วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

คุณเองก็เขียนเพลงได้


เลือก Theme (หัวข้อ)ของเพลง
จุดมุ่งหมายสูงสุดของนักแต่งเพลงคือการแต่งเพลงไห้โดนใจผู้ฟัง ถ้าจะถามว่าแล้วเนื้อหาแบบไหนที่จะโดนใจผู้ฟัง คำตอบง่ายๆก็คือเรื่องราวที่สำคัญๆในชีวิตของเราๆนั้นเอง
ซึ่งบทเพลงที่จะโดนใจผู้ฟังนั้นต้องมีทำนองเพลง,ชื่อเพลง รวมถึงการเรียบเรียงไปในทิศทางเดียวกันถ้าผสมผสานทุกอย่างได้ลงตัวเพลงของคุณก็จะครองใจผู้ฟังได้อย่างแน่นอน
เคล็ดลับในการเขียนเพลงก็คือการพัฒนาความคิดให้ใหม่และทันต่อเหตุการณ์อยู่เสมอ และขึ้นอยู่กับกลุ่มผู้ฟังของคุณ เช่น ถ้าคุณต้องเขียนเพลงให้โรงเรียน,โบสถ์ หรือคอนเสริต์ต่างๆคุณก็ต้องเลือกเรื่องราวให้เหมาะกับกลุ่มผู้ฟังของคุณ ซึ่งแต่ละกลุ่มก็มีเรื่องราวที่แตกต่างกันไปเช่นเดียวกันถ้าคุณต้องการแต่งเพลง pop/rock คุณก็ต้องทำความเข้าใจกับกลุ่มผู้ฟังของคุณเสียก่อน
ถึงแม้ว่าในบทเพลงนั้นเรามักให้ความสำคัญกับเนื้อหาหลักของมันแต่ถ้าคุณ
ให้ความสำคัญกับเนื้อหารองในเนื้อเพลงด้วยจะช่วยเสริมให้เนื้อหาหลักของคุณแข็งแรงขึ้น
และเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น เนื้อหาที่นำมาแต่งเพลงสามารถแบ่งได้หลายอย่าง เช่น รอคอยความรัก,หลงรัก,ขอความรัก,ฉลองในความรัก,อกหัก,เล่าเรื่องส่วนตัว,สถานที่และวัตถุ,
เทศกาล,มิตรภาพ,ครอบครัว,ชีวิต,เต้นรำ,ดนตรี,บทกลอน,งาน,เงิน ฯลฯ

ชื่อเพลงฮิต (The hit tittle )
มีนักแต่งเพลงบางคนเริ่มแต่งเพลงจากชื่อเพลงเพียงเท่านั้นแต่นักแต่งส่วนใหญ่มักแต่งชื่อเพลงหลังจากที่แต่งเพลงนั้นเสร็จแล้ว
ชื่อเพลงจะสื่อถึงเนื้อหาของบทเพลงทั้งหมดของคุณและช่วยให้ผู้ฟังรับรู้ถึงอารมณ์และเนื้อหาของเพลง เช่น เพลง I wanna dance with somebody หรือ เพลง Saving all my love for you ซึ่งผู้ฟังสามารถเดาเนื้อหาได้ทันทีที่เห็นชื่อเพลง แต่บทเพลงบางเพลงก็ตั้งชื่อโดยใช้สัญลักษณ์แทน เช่น Ebony and Ivory ซึ่งแปลว่าคีย์เปียโนสีขาวและสีดำที่ต้องทำงานร่วมกันในการสร้างทำนองเพลง แต่ความหมายที่แท้จริงของเพลงนี้ คือ รณรงค์ไม่ให้มีการเหยียดสีผิว แต่ก็ไม่ได้ใช้คำตรงๆเหมือน Hey,Black and White People should Cooperate
จำไว้ว่าชื่อเพลงคือสิ่งแรกที่ผู้ฟังจะรู้จักเพลงของคุณเพราะฉะนั้นคุณควรให้ความสำคัญกับชื่อเพลงของคุณ



