โดยส่วนใหญ่ทางค่ายจะไม่สนับสนุนต่อซึ่งอาจหมายถึงต้องจบชีวิตการเป็นนักร้องไปเลย
2.ช่วงโด่งดัง (Growth) : หากนักร้องสตริงเข้าสู่ช่วงโด่งดังจะได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วจากแรงโปรโมททางสื่อซึ่งโดยส่วนใหญ่จะมีระยะเวลาประมาณ 6 - 12 เดือนหรือตามระยะที่เทปวางแผงขาย
3.ช่วงติดลมบน(Maturity) : นักร้องสตริงโดยส่วนใหญ่จะมีช่วงติดลมบนน้อยมากอาจเพียงแค่ระยะเวลาที่อัลบั้มชุดนั้นเป็นที่นิยม เพราะบางครั้งเมื่ออัลบั้มชุดที่สองออกมาอาจจะไม่ได้รับความนิยมเหมือนชุดแรก หรือแค่ 2-3 อัลบั้มแล้วหายไป
4.ช่วงหมดความนิยม (Aging) : เมื่อหมดช่วงวางแผงอัลบั้มความนิยมของนักร้องสตริงจะลดน้อยลง โดยจะมีนักร้องสตริงคนอื่นขึ้นมาได้รับความนิยมแทนเพราะการแข่งขันในตลาดสูง