วิธีการตั้งชื่อเพลง
ชื่อเพลงในโลกนี้มีมากมายหลากหลายประเภทแต่เราสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆคือ
1.คำ(Label ) : มีชื่อเพลงมากมายที่ใช้คำตรงตัวในการแต่งเพลงซึ่งเหมาะกับเพลงที่เกี่ยวกับ คน,สถานที่,สิ่งของที่มีความหมายชัดเจน เช่น Dreams,Magic
2.ประโยคบอกเล่า (Statement ) : โดยใช้ประโยคที่สามารถสรุปเนื้อหาทั้งหมดของบทเพลง อาจเป็นประโยคที่อยู๋ในบทเพลง เช่น You give Love a Bad Name
ข้อสำคัญที่สุดในการใช้ประโยคบอกเล่า คือ คุณควรใช้ประโยคที่สั้นที่สุดที่สามารถอธิบาย
บทเพลงของคุณได้
3.ประโยคคำถาม (Question) : การตั้งชื่อเพลงโดยประโยคคำถามเป็นวิธีดึงดูดผู้ฟังอีกรูปแบบหนึ่ง โดยตั้งชื่อเพลงเป็นคำถามและให้ตัวเนื้อเพลงเป็นคำตอบเฉลย หรือ ตั้งชื่อเพลงด้วยคำถามที่ทุกๆคนตอบได้ เช่น How will I know หรืออาจใช้วิธีตั้งชื่อเพลงด้วย
ประโยคคำถามที่มีคำตอบเฉลยในตัว เช่น Who do you think u’re Foolin’ [not me] ก็เป็นวิธีดึงดูดผู้ฟังอีกวิธีหนึ่ง

วิธีการใช้คำ ( Figures of Speech )
เมื่อคุณร็ถึงวิธีการใช้คำจะช่วยให้คุณสามารถตั้งชื่อเพลง หรือเขียนเนื้อเพลงได้โดนใจผู้ฟังและมีความหมายลึกซึ้งอีกด้วย วิธีการใช้คำมีหลายวิธีดังนี้
1.สัญลักษณ์ : ชื่อเพลงหลายเพลงนำสัญลักษณ์ต่างๆมาใช้ในการตั้งชื่อ เช่น
Broken wings , Red red wine ซึ่งทุกคนจะเข้าดีอยู่แล้วว่า “ ปีก “ มีความหมายถึง อิสรภาพ และ “ ไวน์แดง “ คือยาพิษ
2.คำเปรียบเทียบ : บางกรณีการใช้สัญลักษณ์อาจไม่สื่อความหมายเท่าที่ควร คุณอาจใช้การเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นก็ได้ เช่น We are the world
3.คำเหมือน : ใช้การเปรียบเทียบกับสิ่งต่างๆเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น มักใช้คำว่าเหมือนกับ(like) ในประโยคด้วย เช่น Like a Virgin , Fly like an Engle
4.เปรียบเทียบสิ่งไม่มีชีวิตกับการกระทำของคน : นำสิ่งที่ไม่มีชีวิตมาใส่กริยาของคนเข้าไป หรือ เปรียบเทียบคนให้กลายเป็นวัตถุ เช่น Bridge over Trobled water ,
I am a Rock
5.ขยายรูปประโยค : เป็นการใส่ความรู้สึกเข้าไปในประโยคด้วย เช่น I only have eyes for you , Everybody wants to rule the world.
6.จากเนื้อหา : เป็นการตั้งชื่อจากเนื้อหาของบทเพลงเช่น Give Peace a chance
7.ใช้วลีหรือคำ2คำมาเชื่อมกัน : เป็นวิธีการตั้งชื่อที่น่าสนใจละผู้ฟังต้องติดตาม เช่น Head to Toe , 9to5 , White Rabbit
8.การเล่นคำ : วิธีนี้ต้องคำนึงถึงเนื้อหาของบทเพลงและการเรียงคำให้ไพเราะ เช่น I’ll Tennessee you in my dreams.
9.การเล่นตัวอักษร : เป็นการใช้คำที่มีตัวอักษรตัวเดียวกันมาใช้ เช่น Father Figure , Man in the Mirror.
10.การเล่นสระ : เป็นการใช้สระซ้ำๆ เช่น Ruby Tuesday
11.การซ้ำคำ : เป็นการใช้คำซ้ำๆเพื่อให้ติดหูผู้ฟัง เช่น Say say say say you say me.
12.ภาษาสแลง : เป็นการใช้คำที่กำลังนิยมอยู่ในขณะนั้นๆ เช่น Crazy for you

ท่อนฮุค (The Hook )
ชื่อเพลงของบทเพลงส่วนใหญ่มักจะเอามาจากประโยคเด็ดในท่อนฮุคซึ่งเป็นท่อนที่เล่นซ้ำบ่อยที่สุดในเพลงและเป็นท่อนที่พีค(peak)ที่สุดของเพลง มีนักแต่งเพลงหลายคนเริ่มแต่งเพลงจากท่อนฮุคก่อน และประโยคแรกที่ขึ้นฮุคหรือประโยคจบของท่อนฮุคต้องเป็นประโยคที่เด็ดที่สุดเพื่อให้โดนใจผู้ฟัง แต่ก็อยากลืมเรื่องราวก่อนหน้าที่จะโยงมาหาฮุคต้องเข้ากันด้วย
คำร้องในท่อนฮุคของคุณที่จะโดนใจผู้ฟังนั้นต้องลงตัวกับทำนองเพลง,จังหวะของเพลงอย่างสมบูรณ์ด้วย คุณอาจใช้วิธีคิดเนื้อร้องท่อนฮุคของคุณขึ้นมาก่อนแล้วจึงค่อยๆใส่ตัวโน๊ตและจังหวะเข้าไปทีหลังให้เข้ากับเนื้อร้องของคุณ ซึ่งคุณควรจะเข้าใจถึงธรรมชาติของการเน้นจังหวะของทำนองและน้ำหนักของคำที่คุณใช้ด้วย โดยปกติพยางค์ที่หนักนั้นจะอยู่ในจังหวะตกของห้อง


จะเห็นว่าจากตัวอย่างพยางค์ที่หนักมักอยู่ในจังหวะตกของห้องเพลง แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือเมื่อเวลาคุณลองร้องต้องฟังเป็นธรรมชาติที่สุดเหมือนเวลาที่คุณ
บางครั้งความหมายของคำหรือประโยตก็สามารถช่วยคุณในการเลือกเสียงใส่ในคำของคุณ เช่นถ้าความหมายของประโยคของคุณเป็นประโยคคำถามตัวโน๊ตก็ควรจะไล่เสียงค่อยๆสูงขึ้น แต่ถ้าเป็นประโยคคำสั่งหรือประโยคบอกเล่าโน้ตที่คุณใส่ก็จะอยู่ในโทนเสียงต่ำหรือไล่ลงมาหาเสียงต่ำเหมือนธรรมชาติของการพูด แต่ฮุคบางฮุคอาจใช้การซ้ำโน้ตตัวเดิมเพื่อเป็นการสร้างอารมณ์พาไปสู่จุดที่เขาต้องการก็ได้ และถ้าเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความหวังอาจจะใช้การไล่จากโน้ตเสียงต่ำไปหาโน้ตเสียงสูงก็ได้ ในขณะที่บทเพลงที่มีความหมายจริงจังมักจะใช้ทำนองเพลงในช่วงตัวโน๊ตต่ำๆ
คุณต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ธรรมชาติของคำ,จังหวะและเสียง คุณอาจจะลองใช้หลายๆทำนองใส่ลงไปในฮุคของคุณและคุณจะเข้าใจถึงความแตกต่างของมัน แต่อย่าลืมว่าฮุคเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในเพลงของคุณและเป็นจุดที่จะทำให้ผู้ฟังติดใจในเพลงของคุณ

รูปแบบของทำนอง (Melody Form )
ถึงแม้จะมีบทเพลงบางเพลงที่แต่งจากเนื้อร้องก่อนแต่บทเพลงส่วนใหญ่ในปัจจุบันนิยมที่จะแต่งจากทำนองก่อนแล้วจึงใส่เนื้อร้องที่หลัง ซึ่งวิธีนี้สะดวกสำหรับนักแต่งเนื้อร้องด้วยเช่นเดียวกัน
ทำนองเพลงนั้นสร้างมาจากหลายๆประโยตเพลงมารวมกัน ซึ่งในแต่ละประโยคเพลงนั้นมีทำนองที่แตกต่างกันออกไป มีบทเพลงหลายเพลงที่นิยมแต่งทำนองเพลงในรูปแบบ
“ คำถามคำตอบ “ นักแต่งเพลงต้องคิดโครงสร้างของทำนองแต่ละท่อนก่อนที่จะเริ่มลงมือเขียน เพื่อช่วยให้สะดวกในการทำงานและได้บทเพลงที่ไพเราะ
จากตัวอย่างเพลงที่ให้จะเห็นว่าเป็นการแต่งแบบคำถามคำตอบ โดยมีประโยคเพลงทั้งหมด 4 ประโยค โดย2บรรทัดบนเป็นประโยคคำถาม และ 2บรรทัดล่างเป็นประโยคคำตอบ ซึ่งดูได้จาก2บรรทัดบนนั้นใช้ตัวโน๊ตแบบค่อยๆไล่เสียงขึ้นสูงเหมือนเวลาที่เราพูดประโยคคำถาม และ2บรรทัดล่างเป็นการใช้ตัวโน๊ตค่อยๆไล่ลงเสียงต่ำเหมือนเวลาเราพูดประโยคบอกเล่า บทเพลงนี้มีองค์ประกอบที่ลงตัวโดยให้โน้ตตัวที่สูงที่สุดอยู่ที่โน้ตตัวแรกของประโยคคำตอบซึ่งก็เป็นจุดพีคของเพลงนั้นเอง

เนื้อเพลง ( Lyric )
จุดมุ่งหมายสำคัญของการเขียนเนื้อเพลงก็คือการสามารถบรรยายเรื่องราวหรือสัญลักษณ์ต่างๆออกมาได้อย่างที่ใจต้องการและมีเนื้อหาเพลงที่ดี ซึ่งเนื้อหาเพลงที่ดีนั้นก็คือเนื้อที่สามารถสื่อความหมายจากทำนองและดนตรีของเพลงนั้นออกมาได้มากที่สุด
เนื้อเพลงนั้นแตกต่างจากบทกลอนเช่นเดียวกันกับนักร้องที่แต่ต่างจากนักพูด เนื้อหาต่อไปนี้คุณจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับจังหวะของเนื้อเพลงที่เหมาะกับจังหวะและโครงสร้างของเพลง

(น้ำหนัก) Stress
โดยธรรมชาติของบทเพลงจังหวะหนักจะอยู่ที่จังหวะแรกของห้องเพลงซึ่งก็จะทำให้ธรรมชาติของนักร้องมักจะเน้นที่จังหวะแรกของห้องเพลงด้วยเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นในการแต่งเนื้อร้องเราต้องคำนึงถึงธรรมชาติข้อนี้ด้วย
เพลง Scarborough Fair นี้เป็นตัวอย่างที่ดีเกี่ยวกับเรื่องน้ำหนักให้คุณลองร้องเพลงนี้ตามโน้ตที่เห็น คุณจะเข้าใจเกี่ยวกับการใช้คำให้เหมาะกับจังหวะของตัวโน๊ต



คำสัมผัส (Rhyme Scheme )

การเล่นคำสัมผัสนิยมใช้ในเพลง pop/rock ช่วยให้เพลงมีความไพเราะมากขึ้น ดูคำสัมผัสที่ A กับ A และ B กับ B

คำสัมผัสโดยการซ้ำคำ ( Same-Word Rhymes and Repetition )

การใช้คำซ้ำในประโยคที่1และ3ก็ให้ความรู้สึกเหมือนมีสัมผัสได้เช่นเดียวกัน

สัมผัสใน (Internal Rhyme )

บางครั้งเราใช้การสัมผัสในประโยคด้วยเช่นเดียวกัน

สัมผัสหลายที่ ( Multiple Rhyme )


รูปแบบของเพลง ( Song Forms )
ในบทเพลงนั้นจะประกอบด้วยท่อนเพลงหลายๆท่อนเพลงมารวมกัน ซึ่งในแต่ละท่อนเพลงก็มีรูปแบบและโครงสร้างแตกต่างกันออกไป การวางท่อนเพลงที่ดีก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้เพลงของคุณเป็นที่นิยมได้ เนื้อหาต่อไปจะเป็นพื้อฐานให้คุณเข้าใจถึงลักษณะของ
ท่อนเพลงต่างๆ ซึ่งคุณอาจนำไปใช้กับบทเพลงของคุณได้
1.ท่อนVerse : เป็นท่อนพื้นฐานของเพลง เป็นส่วนที่แสดงอารมณ์โดยรวมทั้งหมดของเพลงซึ่งสามารถบอกทิศทางทั้งหมดของเพลงให้ผู้ฟังรู้ได้ สามารถอยู่ได้ในหลายๆตำแหน่งของบทเพลง อาจอยู๋ในท่อนแรกของบทเพลงซึ่งก็จะทำหน้าที่บอกเรื่องราวเริ่มต้นของบทเพลง
บอกอารมณ์ของเพลง และเป็นท่อนที่เกลาเข้าสู่ท่อนต่อไป ในเพลง pop ส่วนใหญ่ ท่อนVerse มักจะมีทำนองเพลงที่เหมือนกันแต่เปลี่ยนเนื้อร้อง
2.ท่อนChorus : เป็นท่อนประสานซึ่งจะมีเนื้อหานและแนวทำนองเหมือนกับท่อน Verse แต่มีระดับเสียงที่ต่างออกไป ท่อน Chorus นี้อาจมาในช่วงก่อนฮุคเพื่อเกลาเข้าหาฮุค หรือใช้จบเพลงก็ได้
3.ท่อน Bridge : ท่อนเพลงนี้เป็นท่อนเพลงสั้นมักใช้เชื่อมระหว่างท่อนเพลงอื่นๆ อาจใช้เพื่อการเปลี่ยนอารมณ์ของเพลงหรือการเปลี่ยนคีย์ของเพลงก็ได้
4.ท่อนRefrian(ลูกคู่) : เป็นเหมือนการล้อประโยคเพลง มักจะเป็นการซ้ำประโยคสุดท้ายของประโยคเพลง
5.ท่อนInstrumental Break : เป็นท่อนที่มีแต่เครื่องดนตรีบรรเลงอย่างเดียว มักอยู่ช่วงกลางของเพลง หรืออาจใช้ในการเริ่มต้นหรือจบเพลงก็ได้
6.ท่อนIntroduction : หรือเรียกว่าท่อน Intro เป็นท่อนขึ้นเพลงอาจจะใช้การบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีสั้นๆ หรือ การพูดก็ได้
7.ท่อนTag : ท่อนจบเพลง ( Coda ) ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นท่อนหลังจากประโยคสุดท้ายของฮุค หรือ ท่อนสุดท้ายของฮุคที่ใช้ในการจบบทเพลง

รูปแบบของบทเพลง
1.The Ballad [AAA] : เป็นรูปแบบเพลงที่ซ้ำท่อน Verse ไปมาทั้งเพลง มักใช้ในเพลงที่มีจังหวะช้าๆ
2.The Verse Chorus Song [ABAB] : นิยมใช้ในเพลง pop/rock โดยใช้ท่อน Verse และท่อน Chorus โดยใช้รูปแบบ ABAB หรือ ABABAB
3.The Verse-Bridge Song [AABA] : นิยมใช้กับดนตรีประเภทแจ๊ส มักเรียงท่อนเพลงโดยใช้ Verse-verse-bridge-verse ปัจจุบันนิยมใช้แพร่หลาย
4.Chord Chart : เป็นเพลงที่มีแต่คอร์ดให้อย่างเดียวซึ่งตัวทำนองนักดนตรีจะเป็นผู้คิดเอง อาจมีทำนองหลักให้ไว้นิดหน่อย ใช้กับดนตรีแจ๊สส่วนมาก

จังหวะ ( The beat )
ในการแต่งเพลง pop/rock จังหวะมีความสำคัญมาก เพราะเป็นตัวสื่อารมณ์ของบทเพลงได้ชัดเจน เช่น ถ้าคุณเล่นเพลง Blue แต่คุณไปใช้จังหวะของ rock ก็จะไม่ได้ความรู้สึกของเพลง blue เลย
เพลง pop มักใช้จังหวะ 2 รูปแบบ คือ Straight-eight และ Shuffle
ในจังหวะ4/4 Straight-eight มักจะเน้นที่จังหวะ 2 และ 4 หรือที่รู้จักกันดีว่า Backbeat และถ้าเป็นจังหวะ2/4 ก็จะเน้นที่จังหวะที่ 2 ของห้อง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับรูปแบบของบทเพลง
ส่วนเพลงจังหวะกลางๆประเภท rock , R&B และ Dance นั้นจะเน้นที่จังหวะยกและตกสลับกันดังรูป
จังหวะแบบนี้จะให้ความรู้สึกเหลื่อมๆกว่าปกติ เพราะมีการเล่นในจังหวะยกของเพลง หรือที่เราเรียกว่า Syncopation
จากภาพด้านบนเป็นจังหวะอีกประเภทหนึ่งซึ่งเรียกว่า half-time feel เพราะจะเน้นจังหวะที่3ของห้องเพลง

คอร์ด ( Chord )
นักแต่งเพลงจำเป็นต้องเข้าใจถึงเรื่อง Harmony และ Chord Pattern ในเรื่องต่อไปจะให้คุณทราบถึงพื้นฐานของคอร์ดต่างๆและหน้าที่ของมัน

คอร์ด I และ V
คอร์ดที่ 1 มักเป็นคอร์ดที่ใช้ขึ้นต้นและจบเพลง ส่วนคอร์ด 5 นั้นใช้เกลาเข้าสู่คอร์ด1
บางครั้งเราอาจใช้คอร์ด V7 แทน V ได้

คุณลองเล่นคอร์ดที่ให้และฟังเสียง จะทำให้คุณเข้าใจถึงการเกลาจากคอร์ด 5ไป1ได้ดี
เลือกจังหวะ : จังหวะที่แตกต่างกันก็มีส่วนช่วยให้ความรู้สึกของเพลงแตกต่างกัน นั้นเป็นหน้าที่ของคุณที่หาจังหวะให้เหมาะกับเพลงของคุณ
Rock :เพลง rock ส่วนใหญ่ใช้จังหวะ 4/4 และลงจังหวะหนักที่จังหวะที่3 ให้คุณศึกษาเพลง rock จากเพลงตัวอย่างที่ให้


Style : Show4/4 rock : based on “ Mockingbird”
Key : C Major
Chord : I and V7
C and G7

ตอนนี้ถึงเวลาที่คุณจะต้องลองลงมือแต่งเพลงแล้ว ให้คุณลองแต่งเพลงโดยใส่ตัวโน๊ตและเนื้อร้องลงไปจากจังหวะและคอร์ดที่ให้ และแต่งเนื้อเพลงโดยใช้รูปแบบ ABAB หรือ AABB


ตัวอย่างด้านบนเป็นการใช้คอร์ด V และ I ในท่อนเพลง อีกหน้าที่หนึ่งที่เรานิยมใช้คือใช้ในการจบเพลง เพราะ เป็นคอร์ดที่ให้ความรู้สึกจบอย่างสมบูรณ์
ตัวอย่างต่อไปเป็นตัวอย่างการใช้ คอร์ด V กับ I ในคีย์ G Major



การแต่งเพลง pop ง่ายๆ : ในปัจจุบันเพลง pop แบ่งออกได้เป็น 2แบบ คือ easy pop และ pop/rock
Easy pop หรืออาจเรียกว่า middle-the-read หรือ Adult-oriented rock เพลงประเภทนี้มักมีเนื้อหาเกี่ยวกับความรัก,การเฉลิมฉลอง และความโดดเดี่ยว ซึ่งมักใช้จังหวะ4/4โดยใช้จังหวะช้าๆถึงกลางๆ และเน้นที่เนื้อเพลง,การใช้คำ ,การเล่นสัมผัส และ Hook ที่โดดเด่น จังหวะของเพลง pop มักเน้นที่จังหวะที่ 1และ 3 ของเพลง ตัวอย่างเพลงต่อไปจะเป็นตัวอย่างเพลง easy pop

Style : Easy pop based on “Melody of love”
Key : C Major
Chord : I and V7
C and G7
ในเพลงนี้ให้คุณลองใส่ทำนองและเนื้อร้องเข้าไปจากรูปแบบที่วางไว้ โดยคำนึงถึงความรู้สึกของ pop

Pop/rock : ในปัจจุบันเพลง pop หลายเพลงนิยมใช้จังหวะ rock ผสมผสานลงไป เพราะได้รับความนิยมจากกลุ่มวัยรุ่นมากกว่า แต่ก็ยังคงใช้จังหวะ4/4เหมือนเดิม
จากตัวอย่างให้คุณลองเขียนทำนองและเนื้อร้อง
ต่อไปให้คุณลองวางจังหวะ,ทำนองและเนื้อร้องโดยคำนึงถึงความเป็น pop


คอร์ด IV
หน้าที่ของคอร์ด IV คือใช้อยู่ในบทเพลง และเกลาเข้าสู่คอร์ดหนึ่งมักใช้ในท่อนจบของเพลง เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่มักใช้ในท่อนจบเราเรียกว่า Plagal Cadence ลองดูตัวอย่างวิธีการใช้คอร์ด4จากบทเพลงต่อไปนี้

Medium pop/rock
Style : Medium pop/rock ballad
Key : G Major
Chord : I , I7 , IV and V7
G , G7 , C and D7


ลองเขียนเพลงจากรูปแบบที่ให้ โดยให้ 4 บรรทัดแรกเป็นท่อนVerse และ 4 บรรทัดล่างเป็นท่อน Chorus และใส่เนื้อเพลงให้เข้ากับทำนองเพลง

คอร์ด ไมเนอร์ ( Minor Chord )
ตำแหน่งของคอร์ดบางคอร์ดใน Major Scale นั้นจะเป็นคอร์ดไมเนอร์ซึ่งมีดังนี้
vim Chord คอร์ที่6


คอร์ดที่ 6 จะมีตัวโน๊ตซ้ำกับคอร์ดที่ 1 สองตัว จึงมีหน้าที่เกลาจากคอร์ด1เพื่อเชื่อมไปยังคอร์ดต่างๆ


ต่อไปลองมาดูวิธีการใช้คอร์ด6ในเพลง pop/rock
ให้คุณลองใส่โน้ตและเนื้อเพลงจากสิ่งที่กำหนดให้

iim Chord คอร์ดที่2
คอร์ดที่2มักทำหน้าที่เกลาเข้าหาคอร์ดที่5 เช่น ii-V-I นิยมใช้ในเพลง pop/rock
ลองแต่งเพลงจากรูปแบบที่กำหนดให้

iiim chord คอร์ดที่3
คอร์ดที่3จะมีตัวโน๊ตซ้ำกับคอร์ดที่1อยู่สองตัว



ลองเขียนเพลงจากรูปแบบที่ให้ต่อไปนี้โดยอาจให้2ห้องแรกมีแต่เครื่องดนตรีเล่นเพียงอย่างเดียว และแต่งเนื้อเพลงโดยใช้รูปแบบ AABB หรือ ABAB อาจจะใช้การสัมผัสคำด้วย


คอร์ดนอกคีย์
คือคอร์ดที่อยู่นอกเหนือจากในสเกล เช่น คอร์ด II7 , III7, VI7
และ bVII ซึ่งเราสามารถเอามาใช้ในงานเพลงของเราได้

คอร์ด II7
จากรูปภาพจะเป็นว่าคอร์ด Dนั้นมีตัว F# ซึ่งปกติแล้วใน C Major Scale ไม่มีตัว F# ถ้าจะพูดในหลักทางดนตรีแล้วคอร์ด D จะถือว่าเป็นคอร์ด V/V
นิยมใช้เกลาเข้าหาคอร์ด5 เช่นเดียวกับ iim-V7-I แต่เป็น
II7 –V7-I ซึ่งนิยมใช้ในเพลง pop/rock
ต่อไปเป็นตัวอย่างการใช้คอร์ดสองเมเจอร์เซเว่นท์ในเพลงคีย์F
III7, VI7 Chord

จะใช้มากในงานเพลงประเภท Jazz

bVII Chord



คอร์ด bVII มีโน๊ต2ตัวที่เหมือนกับคอร์ด V7 อาจใช้เกลาเข้าหาคอร์ด V หรือใช้แทนคอร์ด V ก็ได้


คีย์ไมเนอร์ Minor Key
เป็นคีย์ที่ให้ความรู้สึกเศร้า,หดหู่,หม่นหมอง
Minor key จะใช้ Key Signature เดียวกับMajor Keys ดังนี้



ถ้าเป็นคีย์ที่มีตัวโน๊ตตัวแรกเหมือนกันเราเรียกว่า “ Paralled Keys “ เช่น
C Major & C minor

1 ความคิดเห็น:

beakaiser กล่าวว่า...

The Casino in Las Vegas (formerly Horseshoe Casino)
The Casino in Las Vegas (formerly Horseshoe 영주 출장샵 Casino) is located in 보령 출장샵 Las Vegas, NV and 속초 출장마사지 is 광주 출장안마 owned by The Linq Hotel and Casino in 서산 출장마사지 Las Vegas,